ตอนที่ 14 กาชาดนำไปรับเข็มที่ระลึก ผู้บริจาคโลหิตที่เชียงใหม่ เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี
อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย

เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารนิทรรศการ 1 อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ในงานพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1
ประกาศเกียรติคุณ และเข็มที่ระลึก
แก่ผู้บริจาคโลหิตครบ 36 ครั้ง และ 108 ครั้ง ประจำปี 2561 – 2565
ในส่วนภูมิภาคของเหล่ากาชาดจังหวัดภาค 10 รวม 6 จังหวัด
ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง และ ลำพูน
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567

สำหรับ จังหวัดลำปางมีรายชื่อในรอบนี้
ที่บริจาคครบ 108 ครั้ง มี 44 คน
และบริจาคครบ 36 ครั้ง มี 172 คน รวมเป็น 216 คน

โดย กาชาดจังหวัดลำปาง ได้จัดรถบัสให้บริการ
สำหรับเดินทางไปกลับ ลำปาง-เชียงใหม่
จอดรับส่งที่ สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดลำปาง

สำหรับภาพถ่ายเข้ารับพระราชทานนั้น
ผู้เข้าร่วมพิธีสามารถลงทะเบียน
เลือกขนาดภาพถ่ายที่หน้างาน
เพื่อส่งกลับไปให้ทางไปรษณีย์

https://vt.tiktok.com/ZSYB3rNg2/

http://www.thainame.net/edu/%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%87%e0%b8%a1%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%88/

ตอนที่ 14 กาชาดนำไปรับเข็มที่ระลึก
#ผู้บริจาคโลหิต ที่เชียงใหม่
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#พิธีพระราชทานเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิต
#รับพระราชทานเข็มที่ระลึก
#สภากาชาดไทย
#กาชาดจังหวัดลำปาง
#ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ

ตอนที่ 13 ขั้นตอน 7 ขั้น ที่โรงพยาบาลลำปาง เล่าเรื่อง ลำปางดอทเน็ต

สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง
เป็นคำกล่าวสุดคลาสสิก จริงแท้ และ แน่นอน
.
วัยรุ่นอายุสิบหก ร่างกายแข็งแรง กระปรี้กระเปร่า
ทุ่มเทให้กับการเรียนหนังสือได้เต็มที่
แต่วัยสูงอายุหกสิบอัพ
ร่างกายเริ่มถดถอย เสื่อมโทรมไปตามวัย
มีอะไรหลายอย่างที่สึกหรอไปแล้ว
แม้เร่งกินไข่ต้มเสริมภูมิคุ้มกัน
ก็คงเข้าไปซ่อมแซมได้ไม่เร็วพอ
.
พอเจ็บป่วย ก็ต้องไปโรงพยาบาล
พบว่า ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองหัวเวียง มีบริการด้านสุขภาพ
อย่างเป็นขั้นตอน รวม 7 ขั้น ดังนี้
1. วางใบในตะกร้า
2. วัดความดัน น้ำหนัก รอบเอว
3. นั่งรอ รับบัตรคิว
4. นั่งรอ ซักประวัติ
5. นั่งรอ เข้าพบแพทย์
6. นั่งรอ จุดหลังตรวจ
7. กลับบ้าน/ได้ไปต่อ ก็ไปตามนั้น

ที่ลำปาง มีโรงพยาบาลลำปาง
มีขนาดใหญ่มาก พัฒนาตลอด
ถนนหนทางดี เดินทางสะดวก
มาแล้วรอไม่นาน
มาแต่เช้าหาที่จอดรถง่าย
ผู้มาใช้บริการ จึงมีจำนวนมาก
สรุปว่ามากันแต่เช้า จะได้กลับเร็วครับ

https://vt.tiktok.com/ZSYrwLbMs/

ตอนที่ 13 ขั้นตอน 7 ขั้น
ที่ #โรงพยาบาลลำปาง
เรื่องเล่า #ลำปางดอทเน็ต
#howto
#สุขภาพ
#ขั้นตอน
#รีวิว
#health
#service


ตอนที่ 12 พบพระนักพัฒนา ชวนขึ้นดอยสูงไปบริจาคเสื้อ
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

ตอนที่ 12 พบพระนักพัฒนา ชวนขึ้นดอยสูงไปบริจาคเสื้อ

ในช่วงชีวิตของคนเรา
ย่อมได้พบพระสงฆ์ที่น่านับถืออยู่มากมาย
ในระหว่างการเดินทางของชีวิต
.
พบว่า ที่ วัดศาลาไชย
มี พระครูอภิวัฒน์นิรันดร์ , ดร.
เจ้าอาวาสวัดศาลาไชย และ
ผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะคาปริยัติศึกษา
.
เป็นนักพัฒนา และ นักการศึกษาที่โดดเด่น
ซึ่งท่านใฝ่ศึกษาเล่าเรียน
เป็นแบบอย่างที่ดี จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
.
ท่านดูแล โรงเรียนเกาะคาปริยัติศึกษา
แผนกสามัญศึกษา สำหรับสามเณรโดยเฉพาะ
.
แล้วท่านยังได้ทำ โครงการปันน้ำใจสู่ยอดดอย
โดยรับบริจาค สิ่งของ อาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
.
เมื่อถึงเวลาในแต่ละเดือน ก็จะนำ
คณะศรัทธา นักศีล นักบุญ
ไปแบ่งปันน้ำใจ  สร้างบุญ บารมีทาน
ร่วมกันไปขึ้นดอย
เพื่อมอบสิ่งของจำเป็น บนยอดดอยสูง ในพื้นที่ภาคเหนือ
.
รอบต่อไป ท่านชวนไปที่
อำเภอ พบพระ จังหวัดตาก
เนื่องจากมีน้อง ๆ ในหมู่บ้าน
ที่สอบติดครูผู้ช่วย ได้ประสานมา
.
เมื่อผมเอ่ยถามถึง ตำบลหัวเมือง อำเภอเมืองปาน
ท่านก็แจ้งว่าเคยไปมาแล้ว
ที่นั่นมี โรงเรียนพระปริยัติธรรมปานคำศึกษา
ซึ่งตั้งอยู่ที่ วัดทุ่งส้าน เป็นสาขา หรือ ห้องเรียน
ที่ท่านดูแลอยู่
.
สรุปว่า พระครูมีเรื่องราว อีกมากมาย
ที่ท่านมีส่วนร่วมในการพัฒนา ที่พร้อมเล่าสู่กันฟัง
หากท่านใดสนใจสนทนาธรรมกับท่าน
ขอเชิญไปที่ วัดศาลาไชย ได้ครับ

https://vt.tiktok.com/ZSYYT9wXd/

ตอนที่ 12 พบ #พระนักพัฒนา
ชวนขึ้นดอยสูงไปบริจาคเสื้อ
เรื่องเล่า #ลำปางดอทเน็ต
#school
#education
#developer
#ลำปาง
#ศาลาไชย
#เมืองปาน

ตอนที่ 11 อัตลักษณ์ลำปาง ปี พ.ศ. 2564
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

ตอนที่ 11 อัตลักษณ์ลำปาง ปี พ.ศ. 2564

http://www.lampangculture.com

ไหน ใคร รู้จักลำปาง
เมื่อปี พ.ศ. 2564 กันบ้าง
แล้วลองบอก อัตลักษณ์ลำปาง มาสัก 3 สิ่ง
แล้วจัดไว้ในหมวดหมู่ใดบ้าง
จากนั้นมาดูเฉลยกันครับ
.
สำหรับนิยามศัพท์แล้ว
อัตลักษณ์ คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะ
ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จัก หรือจดจำได้
เช่น อัตลักษณ์ลำปาง
คือ สิ่งที่เป็นที่รู้จัก หรือจดจำได้
เมื่อนึกถึงจังหวัดลำปาง

โดยโครงการนี้
มีผู้วิจัย คือ อาจารย์ธวัชชัย ทำทอง
รับทุนวิจัยจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
.
ซึ่ง อัตลักษณ์ลำปาง ของทีมวิจัยชุดนี้
ได้รวบรวมไว้ ทั้งสิ้น 86 รายการ
แล้วได้จำแนก ลงในหมวดหมู่
ตามลักษณะเฉพาะร่วม แบ่งได้ 13 หมวดหมู่
ซึ่งประกอบด้วย
1. อาชีพ
2. วรรณกรรม
3. ผ้าและเครื่องแต่งกาย
4. ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ
5. พุทธศิลป์
6. กวีและขับขาน
7. ภาษา
8. สถาปัตยกรรม
9. การแสดง
10. งานศิลปะพื้นถิ่น
11. ดนตรี
12. เซรามิก
13. อาหาร

สรุปว่า สิ่งที่รู้จัก หรือ จดจำได้
ที่นับได้ว่าเป็นทุนทางวัฒนธรรม.
ของจังหวัดลำปาง มีอะไร
และจัดหมวดหมู่อย่างไร
ก็ขอฝากข้อมูลชุดนี้ไว้
เผื่อได้นำไปพัฒนา ต่อยอด
และใช้ประโยชน์กันต่อไป

https://vt.tiktok.com/ZSYY3EXHT/

ผ้าขาวม้า

https://research.lpru.ac.th/index_researchDetail.php?id=WJlH9j+/q1aMXuL/QSkjAVmGI6WszqEGmDjUL+1+z4eE=

ตอนที่ 10 ผลงานห้าศิลปินที่หอศิลป์เสรี เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

ตอนที่ 10 ผลงานห้าศิลปินที่หอศิลป์เสรี

แกลเลอรี่ หอศิลป์เสรี
ที่ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
มีการจัดแสดงงานศิลปกรรม
ของศิลปิน 5 ท่าน
ชื่องาน  เดอะ คัลเลอร์ ฟูล เอ็กเพรสชั่น นิ ซึ่ม
The colourful expressionism
.
บรรยากาศในหอศิลป์
เปิดโล่งให้อากาศถ่ายเทสะดวก
มีพื้นที่ กว้างขวาง มีผลงานมากมาย
จัดแสดงในอาคารที่มี 2 ชั้น
.
ก่อนเข้าไปก็แวะหาน้ำชา กาแฟดื่ม
ที่ร้านกาแฟ เอิร์ธแอนด์ไฟร์
น้อง ๆ บริการดี ทักทายพูดคุย และจำลูกค้าได้ด้วย

ผลงานภาพวาดของศิลปิน
ประกอบด้วย
– สมพร แต้มประสิทธิ์
– ไชยพันธุ์ ธนากรวัจน์
– เอกฤทธิ์ ประดิษฐ์สุวรรณ
– บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส
– นพดล เนตรดี
.
แต่ละภาพมีข้อมูลประกอบใต้ภาพ
หรือ สแกนโค้ดที่ประตูทางออก
จะพบเอกสารรายละเอียดผลงาน
https://get-qr.com/content/gd_qMS
.
เมื่อซูมขยายดูภาพ และรายละเอียด
จะพบว่าเห็นภาพได้ชัดเจนระดับหนึ่ง
และ เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มาก
.
นักท่องเที่ยว ที่ผ่านไป
ควรแวะรับกาแฟ และเดินชมงานศิลปะ
ก่อนเดินทางต่อไปจนถึงจุดหมาย
.
ผมพก กระบอกน้ำ เพอร์เฟค https://bottle-perfect.com
ของโรงงานของพรีเมี่ยม https://premium-perfect.com
ไปใส่กาแฟร้อน

เราสามารถเดินชม พร้อมกับเดินจิบกาแฟ
และถ่ายภาพไปด้วย
รู้สึกสบาย ๆ ในวันที่อากาศแจ่มใส

https://vt.tiktok.com/ZSY8s7PqG/

ตอนที่ 10 ผลงานห้าศิลปินที่หอศิลป์เสรี
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#gallery
#artist
#drawing
#painting
#exhibition
#expressionism
#colourful
#lampang
#coffee

ตอนที่ 9 กระดาษสา หัตถกรรมท้องถิ่น เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

ตอนที่ 9 กระดาษสา หัตถกรรมท้องถิ่น

กระดาษสา คือ กระดาษที่ทำมาจาก
ต้นปอสา เป็นพืชเส้นใย
ในตระกูลเดียวกับหม่อนและขนุน
.
ที่จังหวัดลำปาง มีการรวมกลุ่มอาชีพในชุมชน
มีชื่อว่า กลุ่มกระดาษสาบ้านท่าล้อ

เพื่อผลิตกระดาษสาที่มีเอกลักษณ์
ให้ได้กระดาษสาที่มีคุณภาพ
มีเส้นใยของปอสา ปรากฏบนผิวกระดาษ
เนื้อกระดาษมีความเหนียวนุ่ม ซึมซับน้ำได้ดี

มีการพัฒนาต่อยอดกระดาษสา
เป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างมากมาย เช่น
– กล่องบรรจุภัณฑ์
– กรอบรูป
– กระดาษห่อของขวัญ
– นามบัตร
– แฟ้มเอกสาร
– ซองจดหมาย
– ปกสมุด
– พัด
– ร่ม
– ดอกไม้ประดิษฐ์
– ของชำร่วย
– กระดาษสำหรับวาดภาพ
– เพิ่มลายใบไม้บนกระดาษ
.
พบว่า เราสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
ขึ้นมาได้อีกมากมาย
.
เคยเห็นนักศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยน
ทำผลงานด้วยการสร้างร่มขึ้นมาจากกระดาษสา
.
ทำให้นึกถึง ร่ม เพอร์เฟค ของ โรงงานของพรีเมี่ยม
ที่มีผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ไว้ให้เราได้เลือกมากมาย
.
สรุปว่า กระดาษสา
เป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีคุณค่า
และ ควรแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง

https://vt.tiktok.com/ZSY8NbVrb/

ตอนที่ 9 #กระดาษสา #หัตถกรรมท้องถิ่น
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#กลุ่มอาชีพ
#ภูมิปัญญาท้องถิ่น
#เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
#handmade
#package
#paper
#ลำปาง
#บ้านท่าล้อ

ตอนที่ 8 งานไม้และของเก่าที่หมู่บ้านแกะสลัก เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

ตอนที่ 8 งานไม้และของเก่าที่หมู่บ้านแกะสลัก

ที่ลำปาง มีหมู่บ้านแกะสลัก อยู่ที่บ้านหลุก
อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
.
เมื่อได้ชมโบราณวัตถุ
ใน พิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชน
ณ วัดบ้านหลุก
ที่เผยแพร่ผ่านระบบเว็บไซต์ ของ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

พบว่า สิ่งของเครื่องใช้โบราณ
ที่ชาวบ้านนำไปมอบให้พิพิธภัณฑ์
ได้ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บอย่างเป็นระบบ
และเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นห้องเรียนเชิงวัฒนธรรม

พบการบันทึกข้อมูล จำแนกได้ 3 ส่วนหลัก คือ
– ข้อมูลทั่วไป
– การบันทึกข้อมูล
– คำอธิบายวัตถุ
.
พบวัตถุโบราณที่ทำมาจากไม้ น่าสนใจมากมาย เช่น
– ครกตำ
– กระจกกรอบไม้
– ตะเกียงกระป๋อง
– ข้องใส่ปลา
– ไหข้าว
– เตารีดโบราณ
– แมวขูดมะพร้าว
– หม้อข้าวหม่า

ผู้สนใจสามารถไปเยี่ยมชม โบราณวัตถุอีกมากมาย
ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดบ้านหลุกได้ หรือ สืบค้นข้อมูล
โครงการการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
.
หากชอบข้อมูลใดก็สำรองข้อมูลเก็บไว้ใน ยูเอสบี เพอร์เฟค usb-perfect.com
ของ พรีเมี่ยม เพอร์เฟค premium-perfect.com ได้ครับ
.
ชวนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกันครับ

https://vt.tiktok.com/ZSYRAoCEd/

https://lampang.mcu.ac.th/?page_id=2357

ตอนที่ 8 งานไม้และของเก่าที่หมู่บ้านแกะสลัก
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#บ้านหลุก
#หมู่บ้านแกะสลัก
#ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
#พิพิธภัณฑ์
#museum
#lanna
#learning
#ลำปาง
#handmade

ตอนที่ 7 วาดภาพกัณฑ์ที่วัดปงสนุกเหนือ เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

ตอนที่ 7 วาดภาพกัณฑ์ที่วัดปงสนุกเหนือ

การวาดภาพพระกัณฑ์ ใน พิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน
ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนในล้านนา
ณ วัดปงสนุกเหนือ
ที่เผยแพร่ผ่านระบบเว็บไซต์ ของ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

ซึ่งรวบรวมข้อมูล และเผยแพร่
โดยคณะผู้วิจัย นำโดย พระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ.ดร.

พบว่า ภาพพระกัณฑ์ชุดนี้
วาดลงบนกระดาษ 
ด้วยสีฝุ่นจำนวน 8 สี
คือ
– แดง
– เหลือง
– เขียว
– ดำ
– น้ำเงิน
– น้ำตาล
– ขาว
– ฟ้า

ในระบบได้บันทึกข้อมูล เกี่ยวกับ
– ข้อมูลทั่วไป
– การบันทึกข้อมูล
– คำอธิบายวัตถุ
– และ แหล่งที่มา

ผู้สนใจสามารถไปเยี่ยมชมโบราณวัตถุต่าง ๆ
ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดปงสนุกเหนือกันได้
หรือ สืบค้นข้อมูล
โครงการการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
.
หากชอบบทความใดก็สำรองข้อมูลเก็บไว้ใน ยูเอสบี เพอร์เฟค usb-perfect.com
ของ พรีเมี่ยมเพอร์เฟค premium-perfect.com ได้ครับ
.
ชวนกันทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครับ

Lanna museum

https://vt.tiktok.com/ZSYR6cxrL/

https://lampang.mcu.ac.th/?page_id=2363

ตอนที่ 7 วาดภาพกัณฑ์ ที่ #วัดปงสนุกเหนือ
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#พระกัณฑ์
#ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
#พิพิธภัณฑ์
#museum
#lanna
#learning
#ลำปาง
#drawing

ตอนที่ 6 พระไม้ที่วัดไหล่หิน
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต

ตอนที่ 6 พระไม้ที่วัดไหล่หิน

สำหรับผู้ที่ชื่นชมพระพุทธรูปโบราณ
วันนี้ ที่จังหวัดลำปาง ขอพาชม
พิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน
ในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ของชุมชนในล้านนา
ณ วัดไหล่หินหลวง
อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ซึ่งโครงการนำร่องนี้ จัดทำโดย
พระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ.ดร.
ผู้อำนวยการ
วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง และคณะ
พบการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
.
ได้พบกับพระพุทธรูป
จำนวนกว่า สามสิบรายการ
ที่รวบรวมไว้ในโครงการนำร่องครั้งนี้
เช่น พระไม้สัก พระไม้แก้ว และ พระแก้วมรกต
.
พร้อมมีรายละเอียดของพระพุทธรูปแต่ละองค์
ที่บันทึกภาพไว้ในหลายมุม  เช่น
– ชื่อวัตถุ
– เลขทะเบียน
– หมวดหมู่
– ประเภท
– ขนาด
– สภาพ
– อายุ
– และ พุทธลักษณะ
.
นอกจากนี้ยังสามารถสืบค้น
อีบุ๊ค และ บทความวิชาการจากโครงการนี้
ในฐานข้อมูลวารสารไทย
ที่เกี่ยวกับการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน
ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ได้อ่านทำความเข้าใจ
.
หากชอบบทความไหน หรือภาพใด
ก็สำรองข้อมูลเก็บไว้ใน
ยูเอสบี เพอร์เฟค usb-perfect.com
ของ พรีเมี่ยมเพอร์เฟค
premium-perfect.com  ได้ครับ
.
ชวนกันร่วมส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมครับ

พิพิธภัณฑ์
วัดไหล่หินหลวง
พกร่มเดินวัด

https://lampang.mcu.ac.th/?page_id=2145

ตอนที่ 6 พระไม้ที่ #วัดไหล่หิน
เรื่องเล่า ลำปางดอทเน็ต
#วัดไหล่หินหลวง
#ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
#พิพิธภัณฑ์
#museum
#lanna
#learning
#ลำปาง