Category Archives: education

นักเรียน อัสสัมชัญลำปาง ชนะที่ 1 แข่งหุ่นยนต์ 2565

นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ทีม ThaiHetbGood ชนะรางวัลที่ 1 การแข่งขัน World Robot Olympiad 2022 หรือ การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ (WRO2022) ระดับนานาชาติ กับคู่แข่งกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ณ เมืองดอร์ทมุน สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนี

ก่อนหน้านี้ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ได้ส่งนักเรียนเข้าร่วม การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ สนามพิเศษ ประจำปี 2565” โดยหัวข้อการแข่งขัน ประเภท ROBOMISSION คือ My Robot, My Friend มีจำนวนผู้เข้าร่วมกว่า 210 ทีม แบ่งเป็น 3 รุ่น ดังนี้ 1.รุ่นอายุไม่เกิน 12 จำนวน 70 ทีม 2.รุ่นอายุไม่เกิน 15 จำนวน 3. รุ่นอายุไม่เกิน 19 จำนวน 70 ทีม โดยผู้ชนะในแต่ละรุ่น จะได้รับสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฯ ระดับนานาชาติในลำดับต่อไป

ทีมของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปางได้เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปชิงแชมป์การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ กับคู่แข่งกว่า 70 ประเทศทั่วโลก จำนวนทั้งสิ้น 4 ทีม ประกอบด้วย รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน 2 ทีม และรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี จำนวน 2 ทีม ระหว่างวันที่ 15-21 พฤศจิกายน 2565

https://wro-association.org/competition/2022-season/

https://web.facebook.com/skfc.samutsakhon/photos/946625502093776

ปัจจัยส่วนบุคคล กับ ความภักดีของกลุ่มแฟนคลับสโมสรฟุตบอล

น้องแม็กกี้ หรือ Naret Bualuay เป็นเพื่อนเฟส ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเนชั่น และเคยเป็นเพื่อนร่วมงาน ที่สนิทกับคนที่บ้าน แชร์ผลการศึกษาวิจัย เรื่อง “การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความภักดีของกลุ่มแฟนคลับต่อสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร” ในวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565 น.45-54
โดยเขียนอ้างอิงแบบ APA และแชร์ไว้ที่ https://www.thaiall.com/research/apa.htm

นเรศ บัวลวย และ ศุภกาญจน์ จำเริญรักษ์. (2564). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความภักดีของกลุ่มแฟนคลับต่อสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 11(1), 45-54.

การอ้างอิงแบบ APA

พบว่า น้องเค้าศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล ใน 6 ด้าน คือ ด้านเพศ ด้านอายุ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านรายได้เฉลี่ย/เดือน ด้านภูมิลำเนา ส่วนตัวแปรตาม คือ ความภักดีของกลุ่มแฟนคลับต่อสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร ที่ประกอบด้วย ปัจจัยต่อความภักดี และระดับความภักดี ข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มแฟนคลับติดตามสโมสรฟุตบอล สูงสุดถึง ร้อยละ 54 คือ นักฟุตบอลของสโมสร รองลงมา คือ ผลงานของทีม ร้อยละ 21 อีกข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ กลุ่มตัวอย่าง เชียร์ทีมสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาครเพียงทีมเดียว มีมากถึงร้อยละ 74.5

ปัจจัยส่วนบุคคล กับ ความภักดีของกลุ่มแฟนคลับสโมสรฟุตบอล
ปัจจัยส่วนบุคคล กับ ความภักดีของกลุ่มแฟนคลับสโมสรฟุตบอล

เมื่อมองการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการติดตามภักดีของกลุ่มแฟนคลับด้วยการทดสอบค่าสถิติไคสแควร์ (Chi-square) พบว่า ทั้งอาชีพ และภูมิลำเนา ที่แตกต่างกันส่งผลต่อความภักดีสโมสรฟุตบอลแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ในส่วนของข้อเสนอแนะ คือ น่านำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างภาพลักษณ์ให้เกิดความภักดีต่อองค์กรให้มั่นคงในระยะยาว การเก็บข้อมูลน้องเค้าใช้คอแครน (Cochran) ได้ 384 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ในระหว่างทำการแข่งขันฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาครกับสโมสรอื่น รายละเอียดน่าสนใจอีกมากมาย ค้นจาก thaijo ก็จะพบบทความนี้อย่างแน่นอนครับ ถ้าไม่พบ บอกผมได้ เพราะ download เก็บไว้แล้ว

บทความวิจัย https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/252440/175808

ภาพประกอบจากเน็ต
https://web.facebook.com/NTUnationuniversity/photos/

โรงเรียนผู้สูงอายุ กับ พันธกิจของมหาวิทยาลัย

หนึ่งในหกกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุทุ่งกว๋าว พ.ค.2565

อาจารย์วีระพันธ์ แก้วรัตน์ และนาวาอากาศเอก ภัชรชาติ ทูรวัฒน์ พร้อมคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเนชั่น นำนิสิตสาขาวิชาธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ ออกให้บริการวิชาการแก่นักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ ในโครงการ มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์ COVID-19 ประจำปีการศึกษา 2564 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมี นายพิตินันท์ ผึ้งต้น ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการตลอดทั้งวัน โดยการกำกับดูแลสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด และนายสุกฤษฎิ์ สุคำอ้าย ทำหน้าที่เป็นวิทยากรในหัวข้อ ผู้สูงอายุกับการเดินทางยุคโควิด-19 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเชิงบูรณาการกับคณะวิชาต่าง ๆ ในการส่งเสริมสนับสนุนสุขภาพกาย สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เช่น การตรวจหาเชื้อไวรัส การล้างมือสู้โรค การเดินทางโดยเครื่องบิน กิจกรรมยืดเหยียด และการดูแลช่องปาก และการขายผลิตภัณฑ์สู่การตลาดออนไลน์ใน Platform ต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ

ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการประสานกับผู้สูงอายุ และผู้ประกอบการ จาก คุณพิเชษฐ์ จริยงามวงค์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก นายนวพล จะงาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นผู้กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดโครงการ กล่าวขอบคุณในพิธีปิดโครงการ และมอบเกียรติบัตร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวเปิดโครงการเวลา 9.00น. กล่าวปิดโครงการในเวลา 15.30น. และมอบเกียรติบัตร

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20

ศิลปวัฒนธรรม
https://www.facebook.com/116550396702958/photos/a.449664943391500/449670770057584/
ศิลปวัฒนธรรม
งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20
งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20

เปิดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดย รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20 “ข่วงวัฒนธรรมล้ำค่า สืบสานมรดกภูมิปัญญาของแผ่นดิน” เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดย รศ.ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ

งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา เป็นกิจกรรมที่สถาบันอุดมศึกษาสมาชิกเครือข่ายทั่วประเทศ ร่วมจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของไทย ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาคของไทยในกลุ่มนักศึกษา ซึ่งเป็นการสะท้อนพลังการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบไป โดยมีสถาบันการศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการแสดงศิลปวัฒนธรรมกว่า 70 ชุดการแสดงจาก 61 สถาบัน จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 – 11 กุมภาพันธ์ 2565 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00น.

https://fb.watch/b5vj28tTC4/
ถ่ายทอดสดพิธีปิด วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565

เวทีการแสดงที่ 2
กำหนดการ
กำหนดการ

โดย มหาวิทยาลัยเนชั่น จัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม เข้าร่วมกิจกรรม 2 ชุด

  1. ชุด ฟ้อนไทลื้อ ตำหูก ม.เนชั่น
    วันที่ 10 ก.พ. 2565 เวลา 14.25-14.35 น.
    เวทีที่ 2 ห้องประชุมโอฬารโรจน์
    อาคารโอฬาร โรจน์หิรัญ
  2. ชุด รัตนเภรี ศรีเขลางค์ ม.เนชั่น
    วันที่ 11 ก.พ. 2565 เวลา 11.45-12.00 น.
    เวทีที่ 1 หอประชุมใหญ่ มร.ลป.

มีนิสิตหลักสูตรธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้ยกพลไปแสดงความสามารถ โดยมีเพื่อนอาจารย์ทั้ง อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ อ.ธวัชชัย แสนชมภู อ.นงลักษณ์ สุวัฒน์ธนกิจกุล และนาวาอากาศเอก ภัชรชาติ ทูรวัฒน์ ไปยืนเกาะแกะริมเวที ผมก็ส่งกำลังใจไปด้วยเช่นกัน ยังนำมาพูดคุยกับนิสิตชั้นเรียนออนไลน์อยู่เลยว่าแสดงดีทุกคน

Sitthichok Khowaboonphithak

รวมช็อตเด็ด งานแสดงศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20
โดย อ.สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์
https://www.facebook.com/1681629741/videos/1041764349736183/

ทีมคณะบริหารธุรกิจฯ
ทีมคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
https://www.facebook.com/tompoiiop/posts/4644098199034342

พี่แซน ณัฐพงษ์ ประพฤติ

มิสเตอร์ลำปาง ครั้งแรก – Mister Lampang Thailand Tourlism 2022

รายชื่อผู้ชนะ ติดตามได้จากแฟนเพจ Mister Lampang Thailand
รายชื่อผู้ชนะ ติดตามได้จากแฟนเพจ Mister Lampang Thailand

ขอแสดงความยินดี กับ พี่แซน ณัฐพงษ์ ประพฤติ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่คว้ารางวัล Mister Lampang Thailand Tourlism 2022 ผู้ผลิตสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด ลำปางดีเด่น ในการประกวดมิสเตอร์ลำปางไทยแลนด์ 2022 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลำปาง 16 ก.พ.2565 เวลา 9.00 – 20.00น. ซึ่ง อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง แชร์มาในกลุ่มไลน์ และกลุ่มเฟส เพื่อแสดงความยินดีกับลูกศิษย์ที่ได้รับรางวัล ในเวทีนี้จากการผลิตผลงานสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง

จากข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
พบว่า สื่อหลักในการจัดประกวดคือ แฟนเพจ Mister Lampang Thailand สำหรับ งานมิสเตอร์ลำปางไทยแลนด์ 2022 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โพสต์ประกาศรับสมัครในวันที่ 5 มกราคม 2022 ผ่านแฟนเพจ Mister Lampang Thailand โดยสมัครได้ทางออนไลน์เท่านั้น (Google form) ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท โดยคัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบไม่เกิน 50 คน

รายชื่อพิธีกรที่แนะนำผ่านแฟนเพจของกองประกวด มีดังนี้
พิธีกรหลัก คือ คุณกานตรวี ศรีตระพันธ์ และคุณจิตร ศรีจันทร์ดร ส่วนพิธีกรภาคสนามคือ คุณฤทัยรัตน์ ศรีวิชัย และคุณชัยล์ญณัฐฏ์ วารีกุล และชุดเข้าประกวดมีหลายชุด ได้แก่ ชุดสูทสากลสีดำ กางเกงกีฬาขาสั้นสีขาว พร้อมรองเท้าผ้าใบ ส่วนชุดล้านนาโบราณ และเสื้อกีฬา กองประกวดจัดเตรียมให้

กำหนดการช่วงแรก mister lampang
กำหนดการช่วงแรก mister lampang
กำหนดการช่วงหลัง mister lampang
กำหนดการช่วงหลัง mister lampang

สำหรับข้อมูลผู้สนับสนุน
รายชื่อผู้เข้าประกวด ชื่อจริง ชื่อเล่น ส่วนสูง น้ำหนัก และมีข้อมูลรายชื่อผู้ได้ตำแหน่งต่าง ๆ และข้อมูลของชายหนุ่มผู้ผ่านเข้ารอบทั้ง 50 คน รวมถึงคลิปวิดีโอการประกวดตลอดงาน สามารถติดตามได้จากแฟนเพจ Mister Lampang Thailand

https://www.matichon.co.th/social/news_3126306

https://web.facebook.com/100603055850329

https://web.facebook.com/480449779038738/posts/1388025448281162/

https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=118613514049283&id=100603055850329

มีคลิปวิดีโอที่จัดทำโดย แซนด์ ณัฐพงษ์
https://www.youtube.com/watch?v=b8jQ3TccMlU
คลิปประชาสัมพันธ์

ปล.
1. วันงานประกวด Mister นั้น
ตัวผมติดงานที่มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงไม่ได้ไปชมไปเชียร์ ตามคำชวนของลูกศิษย์คนนี้ แต่ก็ส่งใจและติดตามเรื่องราว มาเล่าสู่กันฟัง เป็นตัวอย่างการเล่าเรื่องให้น้องนิสิต ๆ ได้อ่านกัน

2. อีกงาน นิสิตหลักสูตรการบินฯ ที่ได้ยกพลไปแสดงความสามารถ ใน งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20 “ข่วงวัฒนธรรมล้ำค่า สืบสานมรดกภูมิปัญญาของแผ่นดิน” 9 – 11 กุมภาพันธ์ 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง มีเพื่อนอาจารย์ทั้ง อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ อ.ธวัชชัย แสนชมภู อ.นงลักษณ์ สุวัฒน์ธนกิจกุล และนาวาอากาศเอก ภัชรชาติ ทูรวัฒน์ ไปยืนเกาะแกะริมเวที ผมก็ส่งกำลังใจไปด้วยเช่นกัน ยังนำมาพูดคุยกับนิสิตชั้นเรียนออนไลน์อยู่เลยว่าแสดงดีทุกคน

ทีมอาจารย์เจ้าหน้าที่ พร้อมใจไปเชียร์นิสิตการบิน ทำกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ทีมอาจารย์เจ้าหน้าที่ พร้อมใจไปเชียร์นิสิตการบิน ทำกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

เทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน

อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง แชร์เรื่องการพัฒนานิสิต ทั้งในกลุ่มเฟสบุ๊ค และกลุ่มไลน์ เมื่อ 18 พ.ย.64 ที่ อาจารย์สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์ และอาจารย์คนึงนิจ ติกะมาตย์ ได้นำนิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ออกไปเปิดโลกทัศน์เรียนรู้นอกห้องเรียน โดยเข้าร่วมเก็บข้อมูลและบันทึกภาพ ในงาน “เทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน” ประจำปี 2564

นิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

นิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ตามโครงการรู้ รักษ์ วัฒนธรรมไทย เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่นิสิตในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นล้านนาและของไทย

เทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน

เทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน

โครงการดังกล่าวได้บูรณาการกับการเรียนการสอนใน รายวิชา CART311 การผลิตภาพและเสียง และ CART432 การจัดแสงและองค์ประกอบฉากเสมือนจริง รวมถึงยังได้บูรณาการกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโครงการเปิดโลกทัศน์นิเทศศาสตร์อีกด้วย

เทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน

เทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน

https://www.facebook.com/groups/nationu/posts/4716216691777497/

ทุนเรียนหมอฟัน 6 แสนบาท

ทุนเรียนหมอฟัน 6 แสนบาท

เมื่อวันที่ 25 พ.ค.64 ไหลเฟสขึ้นลงเพลิน ๆ ไปสะดุดโพสต์ น้องนัด ‘กาซีล็อต ในกลุ่ม Lampang City ที่มีสมาชิกถึง 289.5K บอกเล่าเรื่อง ประกาศของมหาวิทยาลัยเนชั่น ว่า มีทุนการศึกษา สำหรับน้องนักเรียนในปี 2564 มี 3 ประเภท ๆ ละ 10 ทุน รวม 30 ทุน ที่น่าสนใจ คือ ทุนช่อดอกปีป
มอบทุนมูลค่า 600000 บาท เรียนหมอฟัน เงื่อนไขที่น่าสนใจ คือ ไม่ใช้คะแนน gat-pat, o-net, 9 วิชาสามัญ สรุปว่ายืน GPAX แล้วสัมภาษณ์อย่างเดียวเลย จบ ม.6 แผนอะไรก็สมัครเรียนได้

สรุปว่าสอบถามรายละเอียด
ตามเบอร์โทร หรือสื่อสังคมที่ปรากฎในภาพ

นอกจากเรื่องทุนแล้ว ปีการศึกษา 2564
มีหลายคณะหลายสาขาที่สมัครเรียนได้ ดังนี้
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะสาธารณสุขศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
สาขาวิชาธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ
สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ

หากสนใจตามลิงค์ข้างล่างนี้ได้

https://web.facebook.com/../3859438280799895

https://web.facebook.com/../3877211402389175

https://web.facebook.com/../3843085642468418

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรี อว. ดูแลพื้นที่ลำปาง ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 243/2563 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10158590477078895&id=814248894

เพิ่มภาพ 14 ก.พ.2564

ประวัติจาก wiki

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์นักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ เป็นกรรมการ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมาชิกและกรรมการบริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษาและกรรมการคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 7/2560 ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 อธิการ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการและนักการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดวันที่ 20 มกราคมพ.ศ. 2497 ที่ จ.ลำปาง เป็นเจ้าของทฤษฎี “สองนคราประชาธิปไตย” ที่สรุปว่า “คนต่างจังหวัดตั้งรัฐบาล คนกรุงเทพฯ ล้มรัฐบาล” เคยได้รับสมญานามจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า “ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง

มาบรรยายให้นิสิตที่ มหาวิทยาลัยเนชั่น

ขอขอบคุณ ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ส่งผมเข้าโครงการ Sabbatical leave

mypic08

เมื่อ 22 ปีก่อน ระหว่าง 1 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2540 ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ได้สนับสนุนบุคลากรของมหาวิทยาลัย จำนวน 3 คน ไปแลกเปลี่ยนในโครงการ Sabbatical leave ที่มหาวิทยาลัย Baylor สหรัฐอเมริกา เป็นเวลาเดือนครึ่ง ได้แก่ อาจารย์บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ อาจารย์ยุวดี ไวทยะโชติ และ อาจารย์โชติ โรจนวิภาค

เมื่อไปถึงที่ Baylor University พวกเราเดินทางไปเรียนมีระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร จากอพาร์ทเม้นท์ไปศูนย์อาหาร แล้วไปยังห้องเรียนแต่ละแห่ง ระหว่างทางพบสิ่งต่าง ๆ แปลกหูแปลกตา เช่น ชมรมเรือแคนนู ที่เห็นฝึกกันบ่อย ๆ หรือ ชมรมเบสบอล ที่ขว้างบอลข้ามสนามกันทุกเช้า หรือ การแสดงละครสัตว์ใกล้ที่พัก (Circus) หรือ กิจกรรมรอบมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นสม่ำเสมอ เราเดินทางไปถึงช่วงปลายหนาว เช้ามาก็เดินฝ่าความหนาวไปเรียนหนังสือกัน ยังต้องสวมเสื้อกันหนาวตลอดช่วงเวลาที่อยู่ที่นั่น

จำได้ว่าที่ Baylor University มี Prof. Kathryn (Kay) Mueller พาทีมของเราไปในที่ต่าง ๆ หลายครั้ง ผมรู้จักท่าน ตั้งแต่ก่อนไปที่ BU. เพราะท่านมาเมืองไทยบ่อย ท่านคุยสนุก ร่าเริง พานักศึกษามาแลกเปลี่ยนที่วิทยาลัยโยนก เป็นแขกของ ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ หลายปีติดต่อกัน จำได้ว่า Kay พาทีมเราไปกินขนมเค้กที่เขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ คงเป็นครั้งแรกที่ผมได้กิน Pecan cake เป็นที่ท่องเที่ยวที่ท่านทำให้เราประหลาดใจ เดินทางไกล ข้ามทุกดอกสีม่วงกว้างสุดลูกหูลูกตา แวะถ่ายภาพกันด้วย

ตอนไปที่ BU. เราไปพบหน่วยงานต่าง ๆ ตามโครงการแลกเปลี่ยน อ.โชติ และ อ.ยุวดี ไปเรียนในวิชาที่ตนสนใจ ส่วนผมจำได้ว่าเรียนระบบปฏิบัติการ และอีกวิชาทางเทคโนโลยี ผมจำได้ว่าเคยเขียนบันทึกการเดินทางไว้ในสมุดหลายหน้า แต่ ณ ตอนนี้ไม่ได้มีสมุดเล่มนั้นใกล้ ๆ มือ ทุกอย่างที่เล่ามา หรือเล่าต่อจากนี้ มาจากความทรงจำสีจาง ๆ

ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ เดินทางไปเยี่ยมพวกเราที่นั่นหลายวัน พาไปพบศูนย์นักศึกษาต่างชาติ พาไปร้าน supermarket พาไปสำนักหอสมุด พาไปร่วมงานดนตรีคอนเสิร์ต ออร์เคสตรา จำได้ว่าอากาศเย็นมาก คงเพราะอากาศเย็น ทำให้ผมผลอยหลับไป ตั้งแต่โน๊ตแรก ๆ เริ่มดังขึ้นเลยทีเดียว เย็นมาก

หนึ่งในเรื่องที่จำได้ คือ การทานอาหาร Kay พาผมไปร้านอาหารไทยหลายร้าน ที่นั่นนิยมทานบุฟเฟ่ต์ เป็นอาหารไทยสไตล์ฝรั่ง ยุคนั้น เมืองไทยยังไม่มีบุฟเฟต์อย่างในปัจจุบัน อยู่เดือนครึ่ง ผมอ้วนเลย เพราะผมได้รับสวัสดิการ มีบัตรเข้าศูนย์อาหาร ที่จะทานอะไรก็ได้ 3 มื้อต่อวัน แล้วผมก็ไม่มีปัญหากับอาหารต่างชาติ ทานได้หมด

การศึกษาที่นั่น ส่งเสริมการอ่าน เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ห้องสมุดที่นั่น เปิดกัน 24 ชั่วโมง แต่ผมไม่เคยอยู่ถึงโต้รุ่งนะครับ อย่างมากก็แค่ 5 ทุ่ม ที่เมืองไทยเดี๋ยวนี้ มีหลายมหาวิทยาลัย เปิดห้องสมุด 24 ชั่วโมงแล้ว

การสื่อสารสมัยนั้น การใช้ hotmail.com ยังไม่เป็นที่นิยม ที่นิยมยังเป็น email ที่บริการผ่าน pop3 หรือ imap ขององค์กร ผมยังใช้ software ของ Baylor University ในการเปิดอีเมล เค้ามีคอมพิวเตอร์ให้ตรวจอีเมล วางตามจุดต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ไม่มีใครมีโน๊ตบุ๊ค หรือสมาร์ทโฟน ส่วนเว็บไซต์ก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น เข้าอินเทอร์เน็ตก็จะใช้ Linux หรือ Unix สั่งผ่าน Command Line โปรแกรมอ่านอีเมลที่ผมใช้ประจำก็คงเป็น Pine ที่สมัยนี้คงไม่มีใครใช้แล้ว

จำได้ว่า ในมหาวิทยาลัยมีไปรษณีย์ ผมส่งของจากที่นั่นกลับเมืองไทยชิ้นหนึ่ง ค่าส่งแพงมาก จึงส่งเพียงครั้งเดียว โทรศัพท์ทางไกล ผมซื้อบัตร แต่ก็ใช้เพียงไม่กี่ครั้ง เพราะสมัยนั้นไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เมืองไทย ค่าโทรแพงมาก โทยไม่กี่นาทีเสียไปหลายร้อยบาทแล้ว ค่าอาหารแพงระดับหนึ่ง แต่ผมไม่ค่อยได้จ่าย เพราะทานในศูนย์ตลอด ยกเว้นว่า Kay จะพาไปนอกรั้วมหาวิทยาลัย จำได้ว่าแฮมเบอเกอร์ชิ้นละ 1 – 3 ดอลล่าร์ ซึ่งถือว่าไม่แพง ต่างกับบุฟเฟ่ต์ ที่ต่อหัวประมาณ 10 ดอลล่าร์

นี่คือเรื่องราวที่มาจากความทรงจำเมื่อ 22 ปีที่แล้ว