Author Archives: admin

ปรับ Permalink ของ wordpress

ใน lampang.net ได้แก้ไข Permalink Settings
จาก Post name หรือ /%postname%/ เป็น /%author%/%post_id%/
เหมือนกับที่ใช้ใน thaiall.com/blog และ thaiall.com/blogacla
เพราะไม่สามารถใช้ url ที่มีชื่อ topic เป็น url ได้

permalink ของ lampang.net

permalink ของ lampang.net

ข้อคิดเห็นของทีมต่อการดำเนินงาน ระยะที่ 2 กรกฎาคม 2554 – ธันวาคม 2554

ตีข้าว บ้านร่มเย็น ต.นิคมพัฒนา

ตีข้าว บ้านร่มเย็น ต.นิคมพัฒนา

การวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่ บ้านร่มเย็น หมู่ 8 ต.นิคมพัฒนา อ.เมือง จ.ลำปาง

 

          ทีมวิจัยที่เกิดจากตัวแทนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดลำปางจำนวน 5 สถาบัน ได้แก่ มจร. มทร. มรภ. กศน. และมนช. (มยน. เดิม) ร่วมกับตัวแทนจากชุมชน ทั้งผู้นำ ครู และชาวบ้าน เป็นคณะทำงานชุดใหญ่ แต่เมื่อลงไปทำงานก็พบว่าขนาดของทีมเป็นทั้งจุดเด่น และจุดด้อยไปพร้อมกัน โดยเฉพาะการลงไปทำงานในชุมชนขนาดเล็ก เพราะมีประชากรประมาณ 100 หลังคาเรือน และการเป็นชุมชนที่เกิดจากการย้ายถิ่นที่รับผลจากการสร้างเขื่อนกิ่วลม  ทำให้จารีตประเพณีในชุมชนต่างจากชุมชนอื่นที่ลงหลักปักฐานมานับร้อยปี ความเหนียวแน่นของเครือญาติ และศิลปวัฒนธรรม จึงไม่เด่นชัด ทำให้ทีมวิจัยต้องใช้เวลาเรียนรู้ และค้นหาตัวตนที่แท้จริงร่วมกับชุมชนให้กระจ่างชัด

          จุดเด่นของทีมที่มีขนาดใหญ่ คือ การลงพื้นที่ในแต่ละครั้งจะมีตัวแทนจากทุกสถาบันเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงมีกำลังของทีมมากพอที่จะทำให้เกิดความคิดที่หลากหลาย และมุ่งไปสู่เป้าหมายของแต่ละกิจกรรมได้ชัดเจน ส่วนจุดด้อยที่พอจะมองเห็นคือการหมุนเวียนสลับผลัดเปลี่ยนตัวแทนนักวิจัยจากแต่ละสถาบันเข้าไปในแต่ละกิจกรรม ทำให้การเชื่อมประสานข้อมูลจากแต่ละเวทีไม่ราบรื่น ทำให้ต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งในการทบทวน ทำความเข้าใจกิจกรรมที่ผ่านมา ชี้แจงเป้าหมายในการหารือ และต้องเรียนรู้ข้อค้นพบที่เข้ามาใหม่จากแต่ละเวทีที่จำเป็นต้องใช้ในการกำหนดแนวทางการทำงานสำหรับเวทีต่อไป

          พี่เลี้ยง และผู้ช่วยนักวิจัย เป็นกำลังสำคัญที่ทำให้การทำงานของทีมที่มีขนาดใหญ่สามารถขับเคลื่อนไปได้ และความร่วมมือของนักวิจัยในพื้นที่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทำงานในช่วงที่ผ่านมาราบรื่น เพราะมีการลงไปทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด จนคนในชุมชนเข้าใจเป้าหมายของการเข้าไปทำงานของนักวิชาการที่มาจากภายนอก นำไปสู่การยอมรับ และการรวมกลุ่มของกลุ่มที่มีปัญหาได้สำเร็จในที่สุด

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150430198513895.379656.814248894&type=3

ข้อค้นพบจากการดำเนินงาน ระยะที่ 2 กรกฎาคม 2554 – ธันวาคม 2554

การวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่ บ้านร่มเย็น หมู่ 8 ต.นิคมพัฒนา อ.เมือง จ.ลำปาง

 

          การเข้าศึกษาชุมชนในระยะที่สอง มุ่งค้นหาปัญหาที่แท้จริงที่ชุมชนต้องการแก้ไข เป็นการต่อยอดจากที่เคยศึกษาร่วมกับผู้นำชุมชนในระดับตำบล ซึ่งชุมชนบ้านร่มเย็น ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ประกอบด้วยคนหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีหลายบทบาท ที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกันทั้งการศึกษา ฐานะ อาชีพ อายุ ความเป็นมา และความเข้มแข็งในครอบครัว การศึกษาบริบทพื้นฐานของชุมชน จึงเป็นสิ่งจำเป็นและการลงพื้นที่ในระยะที่ 2 ทีมวิจัยเลือกพื้นที่คือบ้านร่วมเย็น หมู่ 8 เพราะสนใจประเด็นด้านการเกษตรพันธสัญญา แต่เมื่อเข้าไปเรียนรู้ในพื้นที่ พบว่า ชุมชนนี้มิได้ทำเกษตรพันธสัญญา แต่มีที่ดินของหมู่บ้านที่เรียกว่า นารวม หลังเรียนรู้ร่วมกันไประยะหนึ่งทีมวิจัยมีโอกาสเข้าไปสร้างสัมพันธ์กับชุมชนผ่านกิจกรรมเกี่ยวข้าว และตีข้าว โดยการบูรณาการกับการเรียนการสอนที่นำนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุข และอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเนชั่น เข้าไปร่วมเรียนรู้ และตีข้าวกับคนในชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมอาสาของชุมชนที่มีคนจากนอกชุมชนเข้าไปร่วมกิจกรรมมากที่สุดเป็นครั้งแรก

          เมื่อลงพื้นที่ และศึกษาบริบทของชุมชนก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ในแต่ละครั้งตามแผน และข้อมูลที่ได้จากแต่ละเวทีก่อนหน้านี้ ในบางครั้งการลงพื้นที่เก็บข้อมูลก็พบประเด็นที่จำเป็นต้องนำกลับมาคุยกันในทีมวิจัย ก็เลือกหารือกันที่วัดบุญวาทย์วิหาร เพราะเป็นศูนย์รวมจิตใจ และศูนย์กลางของจังหวัดที่นักวิจัยสะดวกในการเข้าไปประชุมร่วมกันหลังเลิกงาน แล้วพูดคุยกันหาข้อสรุป ใช้เวลากันตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ตกถึงห้าทุ่มหลายครั้ง

          เครื่องมือใหม่ถูกนำมาใช้ ผ่านคำแนะนำของทีมใหญ่ที่ต่างประสบการณ์ แต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ มุ่งกะเทาะหาข้อเท็จจริงออกมาจากชุมชนให้มากที่สุด และเรียนรู้กับชุมชนไปพร้อมกัน เครื่องมือที่นำมาใช้ในแต่ละช่วงมีหลากหลาย อาทิ โอ่งชีวิต แผนที่ชุมชน แผนที่ความคิด ต้นไม้ชุมชน ปฏิทินกิจกรรม ในที่สุดเราก็พบว่ากลุ่มแม่บ้านที่รวมกลุ่มกันทำข้าวซ้อมมือ ต้องการรวมกลุ่มใหม่หลังจากกลุ่มสลายตัวไปด้วยเหตุผลบางประการ เมื่อตัวแทนของชุมชนหยิบยกปัญหาการล้มหายของกลุ่ม ทีมวิจัยจึงเข้าไปชวนกลุ่มศึกษาตนเองในรายละเอียด พร้อมกับสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ จนเกิดการรวมกลุ่มตามความต้องการของชุมชนอีกครั้ง ซึ่งมีข้อสรุปว่ากลุ่มข้าวซ้อมมือที่รวมกลุ่มขึ้นมาใหม่นั้น ยังมีปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยเฉพาะการขาดความรู้ที่จะสนับสนุนการดำเนินการที่จะทำให้กลุ่มยั่งยืนต่อไป ซึ่งเข้าตามกรอบพันธกิจของสถาบันการศึกษาในด้านการบริการวิชาการ และคาดว่าจะมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในโครงการวิจัยระยะที่ 3 ที่เน้นไปที่การให้บริการวิชาการแก่กลุ่มตามความถนัดของแต่ละสถาบันการศึกษา

http://www.youtube.com/watch?v=8sYSkYKgssI

บล็อกของลำปางดอทเน็ต (blog of lampang.net)

lampang.net move forwarding

lampang.net move forwarding

7 ม.ค.55 เริ่มต้นใหม่กับ lampang.net โดยการย้าย Forwarding with masking ที่เดิมชี้ไป http://www.thaiall.com/lampang แล้วเปลี่ยนให้ชี้ไป http://www.thaiabc.com/lampangnet โดยข้อมูลใน url เดิมมิได้มีปัญหาอะไร แต่เปลี่ยนแนวการพัฒนาจาก one webpage ไปเป็น personal blog ซึ่งผมใช้แนว one webpage (dynamic) มาตั้งแต่ 1998 – 2010 แล้วผมไปกู้โดเมนมาเป็นของตนเอง ก็ยังปล่อยให้เป็น one webpage (dynamic) ตลอด 1 ปีเต็ม จนกระทั่งวันนี้ ใช้บริการ wordpress application ของ windows server of godaddy.com แล้ว post เรื่องนี้เป็นเรื่องแรก หลังติดตั้ง และเปลี่ยน forwarding ส่วนเนื้อหาเดิม และข้อมูลต่าง ๆ ก็คงทะยอยเข้ามาในระบบของ blog

สิ่งที่แก้ไขเป็นสิ่งแรก ใน Blog Settings คือ Permalink Settings เพราะต้องการให้เข้าถึงแต่ละ post ผ่าน url ที่เป็น Permanent link มิใช่ผ่านการส่งค่าผ่าน get ซึ่งบาง social network ไม่รับ url ทีี่ต้องกำหนด ?

คงต้องกล่าวว่า “สวัสดีชาวโลก”
จาก เว็บมาสเตอร์ลำปางดอทเน็ต

http://www.thaiall.com/lampang