ระบบปฏิบัติการวินโดว์ (Windows)
สารบัญ :: #1 :: #2 :: #3 :: #4 :: #5 :: #6 :: #7 :: #8 :: #9 :: #10 :: #11 :: #12 :: Linux
ระบบปฏิบัติการวินโดว์

สาระการเรียนรู้
1. ประวัติความเป็นมา (History)
2. หลักการออกแบบ
3. โครงสร้างระบบ (Structure System)
4. ระบบแฟ้ม (File System)
5. ระบบ DOS
6. โปรแกรมประยุกต์

จุดประสงค์การสอน
1. เข้าใจประวัติความเป็นมา (History)
2. เข้าใจหลักการออกแบบ
3. เข้าใจโครงสร้างระบบ (Structure System)
4. เข้าใจระบบแฟ้ม (File System)
5. สามารถใช้งานระบบ DOS ได้
6. สามารถเลือกใช้โปรแกรมประยุกต์ให้เหมาะกับงานได้
7. สามารถติดตั้ง และเปิดบริการต่าง ๆ ได้

แนะนำบทเรียน
จากประวัติของ Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Apple ทำให้รู้ว่าการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก (GUI = Graphic User Interface) ถูกริเริ่มโดยบริษัท Xerox ซึ่งผลิตเครื่อง Xerox PARC ขึ้นมา แล้วก็นำมาเป็นแนวคิดในการพัฒนา GUI ของบริษัท จนทำให้เครื่อง Macintosh ได้รับความนิยมสูง และ Bill Gates ก็นำมาเป็นแนวคิดในการพัฒนาระบบปฏิบัติการวินโดว์ ของบริษัท Microsoft จนกลายเป็นระบบปฏิบัติการที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกไปแล้ว

บทนำ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า วินโดวส์ (Windows) ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางวินโดวส์ ซึ่งจะง่ายกว่าการออกคำสั่งโดยพิมพ์จากแป้นพิมพ์โดยตรง
12.1 ประวัติความเป็นมา (History)
วินโดวส์ที่ถูกพัฒนาโดยไมโครซอฟต์ในรุ่นแรก ๆ จะใช้กับเครื่องไอบีเอ็ม และไอบีเอ็มคอมแพททิเบิล ที่มีซีพียูเบอร์ 80286 80386 และ 80486 และในปี 1990 ไมโครซอฟต์ได้ออกวินโดวส์เวอร์ชัน 3.0 ออกมา เพื่อทำการโปรโมทผู้ใช้ไม่ให้หันไปนิยมใช้แมคอินทอชโอเอสแทนดอส อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าวินโดวส์จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส แต่ในเวอร์ชันแรก ๆ การใช้งานก็ยังไม่ง่ายเท่าของแมคโอเอส และนอกจากนี้การติดตั้งอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ก็ยังทำได้ยาก
วินโดวส์ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากวินโดวส์เวอร์ชัน 3 มาเป็น 4.0 วินโดวส์ 95 และวินโดวส์ 98 ในปัจจุบัน วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98 ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง เนื่องจากมันไม่ต้องอยู่ภายใต้ การควบคุมของดอส การติดตั้งจะแยกออกจากดอสอย่างเด็ดขาดไม่จำเป็นต้องติดตั้งดอสก่อน นอกจากความง่ายและสะดวกต่อการใช้งานแล้ว วินโดวส์เวอร์ชันใหม่นี้ยังรวมซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้ากับระบบเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและยังเอื้ออำนวยความสะดวกในการโอนถ่ายซอฟต์แวร์หรือที่เรียกว่าดาวน์โหลด(Download) โปรแกรมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้วินโดวส์เวอร์ชันใหม่นี้ยังมีความสามารถทางด้าน Plug–and-Play ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถนำอุปกรณ์ มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ซีดีรอมไดรฟ์ ซาวน์การ์ด โมเด็ม ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ฯลฯ ที่สนับสนุน Plug-and-Play มาต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง และเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 หรือ 98 จะทำหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้และทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักอุปกรณ์เหล่านี้เอง โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม
ในปัจจุบันตลาดพีซีเกือบทั้งหมดถูกครองครองโดยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ รวมทั้งมีการผลิตซอฟต์แวร์ที่รันอยู่บนระบบปฏิบัติการประเภทนี้ออกมาสู่ตลาดอย่างมากมาย ดังนั้นจึงมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่นิยมใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98
Microsoft Windows ตั้งแต่อดีต - ปัจจุบัน
เดือน - ปี รายละเอียด
ตุลาคม 2524 IBM เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลครั้งแรก พร้อมด้วยระบบปฏิบัติการ PC-DOS 1.0 ของไมโครซอฟท์
มีนาคม 2526 ไมโครซอฟท์เปิดตัว MS-DOS 2.0 ที่สนับสนุนการใช้งานฮาร์ดดิสก์และระบบจัดการไฟล์แบบใหม่
พฤศจิกายน 2526 ไมโครซอฟท์แนะนำระบบปฏิบัติการ Windows ที่ทำงานบน MS-DOS โดยเริ่มแรกที่ใช้ชื่อว่า Interface Manager
พฤศจิกายน 2528 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows1.0
เมษายน 2530 IBM และไมโครซอฟท์ร่วมกันเปิดตัว OS/2 1.0 ระบบปฏิบัติการยุคใหม่ที่มีระบบการทำงานตามคำสั่งคอมมานต์ไลน์เหมือนกับ DOS
ธันวาคม 2530 ไมโครซอฟท์จำหน่ายระบบปฏิบัติการ Windows 2.0 ที่หน้าต่างสามารถวางซ้อนทับกันได้ และทำงานได้กับไมโครโปรเซสเซอร์ 80286 ของอินเทล
ธันวาคม 2530 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows/386 ซึ่งอาศัยคุณสมบัติ Virtual Machine ของไมโครโปรเซสเซอร์ 80386 ซึ่งสามารถเรียกใช้งานโปรแกรม DOS ได้แบบหลายงานพร้อมกัน (Multitasking)
มิถุนายน 2531 ไมโครซอฟท์จำหน่ายระบบปฏิบัติการ Windows 2.0 Version 2 มีชื่อว่า Windows-286
ตุลาคม 2531 IBM และไมโครซอฟท์ร่วมกันพัฒนาและออก OS/2 1.1 ซึ่งมีหน้าตาแบบกราฟฟิคคล้ายกับวินโดวส์ โดยมีชื่อว่า Presentation Manager ต่อมาภายหลังภายหลังทั้งสองบริษัทได้หยุดความร่วมมือในการพัฒนา OS/2
พฤศจิกายน 2531 เปิดตัว MS-DOS 4.1 ออกสู่ตลาด
พฤษภาคม 2533 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 3.0 และได้รับการตอบรับอย่างดี โดยในช่วงปลายปี ไมโครซอฟท์ขยายซอฟต์แวร์ Windows ได้มากกว่า 1 ล้านชุดต่อเดือน
เมษายน 2534 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 3.1ด้วยเทคโนโลยีแสดงตัวอักษรแบบใหม่ และแก้ปัญหาบั๊กต่างๆ
มิถุนายน 2534 เปิดตัว MS-DOS 5.0 ออกสู่ตลาด
ตุลาคม 2534 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows for Workgroup 3.1 โดยความสามารถด้านเครือข่าย
มีนาคม 2535 เปิดตัว MS-DOS 6.0 ออกสู่ตลาด
พฤษภาคม 2535 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT 3.1 เวอร์ชั่นของสายผลิตภัณฑ์ Windows NT ซึ่งมองโดยรวมแล้วมีลักษณะคล้าย Windows 3.1 แต่ทำงานบนเครื่อง 32 บิต
พฤศจิกายน 2536 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows for Workgroup 3.11 พร้อมกับ MS-DOS 6.2
มีนาคม 2537 เปิดตัว MS-DOS 6.21 ออกสู่ตลาด
พฤษภาคม 2537 เวอร์ชันสุดท้ายของ DOS ออกสู่ตลาด คือ MS-DOS 6.22 ด้วยความสามารถในการบีบอัดข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ DriveSpace
กันยายน 2537 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT เวอร์ชัน 2 ออกสู่ตลาด (Windows NT 3.5)
มิถุนายน 2538 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT3.51
สิงหาคม 2538 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 95 (Windows 4.0) ออกสู่ตลาด ด้วยความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ Windows 95 สนับสนุนชื่อไฟล์แบบยาว แอพพลิเคชัน 32 บิต และมีคุณสมบัติ Plug and Play พร้อมกับหน้าจออินเทอร์เฟซใหม่ ที่มีการใช้ปุ่ม Start Menu เป็นครั้งแรก
กรกฎาคม 2539 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT 4.0 ซึ่งมีหน้าจออินเทอร์เฟซแบบเดียวกับ Windows 95 และเป็นระบบปฏิบัติการสาย NT ตัวแรกที่ประสบผลสำเร็จ
ตุลาคม 2539 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ OEM Service Release 2 ของ Windows 95 หรือที่เรียกว่า OSR2 และเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกของ Windows 95 ที่สนับสนุนการใช้งานระบบไฟล์แบบ FAT32
มิถุนายน 2540 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 95 OSR2.1 ซึ่งสนับสนุนตัวประมวลผลทางด้านกราฟฟิค AGP และพอร์ต USB
มิถุนายน 2541 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 98 ออกสู่ตลาด พร้อมด้วย Internet Explorer 4.0 ไดร์เวอร์ฮาร์แวร์ใหม่ ระบบจัดการพลังงานด้วย ACPI นับเป็นวินโดวส์อีกรุ่นที่ประสบความสำเร็จ
พฤษภาคม 2542 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 98 Second Edition (SE) ออกสู่ตลาด พร้อมด้วย Internet Explorer 5.0 และ Internet Connection Sharing (ICS)
กุมภาพันธุ์ 2543 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 2000 (Windows NT 5.0) โดยสนับสนุนคุณสมบัติ Plug and Play, DirectX, USB และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีอยู่ใน Windows 9x
กันยายน 2543 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows Millenium Edition (Me) ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายในสายผลิตภัณฑ์ Windows 9x
ตุลาคม 2544 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows eXPerience หรือ Windows XP ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมสายผลิตภัณฑ์ Windows 9x และWindows NT/2000 เข้าไว้ด้วยกัน และสนับสนุนงานทางด้าน Multimedia
Windows 95 เป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง สร้างขึ้นมาเพื่อแทน DOS และ Windows 3.1 เลข 95 บอกถึงปีที่ออกจำหน่าย (ค.ศ. 1995) ส่วน Windows 98 ออกจำหน่าย ค.ศ. 1998 เป็นเพียงการปรับปรุง Windows 95 ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการใหม่
Windows NT พัฒนาขึ้นมาต่างหากจาก Windows 95 กล่าวคือไม่ได้ใช้ Windows 95 เป็นฐาน ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการคนละอย่างกับ Windows 95 ถึงแม้จะมีหน้าตาเหมือนกัน มีวิธีใช้อย่างเดียวกัน คำว่า NT ย่อมาจาก New Technology เมื่อบริษัทไมโครซอฟท์คิดสร้าง OS ตระกูลนี้ขึ้นมา ก็เพราะต้องการจะแยกระหว่าง OS ที่ใช้ในสำนักงานซึ่งโยงกันเป็นเครือข่ายประเภทที่มีแม่ข่าย กับ OS ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้านซึ่งไม่เชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ LAN ไมโครซอฟท์ตั้งใจให้ใช้ระบบปฏิบัติการนี้ในระบบเครือข่ายในวงการธุรกิจ Windows NT แบ่งเป็น Windows NT Server ใช้ในเครื่องที่เป็นแม่ข่าย และ Windows NT Client ใช้ในเครื่องที่เป็นลูกข่าย เราสามารถใช้ Windows NT Client เดี่ยว ๆ แทน Windows 95/98 ก็ได้ แต่เนื่องจากต้องการทรัพยากรของเครื่องมากกว่า จึงอาจจะไม่เหมาะสม
Windows 2000 สืบเชื้อสายจาก Windows NT ไม่ใช่จาก Windows 95/98 ก่อนที่จะมีรุ่นนี้ Windows NT พัฒนามาถึง Windows NT 4 แต่แทนที่จะเรียกรุ่นต่อไปว่า Windows NT 5 กลับเปลี่ยนชื่อเป็น Windows 2000 ใช้ปี ค.ศ. ที่ออกจำหน่ายเป็นชื่อ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันว่า สืบเชื้อสายจาก Windows 95/98 อนึ่ง Windows 2000 ที่ใช้ในเครื่องที่เป็นลูกข่าย ใช้ชื่อว่า Windows 2000 Professional ไม่ใช่ Windows 2000 Client
Windows Millennium เป็นชื่อที่ชวนให้สับสนมากที่สุด เนื่องจากคำว่า Millennium บอกถึงสหัสวรรษใหม่ คนจำนวนมากจึงคิดว่าเป็นอีกชื่อหนึ่งของ Windows 2000 (ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มักเข้าใจผิดกันว่าปี 2000 คือปีแรกของสหัสวรรษใหม่) แต่ที่จริง Windows Millennium คือวินโดวส์ตระกูล Windows 95/98 รุ่นสุดท้าย หลังจากนี้บริษัทไมโครซอฟท์เลิกพัฒนาวินโดวส์ตระกูลนี้
Windows XP เป็นวินโดวส์รุ่นล่าสุด เป็นสายพันธุ์ Windows NT แต่เพิ่มฉบับที่สำหรับให้ใช้ตามบ้านได้ด้วย เรียกว่า Windows XP Home Edition ซึ่งมาใช้แทนสายพันธุ์ Windows 95
12.2 หลักการออกแบบ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. โหมดเคอแนล (Kernel Mode)
- บริการระบบ (System services)
- ตัวจัดการไอโอ (I/O manager)
- ตัวจัดการวัตถุ (Object manager)
- ตัวเฝ้าตรวจความมั่นคง (Security Reference monitor)
- ตัวจัดการกระบวนการ (Process manager)
- การอำนวยความสะดวกในการเรียกกระบวนการ (Local procedure call facility)
- ตัวจัดการหน่วยความจำเสมือน (Virtual memory manager)
- แก่นของระบบ (Kernel Mode)
- ชั้นจัดการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ (HAL = Hardware Abstraction Layer)
3. โหมดของผู้ใช้ (User Mode)
- ระบบย่อยความมั่นคง (Security subsystem)
- ระบบย่อย OS/2 (OS/2 subsystem)
- ระบบย่อย Win32 (Win32 subsystem)
- ระบบย่อย POSIX (POSIX subsystem)
4. โปรแกรมประยุกต์ (Application)
- เข้าระบบ (Logon Process)
- ลูก OS/2 (OS/2 client)
- ลูก Win32 (Win32 client)
- ลูก POSIX (POSIX client)
! http://www.u-aizu.ac.jp/~vilb/os/win03.html

Modern Operating Systems,
Andrew S. Tanenbaum, pages 763-854
Windows Architecture : slide 5 of 24
12.3 โครงสร้างระบบ (Structure System)
When the original IBM PC was launched in 1981, it came equipped with a 16-bit real-mode, single-user, command-line oriented operating system called MS-DOS 1.0. This operating system consisted of 8 KB of memory resident code. Two years later, a much more powerful 24-KB system, MS-DOS 2.0, appeared. It contained a command line processor (shell), with a number of features borrowed from UNIX. When IBM released the 286-based PC/AT in 1984, it came equipped with MS-DOS 3.0, by now 36 KB. Over the years, MS-DOS continued to acquire new features, but it was still a command-line oriented system.
Inspired by the success of the Apple Macintosh, Microsoft decided to give MS-DOS a graphical user interface that it called Windows. The first three versions of Windows, culminating in Windows 3.x, were not true operating systems, but graphical user interfaces on top of MS-DOS, which was still in control of the machine. All programs ran in the same address space and a bug in anyone of them could bring the whole system to a grinding halt.
The release of Windows 95 in 1995 still did not eliminate MS-DOS, although it introduced a new version, 7.0. Together, Windows 95 and MS-DOS 7.0 contained most of the features of a full-blown operating system, including virtual memory, process management, and multiprogramming. However, Windows 95 was not a full 32-bit program. It contained large chunks of old 16-bit code (as well as some 32-bit code) and still used the MS-DOS file system, with nearly all its limitations. The only major change to the file system was the addition of long file names in place of the 8 + 3 character file names allowed in MS-DOS.
Even with the release of Windows 98 in 1998, MS-DOS was still there (now called version 7.1) and running 16-bit code. Although a bit more functionality migrated from the MS-DOS part to the Windows part, and a disk layout suitable for larger disks was now standard, under the hood, Windows 98 was not very different from Windows 95. The main difference was the user interface, which integrated the desktop, the Internet, and television more closely. It was precisely this integration that attracted the attention of the U.S. Dept. of Justice, which then sued Microsoft claiming that it was an illegal monopoly.
While all these developments were going on, Microsoft was also busy with a completely new 32-bit operating system being written from the ground up. This new system was called Windows New Technology, or Windows NT. It was initially hyped as the replacement for all other operating systems for Intel-based PCs, but it was somewhat slow to catch on and was later redirected to the upper end of the market, where it found a niche. It is gradually becoming more popular at the low end as well.
NT is sold in two versions: server and workstation. These two versions are nearly identical and are generated from the same source code. The server version is intended for machines that run as LAN-based file and print servers and has more elaborate management features than the workstation version, which is intended for desktop computing for a single user. The server version has a variant (enterprise) intended for large sites. The various versions are tuned differently, each one optimized for its expected environment. Other than these minor differences, all the versions are essentially the same. In fact, nearly all the executable files are identical for all versions. NT itself discovers which version it is by looking at a variable in an internal data structure (the registry). Users are forbidden by the license from changing this variable and thus converting the (inexpensive) workstation version into the (much more expensive) server or enterprise versions. We will not make any further distinction between these versions.
MS-DOS and all previous versions of Windows were single-user systems. NT, however, supports multiprogramming, so several users can work on the same machine at the same time. For example, a network server may have multiple users logged in simultaneously over a network, each accessing its own files in a protected way.
NT is a true 32-bit multiprogramming operating system. It supports multiple user processes, each of which has a full 32-bit demand-paged virtual address space. In addition, the system itself is written as 32-bit code everywhere.
One of NT's original improvements over Windows 95 was its modular structure. It consisted of a moderately small kernel that ran in kernel mode, plus a number of server processes that ran in user mode. User processes interacted with the server processes using the client-server model: a client sent a request message to a server, and the server did the work and returned the result to the client via a second message. This modular structure made it easier to port it to several computers besides the Intel line, including the DEC Alpha, IBM PowerPC, and SGI MIPS. However, for performance reasons, starting with NT 4.0, pretty much all of the system was put back into the kernel.
One could go on for a long time both about how NT is structured internally and what its system call interface is like. Since our primary interest here is the virtual machine presented by various operating systems (i.e., the system calls), we will give a brief summary of the system structure and then move on to the system call interface. From : Andrew S. Tanenbaum, Structured Computer Organization, Fourth Ed., Prentice-Hall, 1999. (ISBN 0-13-095990-1)
ItemWindows 95/98NT
Win32 API?YesYes
Full 32-bit system?NoYes
Security?NoYes
Protected file mappings?NoYes
Private address space for each MS-DOS program? NoYes
Plug and play?YesYes
Unicode?NoYes
Runs onIntel 80x8680x86, Alpha
Multiprocessor support?NoYes
Re-entrant code inside aS?NoYes
Some critical as data writable by user?YesNo
12.4 ระบบแฟ้ม (File System) แฟ้ม หรือไฟล์ (File)
หมายถึง กลุ่มของสารสนเทศที่สัมพันธ์กัน ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านั้นกำหนดโดยผู้สร้างแฟ้ม และอาจใช้เก็บอะไรก็ได้
หมายถึง กลุ่มของระเบียนที่สัมพันธ์กัน เป็นเรื่องเดียวกัน
หมายถึง สิ่งที่บรรจุข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน
หมายถึง A named collection of related information that is recorded on secondary storage.
หมายถึง A collection of bytes stored as an individual entity. All data on disk is stored as a file with an assigned file name that is unique within the folder (directory) it resides in. To the computer, a file is nothing more than a string of bytes. The structure of a file is known to the software that manipulates it. For example, database files are made up of a series of records. Word processing files contain a continuous flow of text. [techweb.com]
ระบบแฟ้ม (File system)
หมายถึง สิ่งที่ผู้ใช้พบเห็นมากที่สุด เพราะเป็นที่เก็บทั้งโปรแกรม และข้อมูล ของระบบปฏิบัติการ ที่ผู้ใช้ทุกคนต้องพบ ระบบแฟ้มประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Collection of files ซึ่งเก็บข้อมูลที่สัมพันธ์กัน และ Directory structure สำหรับจัดการ และให้ข้อมูลแฟ้มทั้งหมดในระบบ บางระบบปฏิบัติการมีส่วนที่ 3 คือ Partitions ซึ่งแยก Physically หรือ Logically ของระบบ directory โดยเนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงแฟ้ม และโครงสร้างไดเรกทรอรี่ รวมถึงการป้องกันแฟ้ม จากการเข้าถึงในระบบ Multiple users และระบบ File sharing
12.5 ระบบ DOS ระบบปฏิบัติการสำหรับ Personal comptuer ในยุคแรก ต่อมาคอมพิวเตอร์มีพัฒนาการด้าน hardware อย่างรวดเร็ว ในคอมพิวเตอร์รุ่น 286 สามารถใช้ Windows ได้ ทำให้บทบาทของ DOS ลดลงเป็นลำดับ
คำสั่งภายใน(internal command) และคำสั่งภายนอก(External command)
1. เกี่ยวกับ disk และ file
dir : แสดงรายชื่อแฟ้มใน directory
rename : เปลี่ยนชื่อแฟ้ม
copy : คัดลอกแฟ้ม
xcopy : คัดลอก directory
diskcopy : คัดลอกดิสก์
chkdsk : เช็คดิสก์
attrib : จัดการเกี่ยวกับ attibute ของแฟ้ม
label : เปลี่ยน label
2. เกี่ยวกับ directory structure
cd : เปลี่ยน directory
md : สร้าง directory
rd : ลบ directory
tree : แสดงโครงสร้าง directory
path : กำหนดเส้นทาง
3. เกี่ยวกับ batch processing
call : เรียก batch file อื่น
echo : แสดงข้อความ
if : เลือกทำตามเงื่อนไข
goto : ไปยัง label
rem : หมายเหตุ
pause : หยุดรอ
for : ทำซ้ำ
shift : เลื่อนสำหรับ %0 ถึง %9
4. ทั่วไป
date : ตั้งวันที่
time : ตั้งเวลา
prompt : ตั้งเครื่องหมาย prompt ใหม่
cls : ลบจอภาพ
type : แสดงข้อมูลใน text file
set : กำหนดตัวแปร
ver : แสดงเลขรุ่นของระบบปฏิบัติการ
http://www.thaiall.com/assembly/internalcmd.htm
12.6 โปรแกรมประยุกต์ Microsoft Office
Microsoft's primary desktop applications for Windows and Mac. Depending on the package, it includes some combination of Word, Excel, PowerPoint, Access and Outlook along with a host of Internet and other related utilities. The applications share common functions such as spell checking and graphing, and objects can be dragged and dropped between applications. Microsoft Office is the leading application suite on the market.
Microsoft Office 2003, introduced in late 2003, provides extensive support for XML and data collaboration. Office files can be saved as native XML for easier integration with other applications, and Microsoft's SharePoint portal turns Office into a groupware system that is administered on a Web server. Designed to be a front end to Microsoft's .NET initiative, Office 2003 applications run under XP and 2000 only. Microsoft no longer refers to Office as a "suite," rather it became the Microsoft Office System.
Office XP, introduced in 2001, added document sharing over the Web, a significant document recovery feature and also integrated Microsoft's Web-based Hotmail e-mail service.
Office 2000 was a major upgrade with numerous enhancements and changes. More integrated with the Web, it added collaboration features and support for opening and saving HTML documents, even doubling as an HTML editor.
Office 2000 is a software suite that consists of different applications that complete different activities. MS Office 2000 is by far the most widely recognized software suite in the world.
Office 95 was the first 32-bit version of Office, followed by Office 97, which added Internet integration and Outlook. The formats in Excel 97, PowerPoint 97 and Word 97 were changed, but files could be saved in a dual 95/97 format for backward compatibility. Access 97 files were not backward compatible. The last 16-bit versions of Office were Office 4.x.
  1. Microsoft word is the word processing program of the Microsoft Office suite that allows you to create documents and reports.
    Microsoft Word 2000 provides powerful tools for creating and sharing professional word processing documents. Click here for help on Microsoft Word. Take a Virtual Tour on Microsoft's website by clicking Microsoft Word 2000 Virtual Tour.
  2. Microsoft Excel lets you develop spreadsheets that display data in various tabular and visual formats.
    Microsoft Excel 2000 With Microsoft Excel 2000, you can create detailed spreadsheets for viewing and collaboration. Create customized formulas for your data and analyze it with the easy to construct charts. Click here for help on Microsoft Excel. Take a Virtual Tour on Microsoft's website by clicking Microsoft Excel 2000 Virtual Tour.
  3. Microsoft PowerPoint creates multimedia presentations to display information in a graphical format.
    Microsoft PowerPoint 2000 provides a complete set of tools for creating powerful presentations. Organize and format your material easily, illustrate your points with your own images or clip art, and even broadcast your presentations over the web. Click here for help on Microsoft PowerPoint. Take a Virtual Tour on Microsoft's website by clicking Microsoft PowerPoint 2000 Virtual Tour.
  4. Microsoft Access is a database program that stores information that can be manipulated, sorted, and filtered to meet your specific needs.
    Microsoft Access 2000 gives you powerful new tools for managing your databases. Share your database with co-workers over a network, find and retrieve information quickly, and take advantage of automated, pre-packaged wizards and solutions to quickly create databases. Click here for help on Microsoft Access. Take a Virtual Tour on Microsoft's website by clicking Microsoft Access 2000 Virtual Tour.
  5. Microsoft Frontpage allows you to create professional-looking web pages for the Internet.
  6. Microsoft Publlisher
    Microsoft Publisher 2000 helps you easily create, customize, and publish materials such as newsletters, brochures, flyers, catalogs, and Web sites. Publish easily on your desktop printer. Click here for help on Microsoft Publisher. Take a Virtual Tour on Microsoft's website by clicking Microsoft Publisher 2000 Virtual Tour.
  7. Microsoft Outlook
  8. Microsoft Internet Explorer
  9. Microsoft Paint
Microsoft Office + http://www.microsoft.com/thailand/office/system/
Microsoft Office System ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นแพล็ตฟอร์มโซลูชั่นสำหรับองค์กรธุรกิจ โดยมีผลิตภัณฑ์ Microsoft Office 2003 รุ่นต่างๆ เช่น Microsoft Office Professional Edition 2003 เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการทำงานสำหรับเดสก์ท็อปร่วมกันกับผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์อื่นๆ เช่น Microsoft Exchange Server 2003 ที่ช่วยขยายขอบเขตความสามารถด้านสื่อสารให้มากขึ้น, บริการต่างๆ และผลิตภัณฑ์ เช่น OneNote, Publisher และ Visio ซึ่งคุณสมบัติใหม่ๆ ของโปรแกรมในชุด Microsoft Office 2003 จะช่วยให้ผู้ใช้ทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือแม้แต่ทำงานกับคู่ค้าและลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละธุรกิจ ตั้งแต่การจัดการและเพิ่มประสิทธิผลส่วนบุคคลไปจนถึงการบริหารโครงการที่ซับซ้อน
Office Editions
- Access
- Excel
- FrontPage
- InfoPath
- OneNote
- Outlook
- PowerPoint
- Project
- Visio
- Word
Services
- Live Meeting
Servers
- Live Communications Server
- Sharepoint Portal Server
Related Products
- Exchange Server
- Windows Server
12.7 ปฏิบัติการฝึกใช้ติดตั้ง และใช้งาน - ฝึกติดตั้งระบบปฏิบัติการ windows และให้บริการแบบต่าง ๆ
- ฝึกติดตั้งระบบปฏิบัติการ windows 2 ระบบในเครื่องเดียวกัน
- ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบปฏิบัติการ Windows จากอินเทอร์เน็ต แล้วทำรายงาน และส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้น
Command line เป็น emulator บน web browser

jamesfriend.com.au

bellard.org

dosbox.com
มีบริการให้ใช้งาน shell ของ DOS และ Linux ผ่าน browser โดยใช้ javascript เป็นตัวพัฒนา เหมาะกับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ และทดสอบคำสั่งพื้นฐาน 1) ถ้าต้องการใช้ DOS shell หรือ command line ผ่าน online emulator เข้าใช้ที่ jamesfriend.com.au 2) ถ้าต้องการใช้ Linux shell ผ่าน online emulator เข้าใช้ที่ bellard.org มีตัวอย่างคำสั่ง linux ที่ /isinthai 3) ถ้าจะ DOS Shell บน windows ก็จะมี DOSBOX เป็น x86 emulator Downoad : dosbox.com แล้วก็ติดตั้ง ผมเคยเขียนตัวอย่างการใช้งาน DOSBOX ที่ thaiall.com
ถาม - ตอบ
ถามWindows 1.0 เปิดตัวเมื่อใด
ตอบพ.ศ.2528 หรือ ค.ศ.1985
ถามMacintosh เปิดตัวเมื่อใด
ตอบ24 มกราคม พ.ศ.2528 หรือ ค.ศ.1984
แนะนำเว็บไซต์ (Website guide) + http://www.thaiall.com/os/dualboot.htm
+ คลิ๊ปโฆษณาของ Macintosh ในปี 1984
เอกสารอ้างอิง (Reference) [1] Abraham silverschatz, Peter baer galvin, "Operating system concept", John wiley & Sons, New York, 2003.
[2] Milan Milenkovic, "Operating systems: concepts and design", McGraw-Hill inc., New York, 1992.
[3] William stallings, "Operating system", Prentice hall, New York, 1999.
[4] ไพศาล โมลิสกุลมงคล และคณะ, "ระบบปฏิบัติการ", สำนักพิมพ์ดวงกมลสมัย, กรุงเทพฯ, 2545.
[5] พิเชษฐ์ ศิริรัตนไพศาลกุล, "ระบบปฏิบัติการ (Operating system)", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2546.
[6] ดร.ยรรยง เต็งอำนวย, "ระบบปฏิบัติการ (Operating system)", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2541.
[7] ประชา พฤกษ์ประเสริฐ, "ระบบปฏิบัติการ", บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด., กรุงเทพฯ, 2549.
[8] วศิน เพิ่มทรัพย์, "คู่มือ MS-DOS", พี.เอ็น.การพิมพ์, กรุงเทพฯ, 2545.
[9] ชนินทร์ เชาวมิตร, "คู่มือยูนิกซ์เดสก์ทอป", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2538.
[10] รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม, "ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)", อาง้วนการพิมพ์, นครสวรรค์, 2555.

http://goo.gl/72BPC