ผลกระทบด้านจริยธรรม และสังคม
Home  Contents KMArticlesMembersSponsorsAbout us

ปรับปรุง : 2559-05-25 (เพิ่ม blog)
19. ผลกระทบด้านจริยธรรม และสังคม

วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจความหมายของจริยธรรม
- เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ควรได้รับการป้องกัน
ประเด็นที่น่าสนใจ
- คุณธรรม จริยธรรม
- กฎหมาย
- บทก่อนหน้า | บทต่อไป
- บันทึกในบล็อก
- playlist 49 clips : MIS 2555
- playlist เฉลย office 150 ข้อ
- Captain America: Civil War
ความหมาย จริยธรรม (Ethics) มาจาก จริย + ธรรม
จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ
ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์
เมื่อเอาคำว่า จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ
“ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ประเด็นด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี (PAPA) [1] ความเป็นส่วนตัว (Privacy) .. เปิดเผยข้อมูลได้เท่าที่อนุญาต
ความถูกต้อง (Accuracy) .. ผู้เผยแพร่ข้อมูลต้องมีความรับผิดชอบ
ความเป็นเจ้าของ (Property) .. เป็นประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา / ลิขสิทธิ์
การเข้าใช้ข้อมูล (Access) .. การกำหนดระดับความปลอดภัย
สิ่งที่ควรได้รับการป้องกัน [1] ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
ลิขสิทธิ์ (Copyright) สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
สิทธิบัตร (Patents) หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์
# Software License คือ ซื้อลิขสิทธิ์มา และมีสิทธิใช้
# Shareware คือ ซอฟท์แวร์ให้ทดลองใช้ ก่อนตัดสินใจซื้อ
# Freeware คือ ซอฟท์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี
จรรญาบรรณสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
ไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
ไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
ไม่โจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
ไม่สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
ไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
ตระหนักในการกระทำของตนที่อาจกระทบต่อสังคม
เคารพกฏ ระเบียบ กติกา และมีมารยาท
ความจำเป็นทางศีลธรรมทั่วไป (General moral imperative) [3] ช่วยเหลือมนุษย์และสังคม
หลีกเลี่ยงการทำอันตรายต่อผู้อื่น
ซื่อสัตย์และประพฤติตนให้น่าไว้วางใจ
ยุติธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
เคารพในสิทธิความเป็นเจ้าของร่วมทั้งลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรของผู้อื่น
ให้เครดิตแก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา
เคารพสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
รักษาความลับของผู้อื่น
โดย สมาคมเครื่องจักรคำนวณ (ACM = Association of Computing Machinery)
ร่าง กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ [1] กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
การป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต [3] การประเมินความเสี่ยง
การบังคับใช้นโยบายความมั่นคงปลอดภัย
การให้ความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัย
การป้องกัน
การตรวจจับการบุกรุกและการโจมตี
การตอบสนองการบุกรุกและการโจมตี
การป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การว่าจ้างอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง (Hire Carefully)
ระวังพวกที่ไม่พอใจ (Beware of Malcontents)
การแยกหน้าที่รับผิดชอบของพนักงาน (Separate Employee Functions)
การจำกัดการใช้งานในระบบ (Restrict System Use)
การป้องกันทรัพยากรข้อมูลด้วยรหัสผ่าน หรือการตรวจสอบการมีสิทธิใช้งานของผู้ใช้ (Protect Resources with Passwords or Other User Authonization Checks a Password)
การเข้ารหัสข้อมูล และโปรแกรม (Encrypt Data and Programs)
การเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของระบบข้อมูล (Monitor System Transactions)
การตรวจสอบระบบอย่างสม่ำเสมอ (Conduct Frequent Audits)
การให้ความรู้ผู้ร่วมงานในเรื่องระบบความปลอดภัยของข้อมูล (Educate People in Security Measures)
ชนิดของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโกงข้อมูล (Data Diddling) หรือ การฟิชชิ่ง (Phishing)
เทคนิคแบบ Trojan hourse (Trojan Horse Technique)
เทคนิคแบบ Salami (Salami Technique) เศษตังของผู้ใช้
การดักข้อมูล (Trapdoor Routines)
ระเบิดตรรกกะ (Logic Bombs)
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus)
เทคนิคแบบกวาดข้อมูล (Scavenging Techniques)
การทำให้รั่ว (Leakage)
การลอบดักฟัง (Eavesdropping)
การขโมยต่อสาย (Wiretapping)
โจรสลัดซอฟท์แวร์ (Software Piracy)
การแอบเจาะเข้าไปใช้ข้อมูล (Hacking)
รูปแบบของปัญหาในการดูแลรักษาความปลอดภัย ความประมาทของผู้ใช้ (Human Carelessness)
- ป้อนข้อมูลผิดพลาด
- การทำงานผิดพลาด
- ใช้โปรแกรมผิดรุ่น
- โปรแกรมถูกทำลายเสียหายขณะใช้งาน
- จัดเก็บแฟ้มข้อมูลผิดที่
- ฮาร์ดแวร์ถูกทำลาย
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
- ระบบถูกวินาศกรรม
- เปลี่ยนข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
- การจารกรรมระบบ
- การขโมยโปรแกรม
- การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อขโมยเงินหรือสิ่งของ
หายนะทางธรรมชาติ และการเมือง (Natural or Political Disasters)
- การจลาจลหรือสงคราม
- แผ่นดินไหว ไฟไหม้ น้ำท่วม พายุ
การผิดพลาดของฮาร์ดแวร์/ซอฟท์แวร์ (Hardware/Software Failures)
- เครื่องมือทำงานผิดปกติ
- ข้อมูลถูกทำลายเนื่องจากความผิดปกติของฮาร์ดแวร์/ซอฟท์แวร์
- สายส่งข้อมูลไม่ดีเนื่องจากคุณภาพต่ำ
- ความเสียหายอันเกิดจากไม่ได้ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
- กำลังไฟเลี้ยงตก
หลักการด้านจริยธรรม
1. Golden Rule
จงปรนนิบัติต่อผู้อื่น อย่างที่ท่านปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อท่าน

2. Immanuel Kant and Categorical Imperative
ถ้าการกระทำใดไม่เหมาะกับคนเพียงคนเดียว ก็ไม่ควรนำการกระทำนั้นไปใช้กับทุกคน

3. Descartes' Rule of Change
ถ้าการกระทำใดที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกครั้ง การกระทำนั้นก็ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย การกระทำอย่างหนึ่งอาจนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่สามารถยอมรับได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้งในระยะยาว การกระทำเช่นนั้นอาจยอมรับไม่ได้

4. Utilitarian Principle
บุคคลควรที่จะเลือกการกระทำที่เป็นค่านิยมที่มีระดับสูงกว่าก่อน โดยจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของค่านิยม เพื่อที่จะเข้าใจผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้

5. Risk Aversion Principle
บุคคลควรที่จะแสดงการกระทำที่ทำให้เกิดอันตราย หรือเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด

6. Ethical "No free lunch rule"
กฏจริยธรรมที่ไม่มีการเลี้ยงอาหารฟรี 
สิ่งที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องมีผู้คิดค้น  ซึ่งบางครั้งผู้คิดค้นไม่ได้ประกาศอย่างเป็นเจ้าของ แต่ถ้ามีการแสดงความเป็นเจ้าของ ผู้ผลิตก็จะต้องการค่าชดเชยสำหรับการลงทุนที่ได้จากความคิด และแรงงาน
Blog: คลิ๊ปลูกน้องไม่พอใจถูกหัวหน้า จึงเอาคืนโดยแกล้งกลับ #
คนขับรถธนาคารแค้นที่ผู้จัดการธนาคารจะไล่ออก
ทีแรกจะฆ่าด้วยซ้ำ แต่เปลี่ยนใจเป็นขโมยเงิน
หวังให้เค้าถูกย้าย หรือถูกไล่ออก ไม่ได้ประสงค์ต่อทรัพย์
ด้วยการเจาะตู้เซฟแบงค์กรุงเทพ
เป็นลูกจ้างชั่วคราว อายุ 36 ปี
https://www.youtube.com/watch?v=IjYc-Smet8E

การทะเลาะกับหัวหน้าก็มีเยอะนะครับ เช่น
พ.ค.59 ในสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา
ที่ ดอกเตอร์ 3 คนฆ่ากันตาย
เค้าก็ว่าเป็นปัญหาจากธรรมาภิบาล
กรณีนี้ก็คงเป็นธรรมาภิบาลเหมือนกัน
http://www.matichon.co.th/news/142126

ก.ย.55 หนุ่มโรงงานยิงหัวหน้าหมดโม่
ก็เพราะแค้นที่ถูกด่าเรื่องงานอย่างรุนแรง
http://www.thairath.co.th/content/293746

พ.ย.57 ภาโรงแค้นถูก ผอ.โรงเรียน ดุด่าเป็นประจำ
คว้าปืน ยิ่งต่อหน้าเพื่อนครูกลางวงเหล้า
http://hilight.kapook.com/view/111970

ธ.ค.58 ผู้พิพากษาสมทบหญิง และนักธุรกิจอหังสาริมทรัพย์ และอีกหลายอย่าง
ถูก 5 ลูกน้องอุ้มฆ่า แล้วไปทิ้งในอ่างเก็บน้ำ แต่รอดมาได้
เพราะจับได้ว่าลูกน้องทุจริต ปลอมเอกสารที่ดินมูลค่า 200 ล้าน แล้วจะฟ้อง
https://www.youtube.com/watch?v=itUF7rY2IAE

กรณีของ ดอกเตอร์ฆ่ากันในมหาวิทยาลัยนั้น
รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ ชี้ว่า ธรรมาภิบาลในองค์กร ก็มีส่วนสำคัญ
http://www.thaiall.com/blog/burin/7452/
ผู้สนับสนุน ยินดีรับ ผู้สนับสนุน เว็บไซต์ด้านการศึกษา
กลุ่มเว็บไซต์นี้ เริ่มพัฒนา พ.ศ.2542
โดยบุคลากรทางการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์
โทร. 081-9927223 (ผมเป็นคนลำปางหนา)
ปล. ขอไม่รับ work at home / อาหารเสริม
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน : 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป

เอกสารอ้างอิง #
[1] ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
"Imagination is more important than knowledge" - Albert Einstein
Home
Thaiabc.com
Thainame.net
Lampang.net
Nation University
PHP
MySQL
Visual basic.NET
TabletPC
Linux
Online quiz
Download
Search engine
Web ranking
Add website
Blog : IT & Media
Blog : ACLA
Blog : Education
Facebook.com
Twitter.com
About us
My dream
Site map
Sponsor
http://goo.gl/72BPC