ระบบฐานความรู้
Home  Contents KMArticlesMembersSponsorsAbout us

ปรับปรุง : 2559-01-05 (ปรับ header)
11. ระบบฐานความรู้

วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจความหมายของการจัดการความรู้
- เพื่อให้เข้าใจขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์
ประเด็นที่น่าสนใจ
- การจัดการความรู้
- Printer Port
- บทก่อนหน้า | บทต่อไป
- บันทึกในบล็อก
- playlist 49 clips : MIS 2555
- playlist เฉลย office 150 ข้อ
1. ความหมาย การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมกัน ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) หมายถึง การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ เป็นต้น
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง เทคนิคที่ช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียน และประหยัดเวลา
ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษาที่หลากหลาย อาทิ การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) ระบบอีเลินนิ่ง (E-Learning System) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Multimedia ) และอินเทอร์เน็ต (Internet)
2. ประเภทของความรู้ 1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
3. กระบวนการจัดการความรู้ ตามแนว กพร. การบ่งชี้ความรู้
การสร้างและแสวงหาความรู้
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
การประมวลและกลั่นกรองความรู้
การเข้าถึงความรู้
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
การเรียนรู้
4. เครื่องมือจัดการความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : CoP)
การศึกษาดูงาน (Study tour)
การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After action review : AAR)
การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect)
เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling)
การค้นหาสิ่งดีรอบตัว หรือสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiring)
เวทีเสวนา หรือสุนทรียสนทนา (Dialogue)
เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking)
การสอนงาน (Coaching)
การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
ฟอรัม ถาม – ตอบ (Forum)
บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning)
เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)
5. ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง
ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages)
ภาษาที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ทั้งคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และมนุษย์เข้าใจการรับรู้ของคอมพิวเตอร์
ระบบจับภาพ (Vision System)
การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้โดยอาศัยการมอง และการจดจำรูปแบบ เช่นการตรวจหาชิ้นส่วนที่บกพร่อง การให้คอมพิวเตอร์แข่งเตะบอล เป็นต้น
ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics)
เกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการนำไปใช้งาน ให้เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ โดยเฉพาะใช้งานที่เสี่ยงอันตรายแทนมนุษย์
เครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)
ระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน สร้างเรียนแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์ เป็นการทำกิจกรรมแบบขนานที่ทำงานพร้อมกัน เพื่อให้ได้คำตอบเดียว
6. ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยรักษาความรู้ที่อาจสูญหาย เมื่อผู้เชี่ยวชาญลาออก
ช่วยทำให้ข้อมูลมีคุณภาพ ที่จะนำไปใช้งาน
ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่
ช่วยแก้ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของมนุษย์ เช่น ความเมื่อยล้า ความสับสนหรืออารมณ์
ช่วยเป็นแหล่งสารสนเทศกับงานด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงพัฒนาสินค้า
7. การนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน การผลิต (Production)
การตรวจสอบ (Inspection)
การประกอบชิ้นส่วน (Assembly)
การบริการ (Field Service)
การซ่อมแซมอุปกรณ์ (Equipment Repair)
การตรวจสอบบัญชี (Auditing)
การคำนวณภาษี (Tax Accounting)
การวางแผนด้านการเงิน (Financial Planning)
การลงทุน (Investments)
งานบุคคล (Personnel)
การตลาด และการขาย (Marketing and Sales)
การอนุมัติสินเชื่อ (Credit Authorization)
การบริการของรัฐ (Human Services Agency)
การทำนายทางการแพทย์ (Medical Prognosis)
8. ระบบการได้มาซึ่งนวัตกรรม การตรวจหาความจริง (Investigation)
การตระเตรียม (Preparation)
การบ่มเพาะ (Incubation)
การทำให้ส่องสว่าง (Illumination)
การตรวจสอบยืนยัน (Verification)
การนำไปใช้ (Application)
ผู้สนับสนุน ยินดีรับ ผู้สนับสนุน เว็บไซต์ด้านการศึกษา
กลุ่มเว็บไซต์นี้ เริ่มพัฒนา พ.ศ.2542
โดยบุคลากรทางการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์
โทร. 081-9927223 (ผมเป็นคนลำปางหนา)
ปล. ขอไม่รับ work at home / อาหารเสริม
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน : 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป

เอกสารอ้างอิง #
[1] ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
"Imagination is more important than knowledge" - Albert Einstein
Home
Thaiabc.com
Thainame.net
Lampang.net
Nation University
PHP
MySQL
Visual basic.NET
TabletPC
Linux
Online quiz
Download
Search engine
Web ranking
Add website
Blog : IT & Media
Blog : ACLA
Blog : Education
Facebook.com
Twitter.com
About us
My dream
Site map
Sponsor
http://goo.gl/72BPC