ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
Home  Contents KMArticlesMembersSponsorsAbout us

ปรับปรุง : 2559-01-05 (ปรับ header)
10. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจความหมายของการตัดสินใจ
- เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ประเด็นที่น่าสนใจ
- swot
- Online Analytical Processing
- OLAP Cube
- บทก่อนหน้า | บทต่อไป
- บันทึกในบล็อก
- playlist 49 clips : MIS 2555
- playlist เฉลย office 150 ข้อ
1. ความหมาย วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ที่ที่องค์การต้องการจะไปให้ถึง
พันธกิจ (Mission) คือ อะไรที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์
กลยุทธ์ (Strategy) คือ ทำอย่างไรให้บรรลุพันธกิจ

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง แผนระยะยาวที่ถูกออกแบบมาให้เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เป้าหมายนั้นสำเร็จลุล่วง และมักสำเร็จด้วยดีจากการวิเคราะห์มาแล้วระยะหนึ่ง
เทคนิค (Tactics) หมายถึง แผนปฏิบัติการทันทีโดยใช้ทรัพยากรในมือมักเป็นส่วนของการเตรียมความพร้อม ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support system) หมายถึง ซอฟท์แวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟท์แวร์เดียวกัน
การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึง การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดเลือกทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือก ที่ได้มีการพิจารณาตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว
2. ขั้นตอนในการทำการตัดสินใจ
การระบุทางเลือกที่เป็นไปได้
คาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตที่เป็นไปได้
สร้างตารางผลของแต่ละทางเลือก
3. ลักษณะของแผนกลยุทธ์
แผนกลยุทธ์เป็นแผนระยะยาว เช่น 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี
แผนกลยุทธ์ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์/เป้าหมาย นโยบายและมาตรการ
มีกระบวนการแปลงแผนกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปี
เขียนแผนปฏิบัติการ (Action Plan with PI) ประจำปี ตามกลยุทธ์
4. ลำดับการเขียนแผนกลยุทธ์
เป้าประสงค์ (GOAL)
วิเคราะห์สวอท (SWOT Analysis)
เลือกกลยุทธ์และตัวชี้วัด (Select Strategy & KPI)
เขียนแผนปฏิบัติการ (Action Plan with PI)
วงจรเดมมิ่ง (PDCA with CQI)
CQI คือ การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
(CQI = Continuous Quality Improvement)
5. บทบาทผู้บริหาร และการตัดสินใจ การวางแผนกลยุทธ์
การวางแผนยุทธวิธี
การแก้ปัญหาเฉพาะ
6. กระบวนการตั้งกลยุทธ์ไอที
7. ตัวอย่าง แผนกลยุทธ์ + ม.อุบล คณะเกษตรศาสตร์ แผนกลยุทธ์ด้านการเงิน 49 - 54
+ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ สำนักคอมพิวเตอร์ (แผนยุทธ5054 และ แผนปฏิบัติ53)
- แผนยุทธ์มี วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย นโยบาย+มาตรการ และไม่มีส่วนของงบประมาณ
+ กระทรวงวิทย์ (แผนยุทธ5356 และ แผนปฏิบัติ53)
+ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (roadmap)
+ ธนาคารแห่งประเทศไทย
+ สวทช (Strategy Map + นโยบาย)
+ แผนกลยุทธ์ 52 - 56 คณะวิศวะ จุฬา
1. วิสัยทัศน์ หมายถึง สิ่งที่อยากเห็น
2. พันธกิจ หมายถึง สิ่งที่จะทำให้บรรลุวิสัยทัศน์
3. เป้าหมาย หมายถึง สิ่งที่วัดได้โดยขึ้นต้นด้วยคำว่าการประกันคุณภาพ
4. สรุปผลการวิเคราะห์ swot
5. ความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ หมายถึงแยกประเด็นที่ได้เปรียบด้านต่าง ๆ
6. บริบทของแผนกลยุทธ์ หมายถึง สรุปประวัติความเป็นมา
7. กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ ที่วาดเป็นแผนภาพได้
8. แนวคิดในการจัดทำแผนกลยุทธ์
9. รายละเอียดของแผนกลยุทธ์
ต.ย. 1 วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
"เป็นองค์กรที่เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคนและสังคมไทยอย่างยั่งยืน"
1. ให้กู้ยืมแก่นักศึกษาที่มีความประสงค์จะศึกษาในระดับอุดมศึกษา
2. ให้กู้ยืมแก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รายได้ครอบครัวไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี
3. ให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
4. ให้เงินให้เปล่าแก่นักเรียน นักศึกษาที่ยากจนและมีผลการเรียนดี
5. มีฐานข้อมูลของผู้กู้ยืม และผู้รับเงินให้เปล่า เพื่อใช้ในการบริหารงาน
6. ติดตามและเร่งรัดการชำระหนี้
7. จัดหาเงินทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและทุนเงินให้เปล่า
8. ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในภาพลักษณ์และบทบาทของกองทุนฯ

ต.ย. 2 วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
"วิสาหกิจไทยแข่งขันได้ในสากลบนฐานความสามารถทางเทคโนโลยี"
พันธกิจ : เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างโอกาสให้วิสาหกิจไทย โดย
1. บริหารจัดการเทคโนโลยีอย่างครบวงจร จากห้องปฏิบัติการสู่ตลาด และจากตลาดสู่ห้องปฏิบัติการ
2. ยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต/การบริการ และวิสาหกิจชุมชนโดยการให้บริการ ด้านเทคนิคด้านบริหารจัดการ และด้านการเงิน
3. สนับสนุนการจัดตั้งและบ่มเพาะธุรกิจใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน
4. พัฒนากำลังคนด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการเผยแพร่ความรู้ และสร้างความตระหนักด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญา
กลยุทธ์
1. นำร่องวิธีการใหม่ ขยายวิธีการที่โดดเด่น เน้นเห็นผลเร็ว
2. ผนึกกำลังหน่วยงานภายใน ประสานหน่วยงานภายนอกเป็นเครือข่าย
3. บ่มเพาะเทคโนโลยีและธุรกิจ พร้อมผลิต spin-off ตอบโจทย์ของประเทศ
4. เร่งสร้างความตระหนัก ฟูมฟักเด็กเก่ง เล็งผลทวีคูณ

ต.ย. 3 วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
"เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชีย ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต บริการวิชาการ และทำนุบำรุงวัฒนธรรม โดยมีการวิจัยเป็นฐาน"
พันธกิจ
1. พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นสังคมฐานความรู้บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมและหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้ผู้ใฝ่รู้ได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้ในหลากหลายรูปแบบ
2. สร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการในสาขาที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของภาคใต้ และเชื่อมโยงสู่เครือข่ายสากล
3. ผสมผสานและประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานประสบการณ์การปฏิบัติสู่การสอนเพื่อสร้างปัญญา คุณธรรม สมรรถนะและโลกทัศน์สากลให้แก่บัณฑิต

ต.ย. 4 วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
"สำนักบริการวิชาการ เป็นองค์กรชั้นนำที่มีคุณภาพด้านการบริการวิชาการ การวิจัย การบริหารจัดการในระดับสากล และจัดการศึกษาตลอดชีวิต"
พันธกิจ
เป็นหน่วยงานกลางที่ให้การสนับสนุนส่งเสริมและประสานงานให้ นักวิชาการของมหาวิทยาลัย ได้นำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ เพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ร่วมวิจัยและพัฒนา ทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลทางวิชาการที่เพียบพร้อม ด้วยคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยมีการประกันคุณภาพระดับสากล
8. เป้าหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS Goals) การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และแบบไม่มีโครงสร้าง (Semistructured and unstructured decisions)
ความสามารถในการปรับปรุงความต้องการที่เปลี่ยนไป (Ability to adapt changing needs)
ง่ายต่อการเรียนรู้ และนำมาใช้ (Ease of learning and use)
แสดงความแตกต่างระหว่าง DSS และ MIS
กิจกรรมDSS
Decision Support System
MIS
Management Information System
- หลักการการรวมเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ และภาษาที่ใช้การเตรียมสารสนเทศที่มีโครงสร้างให้แก่ผู้ใช้
- การวิเคราะห์ระบบอะไรที่ใช้ในกระบวนการตัดสินใจจำแนกสารสนเทศที่ต้องการ
- การออกแบบเกิดกระบวนการบ่อย แต่ไม่ซ้ำแบบการนำเสนอระบบพื้นฐานที่ต้องการแน่นอน
9. คลังข้อมูล (Data Warehouse) คลังข้อมูล หมายถึง ฐานข้อมูลเชิงบูรณาการ ที่มาจากการรวบรวมฐานข้อมูลหลายแหล่งและหลายช่วงเวลา ซึ่งอาจมีโครงสร้างฐานข้อมูล (Schema) แตกต่างกัน มาไว้ที่เดียวกัน แล้วใช้ Schema เดียวกันที่ปรับปรุงให้เหมาะกับการเรียกใช้บ่อยครั้ง
OLAP Cube คือ โครงสร้างข้อมูลที่ถูกออกแบบให้ประมวลผลเพื่อการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น ยอดขาย ยอดผลิต ยอดซื้อ เป็นต้น
OLAP (Online Analytical Processing) คือ การ denormalization ต่อข้อมูล โดยข้อมูลที่เก็บอยู่ภายใน CUBE จะถูกรวม (Consolidate) และคำนวณ (Calculate) แล้ว ทำให้เราสามารถมองชุดข้อมูล (Data Set) ในแต่ละมุมมองได้อย่างรวดเร็ว
เหตุผลที่ค้นข้อมูลในคลังข้อมูลแทนฐานข้อมูล
1. ความเร็ว
2. ความครอบคลุมของข้อมูลทั้งบริษัทที่มีอยู่ในคลังข้อมูล
ซอฟท์แวร์ด้าน OLAP
1. Cognos Business Intelligence
2. Microsoft SQL Server Analysis Service
3. Hyperion Essbase OLAP Server
ผู้สนับสนุน ยินดีรับ ผู้สนับสนุน เว็บไซต์ด้านการศึกษา
กลุ่มเว็บไซต์นี้ เริ่มพัฒนา พ.ศ.2542
โดยบุคลากรทางการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์
โทร. 081-9927223 (ผมเป็นคนลำปางหนา)
ปล. ขอไม่รับ work at home / อาหารเสริม
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน : 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป

เอกสารอ้างอิง #
[1] ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
"Imagination is more important than knowledge" - Albert Einstein
Home
Thaiabc.com
Thainame.net
Lampang.net
Nation University
PHP
MySQL
Visual basic.NET
TabletPC
Linux
Online quiz
Download
Search engine
Web ranking
Add website
Blog : IT & Media
Blog : ACLA
Blog : Education
Facebook.com
Twitter.com
About us
My dream
Site map
Sponsor
http://goo.gl/72BPC