ภัทรา มาน้อย
เว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) : thaiall.com | thaiabc.com
ปรับปรุง : 2559-07-14 (เพิ่ม มหาวิทยาลัยลำปาง)
รวมบทความ และเอกสารที่รับจาก ภัทรา มาน้อย
+ (ใหม่) ข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
+ จัดอบรมเขียนรายงานส่ง cbpus จิ๊บ
+ แนวแผนดำเนินงาน 2553 + แผนพับ + แบบตอบรับ
+ ยุทธศาสตร์การสื่อสาร บทเรียนและรูปแบบการสื่อสารที่เกิดพลัง
+ บทเรียน social mapping
+ ฟื้นฟูฐานภูมิปัญญา โคมบ้านวังหม้อ ผ่าน ศูนย์เรียนรู้เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญา
+ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับวิวัฒนาการของเยาวชนบ้านสา
+ โรงเรียนพัฒนาชีวิต สร้างคน สร้างอนาคต รัตติกร บุญมี
+ วิกฤติ แรงต้าน ผ่านอุดมการณ์กลุ่มสภาเด็กบ้านสา ลำปาง นรากรณ์ คำลือ
+ สรุป 6 โครงการเตรียมสัมมนา
+ งานวิจัยกับวิวัฒนาการของเยาวชนบ้านสา
+ อ.เมืองปานปรับหลักสูตรเพศศึกษาให้สอดคล้องกับปัญหาเด็กท้องในวัยเรียน
+ วิวัฒนาการดนตรีงานศพ : บันเทิง ไว้อาลัย ค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง
+ พุทธพลัง : สืบตำนานการแห่โคมเข้าวัด
+ ปริศนาแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
+ ระบบคิดศึกษาผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
+ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดลำปาง
+ ความรู้ในตัวคน
+ สังเคราะห์วิธีคิดแบบวิจัยท้องถิ่นเพื่อปรับใช้กับการทำงานชุมชน
+ ความยากจนในชุมชนบ้านแลง : สาเหตุและแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้
+ เวทีวันที่ 10 : พลังแห่งการเรียนสู่ผลที่ได้ใจที่หว่าน
+ ศูนย์ประชาพิจัยและพัฒนาเพื่ออำเภอห้างฉัตร
+ วิจัยชาวบ้าน : อหังการแห่งภูมิปัญญา
+ การจัดการความรู้อย่างอิสระ: น้ำแม่ตาน แหล่งอาหาร แหล่งวัฒนธรรม
+ จิตวิญญาณครูแท้ กับความเข้มแข็งของชุมชน
+ นิยามความรู้ คือ คนรู้ และคนใช้ประโยชน์
+ พญาท้ายน้ำ สืบสานตำนานแห่ช้างเผือก
สไลด์ประกอบการอบรม [download]
เทคนิคการเขียนรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย
โดยเทคนิค SMART BOX
สำหรับโครงการ การบริหารจัดการขยะอินทรีย์ด้วยไส้เดือนดิน
มี 7 สไลด์ แต่จะเข้าใจคงต้องทำกิจกรรมกันเยอะเลย
ภัทรา มาน้อย
ผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
จังหวัดลำปาง

email: vijailampang@yahoo.com
email: pmanoi@hotmail.com
+ vijailampang.hi5.com
+ facebook : ภัทรา
+ facebook : สกว.ลำปาง
+ www.oknation.net/blog/vijailampang2/
ทีมงานในศูนย์ฯ
- คุณนภาพร งามสม (ปุ๋ย)
- คุณอัญมณี แสงแก้ว (โบว์)
ที่ทำงาน ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง (สกว.ลำปาง) ลักษณะงานคือ ดูแลและพัฒนาโครงการวิจัย ให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดลำปาง โครงการหมายถึงโครงการที่พื้นที่ได้เสนอ เพื่อขอรับทุนในการแก้ไขปัญหา โดยมีการตั้งคำถามร่วมกันของชุมชน และแสวงหาทางออก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ มีงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือ เพื่อแสวงหาคำตอบร่วมกัน

หลักสูตร การวาดภาพเพื่อการสื่อสารและแผนที่มโนทัศน์
17 ก.ค.53 เข้าอบรมการวาดเพื่อการสื่อสาร และ การเขียนแผนที่มโนทัศน์ (CMAP = Concept mapping) ณ ห้องประชุม 2 กศน.ภาคเหนือ จัดโดยสถาบันนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้ชุมชน (Community Learning Process Innovation Institute)ในวันนี้มีหลายกิจกรรมเกิดขึ้นที่พอสรุปได้มีดังนี้ 1) เป้าหมายสี่ส่วน 2) เรียงคำย้อนกลับ 3) สี่วงกลมเป็นภาพ 4) การวาดตัวแทน อารมณ์ แขนขา สถานที่ และเส้น 5)วาดภาพนิยาย 6) แผนที่มโนทัศน์
คุณภัทรา มาน้อย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลักสูตรการวาดเพื่อการสื่อสาร มีองค์ประกอบของหลักสูตรประกอบไป ด้วย 1) กิจกรรมการสร้างจินตนาการ : โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการทำ งานของสมองซีกขวา โดยการดึงจินตนาการจากจิตใต้สำ นึกผ่านกิจกรรมการวาดวงกลม 4 วงให้สัมพันธ์กันและการฟังเพล งสื่อความหมาย ทั้งนี้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความมั่นใจในการใช้จินตนาการของตนเอง 2) กิจกรรมการฝึกทักษะ/เทคนิค/วิธี การวาดรูป: โดยมีเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วมนำ เทคนิคที่ได้เรียนรู้ไปผนวก กับจินตนาการที่มี ผ่านการเติมทักษะการวาดรูปร่าง หน้าตา อารมณ์ สถานที่ อาชีพ และการใช้เส้น ลูกศร 3) กิจกรรมการฝึกทักษะการสื่อสาร : โดยเน้นหลักการฟัง จับใจความ และการวาดเพื่อการสื่อสาร ผ่านกิจกรรม นิทานสร้างภาพ 4) กิจกรรมการนำแนวคิดการวาดเพื่อ การสื่อสารไปปรับ : โดยเติมเต็มแนวคิดการทำ CMAP (Conceptual Mapping) เช่น แบบใยแมงมุมหรือดาวกระจาย แบบช่วงชั้นของความคิด แบบ Flow ของงานก่อนหลัง แบบเชิงระบบหรือเชื่อมโยง แบบแผนภาพ และ แบบสามมิติ
การวาดแผนที่มโนทัศน์มีรูปแบบการวาด 6 แบบ ดังนี้ 1) แบบใยแมงมุมหรือดาวกระจาย คล้ายแผนที่ความคิด 2) แบบช่วงชั้นของความคิด คล้ายแผนผังองค์กร 3) แบบโฟลของงานก่อนหลัง คล้ายวงจรพีดีซีเอ หรือขั้นตอน 4) แบบเชิงระบบหรือเชื่อมโยง คล้ายกระบวนการแบบไอพีโอ 5) แบบแผนภาพ คล้ายแผนภาพที่เชื่อมโยงกัน 6) แบบสามมิติ คล้ายความสัมพันธ์ของจังหวัด และมีภาพที่ทีมงานเผยแพร่จำนวน 125 ภาพ
รวมภาพhttp://www.thaiall.com/research/manoi530717/
บันทึกโดย บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
วัตถุประสงค์การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยลำปาง
1 ก.ค.53 ผมได้รับอีเมลจาก คุณภัทรา มาน้อย เห็นว่าน่าสนใจ และเป็นบทเรียนที่ดี โดยผู้สนใจได้ร่วมกลุ่มพูดคุยกันในวันที่ 28 มิ.ย.53 ที่ผ่านมา จึงประเด็นวัตถุประสงค์มาเผยแพร่ซึ่งมีใจความดังนี้
ตามที่ทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปางร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการศึกษาในจังหวัดลำปาง เพื่อหารือแนวทางการเคลื่อนงาน"มหาวิทยาลัยลำปาง"โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ
1) ค้นหารูปแบบของการทำงานร่วมกันเชิงการบูรณาการศาสตร์ของการศึกษาจังหวัดลำปางโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (ใช้แนวคิดหลักสูตรบูรณาการระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาการเกษตรเป็นตุ๊กตาของการชวนคุย) ในเบื้องต้นการพูดคุยเพื่อค้นหารูปแบบการทำงานร่วมกันมีผู้เข้าร่วมที่มาจากสถาบันการศึกษาทั้ง ม.โยนก มรภ. มทร. กศน. มจร.และ สถาบันวิจัยและฝึกอบรมฯ เข้าร่วมเสนอแนวคิดและแลกเปลี่ยนประเด็นรวมถึงการตั้งข้อสังเกตของการดำเนินงานร่วมกันมากมายซึ่งทางศูนย์ประสานงานฯจะจัดทำสรุปเพื่อจัดส่งให้เครือข่ายต่อไป
2) สร้างรูปธรรมของแนวคิดงาน “มหาวิทยาลัยลำปาง” ให้เกิดเป็นแนวทางการบูรณาการการใช้ฐานของความรู้ในแต่ละระดับเพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวทางของการศึกษาที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง ในเบื้องต้นจากการประชุมมีแนวทางของรูปธรรมการดำเนิน 3 แนวทางคือ 1)แนวทางในการทำงานร่วมกับสถาบันคลังสมองของชาติ ซึ่งมีเป้าหมายในการให้เครือข่ายทำงานในลักษณะของการนำไปสู่การสร้างวิธีปฏิบัติร่วมที่ชัดเจนและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น หลักสูตร วิธีการสอน ความร่วมมือระหว่างสถาบัน เพื่อนำเอาสิ่งที่ได้นำเสนอต่อในเชิงนโยบาย 2) แนวทางของสกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ใช้ฐานคนเป็นตัวตั้งเพื่อตอบสถานการณ์ปัญหาทางการศึกษาที่เป็นความต้องการของคนลำปางหรือตัวแทนของสถาบันร่วมกันตั้งคำถาม (Model ดร.สมคิด) ซึ่งอาจใช้ประเด็นเป็นตัวขับเคลื่อน เช่นประเด็นเกษตร หรืออื่นๆ โดยศูนย์ประสานงานฯเสนอให้เป็นการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดลำปาง โดยเน้นพื้นที่เป็นตัวตั้ง 3) ใช้กรอบModel ของดร.สาวิตรเพื่อขับเคลื่อนผ่านงาน ABC (งานวิจัยเพื่อพัฒนาทั้งพื้นที่ของสกว.กลาง) ซึ่งทั้ง 3 แนวทางจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
3) ช่องทางของการเคลื่อนงานของเครือข่ายการศึกษาจังหวัดลำปางร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นศูนย์ประสานงานวิจัยฯ รับเป็นตัวกลางในการประสานการประชุมในครั้งต่อไป และเตรียมข้อมูลพื้นที่วิจัยที่จะใช้เป็นแนวทางของการดำเนินงานต่อไป
ทั้งนี้ในการประชุมทำให้เห็นบรรยากาศของการทลายกำแพงของนักวิชาการ ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีของอนาคตการศึกษาจังหวัดลำปางที่จะได้สร้างรูปแบบของการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้พื้นที่จังหวัดลำปางเป็นตัวตั้ง ในฐานะของผู้ร่วมก่อการขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสำคัญและเห็นว่าแนวทางดังกล่าวเป็นเรื่อง "หน้าหมู่" ซึ่ง ผอ.ปิยะวัติและอีกหลายท่านได้ให้ความเห็นตรงกันว่า "ไม่สามารถทำเองได้ ต้องอาศัยเครือข่าย"
+ http://www.thaiall.com/blog/burin/1923/
2550-02-08 ดึงสารสนเทศออกมาจากบทความของ ภัทรา มาน้อย (ผู้ประสานงานศูนย์ส่งเสริมการวิจัยภาคเหนือ จังหวัดลำปาง)
เรื่อง สังเคราะห์วิธีคิดแบบวิจัยท้องถิ่นเพื่อปรับใช้กับการทำงานชุมชน น.19 - 23 (ตีพิมพ์ในวารสารโยนก ปีที่ 2 ฉบับเดือนมกราคม 2550)
ผมสรุป หรือคัดลอกบางส่วน ออกมาได้ดังนี้
1. อดีตมีเรื่องเล่าเตือนใจ เรื่องผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม รัฐบาลก็สั่งให้ชาวนาเลี้ยงเป็ด และสุกร อย่างไม่เข้าใจ เป็นตัวอย่างความล้มเหลวทางความคิด ของภาครัฐ ที่ทำให้ภาคประชาชนล้มเหลวอย่างเป็นระบบ 2. ปัจจุบันเรายึดตำราฝรั่ง เด็กได้ความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างทะลุทะลวง แต่ไม่รู้วิธีป้องกัน เพราะครูเองก็ยังไม่รู้วิธีป้องกัน และมีปัญหาให้เห็นในหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งบ่อยครั้ง 3. หมอจรัส สุวรรณเวลา เล่าเรื่อง เต่ากับกระต่าย ในปัจจุบัน ที่กระต่ายรู้จักขุดหลุมพลางเต่า ส่วนเต่าก็จะไม่เดินตามกระต่าย แต่หาวิธีใช้จุดเด่นของตนเอง ในการเอาชนะ 4. ประสบการณ์ด้วยวิธีชวนคุย คล้ายการทำแกงโฮ๊ะ ทำให้เกิดการสังเคราะห์โดยธรรมชาติ 5. เห็นแนวคิดการศึกษาของ กศน. กับของมหาวิทยาลัย พบคำว่า มาตรฐานเทวดา 6. งานวิจัยเป็นเพียง เครื่องมือในการสร้างระบบคิด ระบบคน ระบบความรู้ และระบบงาน โดยผลที่เกิดขึ้นคือ ความรู้ใหม่จากการสังเคราะห์ความรู้ทั้งหมด ได้คนรู้มากขึ้น ทำมากขึ้น และที่สำคัญคือ ปัญญา เพื่อแสดงหาคำตอบบางประการอย่างมีทิศทางเดียวกัน โดยตัวชี้วัดจากผู้เรียน ไม่ใช่มาตรฐานเทวดา 7. คำว่า การคิดอย่างวิจัย ใช้คลำแต่ละส่วน เช่น ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน หรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา การคิดอย่างวิจัย อาจได้มาซึ่ง การทำแผนที่คนรู้ (Human Mapping : HM) การทำ HM จึงเป็นการเคารพความรู้ในตัวคน และภูมิปัญญาท้องถิ่น 8. พันธกิจหลักของ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น - ติดต่อ แสวงหาผู้สนใจร่วมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น - ติดตามสนับสนุนโครงการที่ดำเนินอยู่ - เชื่อมโยงงานวิจัยในพื้นที่กับงานอื่น - ยกระดับความรู้ และขยายผล 9. โจทย์วิจัยถูกกำหนดโดยคนในชุมชน และร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา ผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ความรู้จากภายในท้องถิ่น + ความรู้จากภายนอกท้องถิ่น

Social Mapping = 1) Social 2) Map 3) Ing
ผู้สนับสนุน ยินดีรับ ผู้สนับสนุน เว็บไซต์ด้านการศึกษา
กลุ่มเว็บไซต์นี้ เริ่มพัฒนา พ.ศ.2542
โดยบุคลากรทางการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์
โทร. 081-9927223 (ผมเป็นคนลำปางหนา)
ปล. ขอไม่รับ work at home / อาหารเสริม

แนะนำเว็บใหม่ : ผลการจัดอันดับ
รักลำปาง : thcity.com : korattown.com : topsiam.com : มหาวิทยาลัยเนชั่น
ศูนย์สอบ : รวมบทความ : ไอทีในชีวิตประจำวัน : ดาวน์โหลด : facebook.com
ติดต่อ ทีมงาน ชาวลำปาง มีฝันเพื่อการศึกษา Tel.08-1992-7223