หลายโอเอส หลายระบบปฏิบัติการ หรือ มัลติโอเอส ( Dual Boot หรือ Multi OS )

ปรับปรุง : 2555-10-04 (เพิ่ม ntldr)
ความรู้ของผมได้จากการอ่าน .. และลองผิดลองถูก (เมื่อวานก็ยังลองผิดเลยครับ)
แรก ๆ ผมศึกษาเรื่องนี้แบบลองผิดลองถูก ต่อมาได้หนังสือที่ทำให้ผมมั่นใจ ชื่อ การลงหลาย OS ในเครื่องเดียวกัน เขียนโดย จีราวุธ วารินทร์ และ พีรณัฐ ทองโยธี ของ infopress ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ Partition การติดตั้ง MAC ใน PC หรือจบด้วยเรื่องของ Virtual PC นอกจากนี้ยังมีหนังสือลักษณะนี้อีกหลายเล่มตามร้านหนังสือ .. ถ้าคิดจะลงหลาย OS และยังไม่มั่นใจพอ ให้ไปหาหนังสือประเภทนี้มาหลาย ๆ เล่ม แล้วอ่านหลาย ๆ รอบ .. น่าจะดี
Dual boot คือ ระบบปฏิบัติที่มีอย่างน้อย 2 ระบบปฏิบัติการในเครื่องเดียวกัน
ข้อดีของ Dual boot
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่อง เมื่อต้องการความสามารถของระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน
ข้อเสียของ Dual boot
- สิ้นเปลืองเนื้อที่ใน Harddisk
- ถ้าระบบแฟ้มต่างกัน จะมองไม่เห็นกัน Win98 มองไม่เห็น NTFS ของ WinXP เป็นต้น
- ใช้งานได้ทีละ 1 ระบบปฏิบัติการเท่านั้น แต่ถ้าใช้ Virtual PC จะใช้ได้หลายระบบปฏิบัติการได้พร้อมกัน
VirtualBox
VirtualBox is a powerful x86 and AMD64/Intel64 virtualization product for enterprise as well as home use. Not only is VirtualBox an extremely feature rich, high performance product for enterprise customers, it is also the only professional solution that is freely available as Open Source Software under the terms of the GNU General Public License (GPL).
Presently, VirtualBox runs on Windows, Linux, Macintosh, and Solaris hosts and supports a large number of guest operating systems including but not limited to Windows (NT 4.0, 2000, XP, Server 2003, Vista, Windows 7), DOS/Windows 3.x, Linux (2.4 and 2.6), Solaris and OpenSolaris, OS/2, and OpenBSD.
+ https://www.virtualbox.org/
+ http://www.thaiall.com/blog/burin/713/
+ DOSBOX Megabuild 6
1. ประสบการณ์ 3 OS ( 22 พฤษภาคม 2548)
ทดสอบกับ Celeron 533 MHz Ram 64 MB HD 13.6 GB ผลคือ XP ไม่มีปัญหา เร็วใช้ได้
1. วางแผน และติดตั้งโปรแกรมหลัก
    - มี Windows98 ในเครื่อง ต้องการเพิ่ม WindowsXP ใน Drive D และ Redhat 9.0 ในส่วน Unallocated - Scan Disk เพื่อแก้ไขจุดผิดพลาด ใน Harddisk - Defragmentation เพื่อจัดเรียง sector ทั้งหมดใหม่ (ถ้าไม่ทำจะไม่สามารถเปลี่ยนขนาดของ Partition ได้) - ติดตั้ง Partition Magic ใน Windows98 เพื่อใช้แบ่ง Partition ได้ง่าย
2. แบ่ง Partition ด้วยโปรแกรม Partition Magic ใน Win98
    - ใช้ Partition Magic แบ่ง Harddisk ออกเป็น Drive C และ Drive D และ Unallocated - กำหนดทั้ง C และ D เป็น Fat32 เพราะทำให้ XP และ 98 อ่านแฟ้มทั้ง 2 Drive ได้อย่างไม่มีปัญหา - การกำหนดเป็น Fat32 หลัง resize คือ การใช้ Right click แล้วเลือก Create - กดปุ่ม Apply จะ Reboot แล้วนั่งรอจนกระทั่งเปลี่ยนขนาดเสร็จ [ ตัวอย่าง Partition ]
3. ลงมือติดตั้ง WindowsXP
    - หลัง Boot เข้า Windows98 ตามปกติ ให้ใส่ CD เพื่อติดตั้ง WindowsXP จะเข้าสู่ Auto run เพื่อ install - ก่อนใส่ CD อย่าลืมปิดการทำงานของ Anti Virus(เช่น McAfee) ก่อน มิเช่นนั้นจะติดตั้ง WindowsXP ไม่ได้ - เลือก New Installation (Advanced) ไม่ใช่ Upgrade (Recommended) เพราะเราจะลง XP ใน Drive D อีก 1 OS - กรอก CD-KEY แล้วก็เลือก Thai พร้อมเลือก Install support for East Asian Languages - เลือก No, skip this step and continue installing Windows เพราะไม่ต้องการ download the updated Setup files - จากนั้น ก็รอสักครู่ แล้วเครื่องจะ Reboot เพราะนี่เป็นเพียงขั้นเตรียมการ - หลัง Reboot ก็เลือก Windows XP setup เพราะถ้าเลือก Windows ก็จะเข้าไปที่ Windows98 ตามปกติ - มีการถามว่าจะติดตั้งใน Drive อะไร ท่านต้องเลือก Drive D แต่ถ้าไม่มี Drive D ต้องกลับไปทบทวนทุกอย่างใหม่นะครับ - โดยปกติจะเลือก Leave the current file system inact เพราะกำหนดเป็น Drive D และเป็น Fat32 อยู่แล้ว - จากขั้นตอนนี้ไปก็รออีกเกือบชั่วโมง ... จนเสร็จก็จะ Reboot เข้า WindowsXP
4. เข้า WindowsXP ครั้งแรก
    - จอมืดไปหมด (กรณีมีปัญหา ถ้าไม่มีปัญหา ก็เข้าได้ตามปกติ ใช้งานได้เลย) - ต้อง restart เครื่องใหม่ แล้วเลือกเข้า Save mode จากนั้นก็เข้าไปแก้ Adapter driver ของ Display - ตอนเปิดเครื่องจะแสดงปี copyright เป็น 1985 - 2001 แสดงว่าเป็น XP Service Pack 1 - ยกเลิก MSN messenger ที่มีมากับ WindowsXP ด้วยการไม่เลือก Run this program when Windows starts - ถ้า exit MSN โปรแกรม msmsgs.exe จะหายไปจาก Task Manager - ยกเลิก Restore ด้วย Control Panel, Performance and Maintenance, System, System Restore แล้วเลือก Turn off - หลังยกเลิกตรวจสอบ Free space จะเห็นเนื้อที่เพิ่มขึ้นมา มาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับการใช้งาน - ยกเลิก Screen Saver และยกเลิกการตั้งเวลา Turn off monitor เช่นกัน
5. ติดตั้ง Red Hat 9.0 เป็นระบบที่สาม (เลือกเขียนเฉพาะขั้นตอนที่สำคัญ)
    - ผมวางแผนแต่แรกแล้วว่า จะลง Linux Red Hat 9.0 เป็น OS สุดท้าย หรือตัวที่สาม สำหรับพื้นที่ที่เหลือ - Boot ด้วย CD ของ Red Hat - เลือก Server, Automatically Partition, Keep all partitions and use existing free space - เลือก Red Hat Linux เป็น Default สำหรับการ Boot - เลือก No Firewall - กรอก Root Password และ Confirm - เลือก Package group selection ( 910 MB ) ผลการติดตั้งแผ่นแรกใช้ไป 877 MB ถึง xfree86 : Text-based internet : Server configuration tools : web server : mail server : windows file server : DNS name server : FTP server : Network servers : Administration tools : X windows System - หลังติดตั้งเสร็จ สามารถเข้า xwindows ด้วยคำสั่ง startx แต่พบว่าลืมเลือก package ไป 1 ตัว คือ KDE จึงต้องเพิ่ม package ใหม่
6. ติดตั้ง Package เพิ่มเติม ที่มีมากับ CD ของ Red Hat
    - Boot ด้วย CD ใหม่ - เลือก Customize package to be upgraded - skip boot loader updating - เพิ่มในตัวเลือก Desktops ( 169 MB ) : KDE addons : KDE admin : KDE artwork : KDE base
2. พาร์ติชัน (Partition)
    แบบของ Partition (Type of Partition) 1. Primary Partition เป็น Partition พื้นฐานที่ใช้กันทั่วไป 2. Extend Partition ประกอบด้วย Logical drive หลาย drive รวมกัน แต่ไม่เกิน 3 drive จากหนังสือของ จีรวุธ วารินทร์ และพีรณัฐ ทองโยธี เรื่อง ลงหลาย OS ในเครื่องเดียว หน้า 22 และ 23 ทำให้ทราบว่า สามารถแบ่ง Primary 3 Partition และ Extend Partition อีก 1 Partition ในส่วนของ Extend Partiton แบ่งได้อีก 3 Partition สรุปว่าแบ่งได้ถึง 6 Partition หรือ 6 Drives
    ข้อจำกัดเกี่ยวกับ Partition 1. Harddisk 1 ตัว แบ่งได้สูงสุด 4 Partition (ประกอบด้วย 3 Primary Partion + 1 Extend Partition) 2. Harddisk 1 ตัว มีได้เพียง 1 Extend Partition 3. Extend Partition สามารถแบ่งได้อีก 3 Partition 4. บาง OS สามารถมี Primary Partition ได้เพียง 1 เดียว แต่ Win2000 ขึ้นไป สามารถเห็นหลาย Primary Partition ได้แล้ว

[ partition1.gif | partition2.gif ]
3. ระบบไฟล์ (File System)
FAT(File allocation table) รองรับ partition ขนาดไม่เกิน 2 GB
FAT32(File allocation table 32) ไม่สนับสนุนโปรแกรมรุ่นเก่า
NTFS(New technology file system) ออกแบบกับ WinNT 4.0
HPFS(High performance file system) ของ OS/2
NFS (Netware file system) มีความปลอดภัยสูงเหมือน NTFS แต่ไม่นิยมแล้ว
Linux Ext2, Ext3 and Linux swap
4. ระบบปฏิบัติการ Windows
1981 MS ซื้อ Seattle computer
1985 Windows 1.01
1989 Windows NT(New technology)
1993 Windows NT 3.1
1994 Windows NT 3.5
1995 Windows 95
1996 Windows NT 4.0
1998 Windows 98
2000 Windows 2000
2000 Windows ME
2001 Windows XP
จีนประกาศให้ Linux เป็น OS แห่งชาติ
5. ตัวอย่าง
5.1 ตัวอย่างการติดตั้ง 4 OS ในเครื่องเดียวกัน
    1. ติดตั้ง winXP 2. ติดตั้ง Partitionmagic และ bootmagic 3. ลดขนาด partition ของ xinXP 4. สร้าง Primary partition เพิ่ม 5. ใส่ win98 และ win2000 ในเมนูของ bootmagic 6. ติดตั้ง win98 7. ใช้แผ่นฉุกเฉินของ bootmagic สั่งให้ bootmagic กลับมา 8. ติดตั้ง win2000 9. ติดตั้ง Linux 10. เพิ่มชื่อ linux ใน bootmagic
5.2 ตัวอย่าง boot.ini ของ Windows XP Control Panel, System, Advanced, Startup and Recovery, Edit
    [boot loader] timeout=5 default=multi(0)disk(0)rdisk(0)partition(1)\WINNT [operating systems] multi(0)disk(0)rdisk(0)partition(1)\WINNT="Microsoft Windows 2000 Professional" /fastdetect c:\linux.bin="Linux"
5.3 ตัวอย่าง boot.ini ของ Windows XP (อีกแบบ)
    [boot loader] timeout=5 default=multi(0)disk(0)rdisk(0)partition(3)\WINNT [operating systems] multi(0)disk(0)rdisk(0)partition(3)\winnt="NT Workstation 4.00 SP3" multi(0)disk(0)rdisk(0)partition(3)\winnt="NT Workstation 4.00 SP3 [VGA mode]" /basevideo /sos C:\="Windows 95" C:\linuxsect.lnx="Linux"
5.4 แนะนำเว็บ (Web Guides)
    - http://www.harrrdito.it/windows/boot_ini.asp มีภาพประกอบดีมาก - http://www.dissoft.com/Bootpart-993.html Boot part สำหรับ XP - http://www.geocities.com/thestarman3/asm/mbr/MBR_in_detail.htm อธิบาย MBR ได้ดี
6. ปัญหาเมื่อ Boot เข้า OS บางตัวไม่ขึ้น
    6.1 ครั้งหนึ่งลบแฟ้มที่สงสัยว่าเป็นไวรัสชื่อ ntdetect.com จาก root directory ทำให้เข้าไปยังส่วนที่ boot ด้วย Windows98 ไม่ได้ และมี boot.ini อยู่ จึงต้องคัดลอก 2 แฟ้มข้างล่างนี้ไปไว้ใน root directory copy d:\i386\ntldr c: copy d:\i386\ntdetect.com c: ก็แก้ปัญหาเรื่อง NTLDR is Missing ขณะ boot เข้า Windows98 ไม่ได้ http://www.computerhope.com/issues/ch000465.htm 6.2 การใช้ fixboot หรือ fixmbr อาจช่วยได้ในบางกรณี http://www.windowsnetworking.com/articles_tutorials/wxprcons.html Cause: 1. Computer is booting from a non-bootable source. 2. Computer hard disk drive is not properly setup in BIOS. 3. Corrupt NTLDR and/or NTDETECT.COM file. 4. Misconfiguration with the boot.ini file. 5. Attempting to upgrade from a Windows 95, 98, or ME computer that is using FAT32. 6. New hard disk drive being added. 7. Corrupt boot sector / master boot record. 8. Seriously corrupted version of Windows 2000 or Windows XP. 9. Loose or Faulty IDE/EIDE hard disk drive cable.
7. วิธีกลับมาใช้ XP สำหรับผู้ที่ติดตั้งแบบ Dual Boot อย่างถูกต้องและปลอดภัย 
จาก ! http://www.itmodclub.com/forums/showthread.php?p=220  (Tips #13)
ผู้ ที่จะทดลองใช้ Vista โดยติดตั้งคู่กับ XP โดยติดตั้งแบบ Dual Boot ผมบอกไว้ก่อนจะมีปัญหาในการจะกลับมาใช้ XP โดยที่ ไอ้เมนูที่ให้เลือกการบูต 
มันไม่หายง่ายๆ ครับ ถึงจะ format หรือ ลบ partition ที่ลง Vista ออกแล้ว เพราะการทำเช่นนั้นมันผิดวิธี ปกติ XP ทำ dual Boot กับตัวอื่น เช่น ME 
หรือ 98 เมื่อจะทำให้เหลือแค่ XP นั้นทำได้ง่าย เพียงไปแก้ไฟล์ Boot.ini แล้วตามลบ Partition ของ ME หรือ 98 ได้ แต่สำหรับ Vista ไม่ได้ครับ 
เพราะมันไม่ได้ใช้ Boot.ini เป็นตัวกำหนดOSในการบูต....วันนี้ผมเอาวิธีการที่ถูกต ้องมาบอก 
1.ให้คุณบูตเครื่องและเลือกทำงานที่ XP 
2.เอาแผ่น Vista ใสไว้ใน cd หรือ DVD ของคุณ (แผ่น setup ) 
3.ไปที่ Start > Run พิมพ์คำสั่งตามนี้ X:\boot\bootsect.exe /nt52 ALL /force ( X: คือ CD ของคุณ) แล้ว Enter 
4.เมื่อทำเสร็จแล้วก็บูตเครื่องใหม่ เมนูเลือก OS จะหายไปเครื่องคุณจะบูต XP แทนครับ 
คราว นี้ก็จะทำอะไรกับ partition ที่ลง Vista ก็ทำได้แล้วครับ .....อ้อ...เกือบลืมให้คุณย้ายไฟล์ Boot.BAK และ Bootsect.BAK ออกจาก ไดรฟ์ C: ที่
ลง XP ไปไว้ที่อืนด้วย มันเป็น backup file ของ Bootloader เดิมครับ 
ทิปเพิ่มเติม : เอา Vista กลับมา 
ใน กรณีที่คุณเปลื่ยนใจอยากเอา Vista กลับมา แต่คุณต้องยังไม่ไปทำอะไรกับ Partition ที่ลง Vista นะครับก็ให้คุณทำวิธีเดิม เพียงแต่เปลื่ยน option ของ คำสั่ง
- จาก X:\boot\bootsect.exe /nt52 ALL /force 
- มาเป็น X:\boot\bootsect.exe /nt60 ALL /force เท่านี้ Vista ก็จะกลับมาเหมือนเดิมครับ 
8. ยกเลิกรหัสผ่านสำหรับเข้า Windows
    วิธีแก้ปัญหาลืมรหัสผ่านเข้า windows + http://www.ubcd 4 win.com/downloads.htm + http://www.login recovery.com
9. เล่าเรื่องการจัดการ dual boot กับ 3 OS
    บันทึกไว้ช่วยจำ 1 มิ.ย.57 ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่มา 1 เครื่องราคา 14,300 บาท Motherboard H81M-D ที่ร้านเปลี่ยนให้ใหม่ เพราะตัวแรกมีปัญหาจอลาย CPU Intel G3240 3.1GHz และจอภาพ 18.5 นิ้ว RAM Kingston 4 GB การเพิ่มเป็น 8 GB จะต้องจ่ายเพิ่ม จึงไม่เพิ่ม Hardisk 1 TB และมี 2 LAN คือ Realtex และ D-Link ผมสนใจเรื่องนี้ เพราะหัวหน้าเล่าให้นักศึกษาฟัง ก็อยากมีประสบการณ์แบบลูกศิษย์บ้าง และสนใจเรื่องของ 3 OS ที่แยกกันอิสระคือ win7, win8, ubuntu server แยกเป็นประเด็นที่สนใจไว้ดังนี้ 1. แบ่ง partition ตอนที่ร้านแบ่ง partition มาให้ แยกเป็น 3 ส่วน ๆ ละประมาณ 300 GB ผมพยายามไม่ปรับอะไร แต่พบปัญหาว่าจะไม่มีห้องเก็บข้อมูล และยังใช้ไม่ครบ 4 partiton ซึ่งคอมพิวเตอร์ทั่วไปรองรับการแบ่ง partion ได้เพียง 4 เท่านั้น สำหรับ 1 harddisk พอใช้โปรแกรมลดขนาด partition หลังลงไปทั้ง 3 OS พบว่าระบบการจัดแบ่งเสีย แต่ก็ไม่คิดจะกู้คืน จึงเริ่มต้นใหม่ สรุปว่า ต้องมาแบ่งเอง และถ้าไม่จำเป็นอย่า resize partition ที่มีข้อมูล 2. 100MB กับ 100GB ในการแบ่ง partiton ด้วย win7 ซึ่งผมตั้งใจให้เป็น first partiton พบว่าจะมี System Reserved Partition ขนาด 100MB ขึ้นมาเสมอ เป็นผลให้แบ่งได้อีกเพียง 3 partiton จึงต้องทำให้ 100MB หายไป 2.1 ถ้าแบ่งไวั 90GB จะมี extend option ให้รวม 100MB กับ 90GB สรุปว่าสามารถทำให้ 100MB หายไปด้วยการใช้ extend 2.2 ถ้าแบ่งไว้ 100GB จะไม่สามารถรวม 100MB กับ 100GB ได้ แต่ไม่พบปัญหาจำกัดขนาดกับ partition อื่น 2.3 ถ้าไม่แบ่ง partiton ตอนที่ติดตั้งครั้งแรก แต่แบ่งหลังติดตั้ง windows ไปแล้ว ก็น่าจะมีอิสระในการจัดการ ด้วย partition magic เหมือนที่ร้านแบ่งมาให้เป็น 300GB ทั้งหมด 3 ส่วน สรุปว่า ผมได้ first partition ขนาดไม่เกิน 100 GB 3. motherboard รุ่นใหม่ ปัญหาการแสดงผล (VGA) จะไม่เกิดขึ้น ถ้าลง win7 กับ win8 เท่านั้น แต่พบปัญหาถ้าลง 3 OS และใช้ grub เป็นตัวจัดการ ซึ่งพบในขณะที่เปลี่ยน os จาก linux เป็น windows ใน loader ปัญหานี้คาดว่าเป็นที่ผมไม่ได้ลง driver ให้ครบ ใน windows ทุกรุ่น เพราะหลังจากถอดใจเปลี่ยนจากที่ใช้ grub เป็นตัวหลัก ไปใช้ loader ของ win8 + easybcd ใน win7 ก็ไม่พบปัญหาการแสดงผล ที่เรียกว่าจอดำ กับจอลายอีก เพราะติดตั้ง driver ให้กับ windows ไปทั้งคู่ ส่วน linux ใช้ terminal เป็นหลัก ไม่ใช้ desktop จึงไม่พบปัญหา สรุปว่า ปัญหาจอดำ กับจอลายตอนจะเข้า win ผ่าน grub น่าจะมาจาก driver ใน win แต่สุดท้ายก็ไม่ใช้ grub เป็นทางเข้า win แม้จะกด e เพื่อเข้า win ได้ในบางครั้งก็ตาม 4. ติดตั้ง os กับ loader ต้องมีลำดับดังนี้ - เริ่มต้นลง linux กับ par4 มี grub ใน mbr เรียบร้อย - ลง win7 กับ par1 แล้วลง easybcd loader ทำให้เลือก win7 หรือ linux - ลง win8 กับ par2 จะเรียกสิ่งที่มีใน easybcd มารวมกับ win8 เป็นloader ใหม่ สรุปว่า สุดท้ายแล้ว ใช้ bootloader ของ win8 5. network ใน linux ไม่ได้กำหนดไว้แต่แรก ต้องไปแก้แฟ้ม /etc/network/interfaces uto lo p2p1 iface lo inet loopback auto p2p1 iface p2p1 inet dhcp คำสั่ง #ifconfig -a ทำให้รู้ว่า network ที่เกาะไว้ได้ ip เบอร์อะไร คำสั่ง #lshw -class network ทำให้ทราบว่ามีอุปกรณ์ชื่ออะไร ยี่ห้ออะไรบ้าง แล้วสั่ง restart service ด้วย #/etc/init.d/networking restart ปล. ไม่ os ข้างต้นใน virtual box สำหรับกรณีนี้ เพราะต้องการใช้สภาพแวดล้อมจริง และติด deep freeze ในทั้งสอง windows ส่วน virtual box นั้น ตั้งใจลงใน win7 เพื่อทดสอบ case อื่น + http://article-thaiall.blogspot.com/2014/06/dual-boot-3-os.html
ผู้สนับสนุน + ผู้สนับสนุน
+ รับผู้สนับสนุน

แนะนำเว็บใหม่ : ผลการจัดอันดับ
รักลำปาง : thcity.com : korattown.com : topsiam.com : มหาวิทยาลัยโยนก
ศูนย์สอบ : รวมบทความ : ไอทีในชีวิตประจำวัน : ดาวน์โหลด : yourname@thaiall.com
ติดต่อ ทีมงาน ชาวลำปาง มีฝันเพื่อการศึกษา Tel.08-1992-7223