อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning และ case study of moodle.org)
เว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) : thaiabc.com | thaiall.com
ปรับปรุง : 2552-09-13 (เพิ่ม e-learning day)
อีเลินนิ่ง หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning = Electronic Learning) คืออะไร
ความหมายของอีเลินนิ่ง หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกัน คือ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา
#1 อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
#2 อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน
Prof.Dr.Srisakdi Charmonman

ผู้ประสบความสำเร็จอย่างเด่นชัดในฐานะ “บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย (Father of Thai E-learning)” (srisakdi.com)
และผมก็ภูมิใจที่ได้เป็นลูกศิษย์ของท่านในปี 2538 หลักสูตร MS-CEM ที่ Assumption University
ประธานจัด การสัมมนา eLearning ในงาน Bangkok International ICT Expo 2004, 2005, 2006, 2007

ส่วนที่ 1 : Full system of e-Learning by moodle.org
Moodle (Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment)
- CMS(Course management system)
- LMS(Learning management system)
Moodle เป็นชุดโปรแกรมสำหรับ ช่วยผู้สอนสร้างหลักสูตร และเปิดสอนผ่านเว็บไซต์ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถนำไปใช้ได้ทั้ง มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือครูสอนพิเศษ ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamas โปรแกรมชุดนี้เป็น Open source ภายใต้ข้อตกลงของ GNU.ORG(General public license) สามารถ download ได้ฟรีจาก moodle.org สำหรับผู้ดูแลระบบ(Admin) ที่จะนำโปรแกรมไปติดตั้ง ต้องมี web server ที่บริการ php และ mysql
    แหล่งคู่มือเกี่ยวกับ moodle (เอกสารที่ผู้เขียนรวบรวมไว้อย่างละเอียด จัดทำใน moodle.htm)
  1. คู่มือผู้ดูแล โดย อ.เสรี ชิโนดม http://course.buu.ac.th/moodle/mod/resource/view.php?id=3133
  2. คู่มือผู้ดูแล โดย ดร.กานดา รุณนะพงศา http://e-learning.en.kku.ac.th
  3. คู่มือผู้ดูแล โดย ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน (สพฐ) 33 หน้า 3.71MB
  4. คู่มือผู้ดูแล โดย thaimoodle.net http://www.thaimoodle.net/inst_moodle/install_Moodle_02.pdf
  5. คู่มือผู้ดูแล โดย อ.นวพร กิตติพัฒนบวร จาก ม.วลัยลักษณ์ http://mlearning.wu.ac.th/doc/manualMoodle1.pdf
  6. คู่มือผู้ดูแล โดย อ.สรวง(ศักดิเดช) ศรีแก้วทุม 01-5685296 รร.แม่เมาะวิทยา อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง comlampang.com!
  7. คู่มือผู้ดูแล โดย บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm
  8. คู่มือนักเรียน SUT-LMS ม.เทคโนโลยีสุรนารี
  9. คู่มือผู้ดูแล โดย ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี https://camel.me.psu.ac.th
  10. คู่มือผู้ดูแล โดย moodle.org http://class.yonok.ac.th/doc/ หรือ http://moodle.org/doc/
  11. Moodle :: http://moodle.org/doc/
    About : Background, Philosophy, License, Features, Release Notes, Future, Credits, Case for Moodle, ..
    Teacher : Getting Started, Editing A Course, Activity Modules, Resources, Blocks, General Advice
    Administrator : Planning your installation, Installation, Security and performance, Configuration, Users, ..
    Developer : Guidelines, Resources and tools, How you can contribute, Plans for the future, Doc. for ..
รายละเอียดส่วนที่ 1 ทั้งหมดอยู่ที่ => moodle.htm
Preparing to teach the teacher for MOODLE

ส่วนที่ 2 : CMS + LMS Software
LearnSquare.com
เชิญชวนครู อาจารย์ และผู้สนใจทุกท่าน ร่วมเผยแพร่สื่อเรียนรู้ที่พัฒนาด้วย LearnSquare ผ่านเว็บไซต์ NECTEC e-Learning นี้ เพื่อสร้างสรรค์คลังความรู้ที่มีประโยชน์ต่อสังคมไทย โดยติดต่อส่งบทเรียน สื่อเรียนรู้มาที่ info-dcs@nectec.or.th (php + mysql)
Microsoft Class Server 4.0
เคยไปฟังบรรยายที่บริษัทลานนา.คอม ร่วมกับ Microsoft Thailand บรรายายเรื่อง Microsoft Class ที่มีความสามารถยอดเยี่ยมกว่า Moodle หลาย ๆ เรื่อง มีเสถียรภาพสูง ทำงานบน SQL Server และ Windows 2003 เป็นการรวมตัวของสุดยอด และได้ Third Party ของ lanna.com ทำให้การใช้ e-Learning เป็นไปโดยง่าย สุด สุด
จากการสัมมนาครั้งนั้นทำให้ได้รู้จัก Microsoft Office 2003 ซึ่งมีโปรแกรมใหม่อีกเพียบ เช่น Live Meeting เป็นต้น หรือโปรแกรม ISA Server, Microsoft Portal Server เป็นต้น รวมถึงรายละเอียดเรื่องการซื้อ Software ในแบบต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการ และเหมาะสมกับงบประมาณขององค์กร
ThaiCyberU.go.th
TCU จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง ที่จะประสานงานกับมหาวิทยาลัยและ สถาบันการศึกษาต่างๆ ในการจัดทำหลักสูตร online ร่วมกัน มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา จะเป็นเจ้าของหลักสูตรและเป็นผู้อนุมัติปริญญาบัตร แก่นักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตร โดยมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา สามารถใช้ชุดวิชาบทเรียน online ในหลักสูตร ร่วมกัน ทั้งนี้ การให้บริการหลักสูตร online จะใช้ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการศึกษา(Inter-University Network : UniNet) ที่ได้มีการเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย /สถาบันการศึกษาทั่วประเทศแล้ว
atutor.ca Learning Content Management System
ATutor is an Open Source Web-based Learning Content Management System (LCMS) designed with accessibility and adaptability in mind. Administrators can install or update ATutor in minutes, develop custom templates to give ATutor a new look, and easily extend its functionality with feature modules. Educators can quickly assemble, package, and redistribute Web-based instructional content, easily retrieve and import prepackaged content, and conduct their courses online. Students learn in an adaptive learning environment.
de-learn.com
1 มีระบบจัดการฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูลผู้สอนผู้เรียน และผู้ดูแลระบบ 2 ระบบสามารถบริหารการเรียนการสอนได้ทั้งแบบเว็บ (Web-based) และห้องเรียนได้พร้อมๆ กันเพื่อรองรับ ระบบการเรียนแบบผสมผสาน 3 สามารถกำหนดกลุ่มผู้ใช้ได้ เช่น กลุ่มผู้พัฒนาเนื้อหา หลักสูตรกลุ่มผู้สอนกลุ่ม ผู้เรียน เป็นต้น 4 สามารถกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และ รหัสลับ (Password)ได้ตามต้องการ 5 สามารถเปลี่ยนแปลงส่วนในการติดต่อ(Interface) เช่น เปลี่ยนสี รูปแบบตัวหนังสือ (Fonts) สัญลักษณ์หน่วยงาน ( Logo ) และรูปแบบอื่นๆได้ เป็นต้น โดยแต่ละกลุ่มผู้เรียนอาจมี Fonts Logo และรูปแบบอื่นๆได้แตกต่างกัน 6 มีระบบจัดการการรอคอย (Waiting List) 7 ระบบช่วยจัดการบริหารการจองห้องเรียนหรือห้องฝึกอบรม 8 สามารถรองรับห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Reality System) 9 สามารถกำหนดประเภทของข้อมูลหลักสูตรได้อย่างไม่จำกัดจำนวน เช่น หลักสูตรกลุ่มวิชาหัวข้อหัวข้อย่อยเป็นต้น 10 ระบบสามารถรองรับการนำเนื้อหาและโครงสร้าง หลักสูตร เข้ามาใช้งานที่เครื่องของผู้เรียนโดยไม่จำเป็นต้อง เชื่อมต่อกับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และสามารถบันทึกความคืบ หน้าหรือคะแนนตลอดจนเงื่อนไขการเรียนรู้และสามารถ ปรับปรุงข้อมูล (Update) ข้อมูลดังกล่าว เมื่อมีการเชื่อมต่อกับระบบทางเครือข่ายครั้งต่อไป 11 รองรับเนื้อหาหลักสูตรได้ทุกรูปแบบที่สามารถเรียกใช้ผ่าน Web ได้ 12 กำหนด วิชาบังคับก่อนเรียนวิชาอื่น (Prerequisite) ของเนื้อหาหลักสูตรได้ในทุกระดับ 13 ระบบสามารถกำหนดระยะเวลาที่ผู้เรียนใช้ในการเรียนเนื้อหาได้ 14 ระบบสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับระบบอื่นเพื่อทำ การเรียน เสมื่อนจริง(Live Learning Online ผ่านซอฟต์แวร์ ประยุกต์บนเว็บ (Application Sharing, Whiteboard) และอื่นๆได้ โดยระบบ ดังกล่าวจะต้องทำงานประสานกับระบบหลักเพื่อให้สามารถนำเสนอ การเรียนแบบผสมผสาน ทั้งการเรียนผ่านเว็บ และการเรียนแบบ Live Learning Online ได้ในหลักสูตรเดียวกัน 15 ระบบการจัดหลักสูตรในระดับต่างๆตั้งแต่ ระดับ หลักสูตร (Curriculum)รายวิชา(Course) รวมถึงการออก ประกาศนียบัตรเมื่อจบหลักสูตรนั้นๆ 16 สามารถนำเนื้อหาหลักสูตรที่สร้างไว้แล้วไปใช้ในระบบ LMS อื่นๆ ที่เป็นมาตรฐาน AICC และ SCROM หรือ IMSได้ 17 ระบบต้องสามารถกำหนดวันเวลาที่ผู้เรียน จะเข้าเรียนได้ในหลักสูตรนั้นๆ 18 สร้างแบบทดสอบแบบก่อนเรียน(Pre-test)หลังเรียน (Post-test) และทดสอบแบบรวดเร็ว (Quizzes) ได้ทั้งแบบ มีการให้คะแนนและไม่มีการให้คะแนน นอกจากนี้ยังสามารถ สร้างแบบทดสอบที่มีการจับเวลาได้ และสามารถจำกัดการ ทำแบบทดสอบซ้ำได้เช่น เมื่อมีการสอบไม่ผ่านจะต้อง กลับไป ทบทวนอย่างน้อย 3 วัน จึงจะสอบใหม่ได้ เป็นต้น 19 สร้างข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อสอบ โดยรูปแบบ ของข้อสอบเป็น ได้ทั้งแบบถูก-ผิด แบบปรนัย แบบเลือก หลายคำตอบหรือคำตอบเดียว(Multiple choices)แบบอัตนัย และแบบเติมคำในช่องว่างโดยข้อสอบต่างรูปแบบกันสามารถเก็บไว้ในคลังข้อสอบเดียวกันหรือหลายคลังข้อสอบได้ 20 มีรายงานเพื่อดูข้อมูลการเข้าเรียนและการสอบของ ผู้เรียนได้ 21ผู้ดูแลระบบสามารถสร้างรายงานเพิ่มเติมจากที่ระบบ มีให้ เพื่อจะนำผลนำมาวิเคราะห์การเข้าเรียนหรือผลการสอบ ของผู้เรียนได้ตามความต้องการ 22 ผู้เรียนสามารถค้นหาวิชาเรียนที่ต้องการโดยระบุเงื่อนไข ในการค้นหาแบบง่ายๆ (Simple) หรือ ขั้นสูง(Advanced Search ) หรือดูรายชื่อวิชาเรียนในแจ้งรายการวิชาเรียน (Catalog) ที่กำหนดไว้ 23 ระบบมีการบันทึกกิจกรรมการใช้งานต่างๆของผู้เรียน เช่น สถานะ การเข้าเรียน สถานการณ์ทำแบบทดสอบ และผลคะแนนที่ได้ เป็นต้น 24 ระบบมีความสามารถในการส่ง Notification แจ้งให้ ผู้ใช้ทราบ เกี่ยวกับ การเปลี่ยนตารางเรียน การเตือนเกี่ยวกับการเรียน หรือการสอบ และอื่นๆ 25 สามารถสร้างรายงานตามความต้องการ (Custom Reports)เพื่อใช้วิเคราะห์การทำงานของผู้ใช้การใช้บทเรียนของผู้เรียน และอื่นๆได้ตามความต้องการหรือมีเครื่องมือสำหรับสร้าง Custom Reports 26 สามารถทำงานบนระบบจัดการฐานข้อมูล (Database) บน DB2 หรือ Oracle หรือ Microsoft SQL ได้ 27 สามารถติดตั้งบนระบบปฏิบัติการเครือข่ายของทั้ง 2 ตระกูลได้คือตระกูล UNIX เช่น Solaris, Linux, AIX หรือ ตระกูล ไมโครซอฟท์ เช่น Windows 2000 หรือ Windows 2003 Server และสามารถรองรับมาตรฐาน AICC และ SCORM
+ claroline.net Open Source e-Learning
+ vclass.net Virtual Class on Demand
+ eclass.net Open-Source E-Learning Toolkit
+ teknical.com Virtual Campus
+ itie.org Virtual Class

ส่วนที่ 3 : e-Learning by ASP
ส่วนนี้เป็น e-Learning ที่พัฒนาด้วย ASP มีระบบสมาชิก และฐานข้อมูลข้อสอบด้วย Microsoft access แต่ผมชะรอการพัฒนาต่อ เพราะไม่มีเวลาพัฒนาส่วน CMS ให้สมบูรณ์ ส่วน LMS เองก็ยังขาดองค์ประกอบสำคัญอีกหลายเรื่อง แต่ก็ถือว่าเป็น ศูนย์สอบ online ที่สมบูรณ์มากระบบหนึ่ง
    Download : elearning4may2002.zip # 3.8 Mb
    Requirement : Web server ที่บริการ ASP + MDB
    ทดสอบได้ที่
  1. http://course.yonok.ac.th/e-learning[new 07/02]
  2. http://www.websamba.com/openworld
  3. http://www27.brinkster.com/thaiprovince/e-learning (expired)
  4. http://thaiall.thailandhosting.net/e-learning (expired)

5 Human type .. Who are you?
There are five types of companies: those who make things happen; those who think they make things happen; those who watch things happen; those who wonder what happened; and those that did not know that anything had happened.
จากหนังสือ Marketing management ของ Philip kotler
หน้า 61

หัวข้อทั้งหมด เตรียมไว้ประกอบการบรรยายให้ผู้บริหาร ที่มีเวลาไม่มาก
1. ประโยชน์ของ e-Learning
  1. ช่วยลดการติด F ของนักศึกษา
  2. ช่วยนักเรียนที่ไม่เข้าเรียน ให้ติดตามเนื้อหา ได้ระดับหนึ่ง
  3. ช่วยนักเรียนที่นั่งหลับในห้อง ให้ทบทวนได้ในภายหลัง
  4. ช่วยให้นักศึกษามีประสบการณ์จากแบบฝึกหัดมากขึ้น
  5. ช่วยให้อาจารย์เตรียมสอน และเก็บเอกสารเป็นระบบ เชิงวิชาการ
  6. ช่วยแนะนำแหล่งข้อมูล สำหรับวิชาที่สอน ได้อีกมากมาย
    วัตถุประสงค์ของ e-Learning
  1. เพื่อพัฒนา และปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัย และกว้างไกลมากขึ้น นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา
  2. เพื่อขจัดปัญหา และข้อจำกัด ของการขยายโอกาสทางการศึกษา
  3. เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาต่อเนื่องของผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการ
  4. เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั่วไปได้มีโอกาส และช่องทางการศึกษามากขึ้น

2. ปัญหาของ e-Learning
    (เพื่อแสดงปัญหา ที่เรื่องนี้ก้าวไปอย่างเชื่องช้า)
  1. อาจารย์ หรือนักศึกษาบางคน ไม่ถนัดเรื่องเทคโนโลยี
  2. ไม่เห็นความสำคัญ หรือประโยชน์ ทั้งผู้ให้ และผู้รับ
  3. อาจารย์บางท่านอาจ หวงวิชา เพราะเป็นการเผยแพร่ที่คัดลอกได้ง่าย
  4. มักไม่มีรายรับ ใช้เวลาสร้าง และบำรุงรักษาตลอดไป
  5. ไม่มีเวลา สำหรับอาจารย์ที่จะเขียน สำหรับนักศึกษาที่จะอ่าน

3. องค์ประกอบของ e-Learning
  1. ระบบจัดการการศึกษา (Management education system)
  2. เนื้อหาวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents)
  3. การสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน (Communication)
  4. การวัดผลการเรียน (Evaluation)

4. ระดับของ e-Learning
  1. สื่อเสริม (Supplementary)
  2. สื่อขนาน (Complementary)
  3. สื่อทดแทน (Comprehensive replacement)

5. แผนการพัฒนา e-Learning
    (เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา)
  1. รวบรวม course syllabus เป็นระบบ
    เช่น soci101syl.doc หรือ math101syl.doc
  2. รวบรวมเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับวิชา
    เช่น soci10101.doc หรือ engl10102.ppt
  3. รวบรวมแบบฝึกหัดในรูป html อย่างน้อย 75 ข้อ
    วิชาหนึ่งเรียน 15 สัปดาห์ มีการบ้านไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 5 ข้อ
  4. รวบรวม webguide จากประสบการณ์ของผู้สอน
  5. กระดานถามตอบ และ e-mail
  6. ข้อสอบ online
  7. ระบบสมาชิก
  8. ระบบรายงานคะแนนเก็บ หรือการเข้าใช้บริการ
    สรุปคือการจัดทำ LMS และ CMS ที่สมบูรณ์ (ดูข้อ 88)
6. แผนการสอน e-Learning เบื้องต้นภาคปฏิบัติ
    (หลักสูตรเร่งลัด 1 ชั่วโมง)
  1. สร้างห้องชื่อ d:\yonok ไว้เก็บทุกอย่างจากการทดสอบปฏิบัติ
  2. สร้างแฟ้ม a1.htm ด้วย word (สมมุติเป็นบทที่ 1)
  3. สร้างแฟ้ม a2.htm ด้วย word (สมมุติเป็นบทที่ 2)
  4. สร้างแฟ้ม index.html ด้วย word สำหรับ link a1.htm, a2.htm
  5. ทดสอบเปิด d:\yonok\index.html
  6. สมัครกับ free hosting เช่น isinthai.com หรือ thai.net
  7. ส่ง 3 แฟ้มข้างต้นเข้าไปยัง free hosting
  8. ทดสอบเปิด http://www.isinthai.com/yourname

7. แผนการสอน 3 ระดับ ส่งเสริม e-Learning
    (ทุกคนพื้นฐานต่างกัน หากสอนรวมกัน คงลำบาก)
    ระดับ 1 : ฝึกเปิดเว็บไซต์ และนำไปใช้
    :: เปิดเว็บตามรายชื่อเว็บหัวข้อ 88 web guides ที่สอดคล้องกับประสบการณ์ ของแต่ละคน และค้นหาจาก google.com การใช้ e-mail ในการติดต่อ การสมัครเป็นสมาชิกรับข่าวสาร และการส่ง attach file เป็นต้น
    ระดับ 2 : ฝึกพัฒนาเว็บด้วย Word และ upload
    :: เช่น isinthai.com, thai.net, thcity.com, geocities.com, se-ed.net เป็นต้น และฝึกใช้ ftp หรือ file manager ตามที่แต่ละเว็บกำหนด
    ระดับ 3 : ฝึกใช้ HTML และโปรแกรมสำเร็จรูป
    :: เช่น notepad, wordpad, HTML, paint, print screen, acdsee, photo shop, swish เป็นต้น

8. รูปแบบด้านการเงินของ e-Learning ในปัจจุบัน
(ทุกแบบ มีเหตผลรองรับ ที่สมเหตุสมผล ตามการเลือกของผู้ใช้)
    แบบที่ 1 : ฟรี ไม่มีระบบสมาชิก
    แนวคิด - ชีวิตนี้คือการให้
  1. http://www.thaiall.com
  2. http://www.uni.net.th/html_file/Dtl/dtl_CW44.htm
    แบบที่ 2 : ฟรี มีระบบสมาชิก
    แนวคิด - ชีวิตนี้คือการให้ แต่ผู้รับต้องเปิดเผยตัว
  1. http://course.yonok.ac.th
  2. http://www.ram.edu
    แบบที่ 3 : ฟรี เฉพาะสมาชิกในองค์การ
    แนวคิด - ผลงานที่มีประโยชน์ของครู้ ให้เฉพาะนักเรียนในโรงเรียน
  1. http://cmuonline.chiangmai.ac.th
  2. http://www.lcct.ac.th/computer/neted_newS3/
    แบบที่ 4 : ไม่ฟรี
    แนวคิด - ไม่มีอะไรฟรี เพราะท้องอิ่มสมองจึงจะแล่น
  1. http://www.thai2learn.com
  2. http://www.chulaonline.com
    แบบที่ 5 : รับจ้างพัฒนา
    แนวคิด - ระบบที่สมบูรณ์ต้องสร้างโดยมืออาชีพ
  1. http://www.sumsystem.com
  2. http://www.blackboard.com
    9. แผนการสอนเขียนเว็บเพจเบื้องต้น (12 ชั่วโมง)
    เตรียมสอนอาจารย์โรงเรียนเถินวิทยา มีนาคม 2548
    9.1 การเขียนเว็บเพจด้วย Microsoft word (3 Hr)
    9.2 การเขียนเว็บเพจด้วย Notepad (1.5 Hr)
    9.3 การใส่ภาพ และ link (1.5 Hr)
    9.4 การเขียนเว็บเพจหลายหน้า (3 Hr)
    9.5 การคัดลอก และ upload เว็บเพจ (3 Hr)
    10. แผนการสอน e-Learning เบื้องต้น (18 ชั่วโมง)
    เตรียมสอนอาจารย์โรงเรียนเถินวิทยา มีนาคม 2548
    10.1 ความหมายของ e-Learning และตัวอย่าง (3 Hr)
    10.2 การติดตั้งเครื่องบริการเว็บไซต์ (3 Hr)
    10.3 การนำสื่อเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต (3 Hr)
    10.4 การสร้างข้อสอบออนไลน์ (3 Hr)
    10.5 การสร้างเว็บบอร์ด และการสื่อสาร (3 Hr)
    10.6 การจัดการระบบ e-Learning (3 Hr)
    75. อบรมการสืบค้นข้อมูล 3 ชั่วโมง
    จัดทำเอกสารประกอบการอบรมเพียง 1 แผ่น เรื่องเทคนิคการสืบค้นข้อมูล เช่น lecture note, power point, pdf file เป็นต้น เพื่อแนะนำอาจารย์ที่ไม่มีประสบการณ์ในการสืบค้นข้อมูล ในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ
    Download [ searching.doc 123 Kb ]
    76. แผนการสอน e-Learning ระดับอุดมศึกษา 12 ชั่วโมง (2 วัน)
      1. เปิดเว็บ http://www.lcct.ac.th/computer/neted_newS3/ มากกว่า 30 วิชา
      ชนะเลิศที่ 1 ในงานประกวดสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระดับอาชีวศึกษา
      2. เปิดเว็บ http://www.uni.net.th/html_file/Dtl/dtl_subjectcontent.html มากกว่า 14 วิชา
      เพื่อศึกษาเว็บไซต์ e-Learning ที่ทบวงจ่ายให้อาจารย์มหาวิทยาลัยปิด พัฒนาวิชาละประมาณ 5 แสนบาท
      3. เปิดเว็บ http://www.ram.edu (phimine : pm2519)
      เว็บไซต์ของรามคำแหง ที่ยอมรับ e-Learning เป็นผลงานวิชาการระดับ ผ.ศ.
      4. เปิดเว็บ http://classroom.psu.ac.th มากกว่า 160 วิชา
      Virtual classroom ของ ม.สงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติของทุกมหาวิทยาลัย
      5. เปิดเว็บ http://www.thai2learn.com หรือที่อื่น ๆ ที่สมบูรณ์แบบ
      เว็บสมบูรณ์แบบของ e-Learning ที่เปิดให้บริการแบบมีค่าใช้จ่าย อ.ถนอม และสุวิทย์ ได้สิทธิ์เรียนฟรี
      6. เปิดเว็บ http://course.yonok.ac.th
      e-Learning ของโยนกอายุ 2 ปี ประกอบด้วยข้อสอบ และบทความ เป็นกรณีศึกษาให้นำไปพัฒนาต่อ
      7. เปิดเว็บ http://course.yonok.ac.th/yaowalak
      อาจารย์เยาวลักษณ์ ที่ศึกษา e-Learning อย่างจริงจังที่สุดในโยนก เพราะทำ IS ปริญญาโท มช.
      8. เปิดเว็บ http://www.thaiall.com/e-learning
      งานเตรียมสอนทั้งหมดเกี่ยวกับ e-Learning ของอาจารย์บุรินทร์
      9. เปิดเว็บ http://www.thaiall.com/article/promote.htm สอนการ promote เว็บไซต์
      10. เปิดเว็บ http://www.thaiall.com/article/dotcom.htm สอนการจด domain name
      11. เริ่มสอนพัฒนาเว็บตาม บทเรียนเบื้องต้นภาคปฏิบัติ ข้อ 6 ของ thaiall.com/e-learning
      หรือนำสิ่งที่อาจารย์เตรียมทั้งหมดเข้าไปฝึกปฏิบัติ หัวข้อนี้มีเวลา 8 ชั่วโ
      12. ฝึกขอพื้นที่ จัดทำ และ upload ไปที่ thcity.com หรือ thai.net
      13. ประเมินเว็บของแต่ละคนร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเพื่อปฏิบัติจริง
    77. แผนการสอน e-Learning ระดับอุดมศึกษา 12 สัปดาห์
      สัปดาห์ที่ 1 : เรียนรู้บริการ e-Learning ที่ประเทศไทยให้บริการ
      1. ฝึกใช้ e-mail และเปิดสืบค้นข้อมูลจาก http://www.google.com
      2. ศึกษาแนวคิดด้านทฤษฎี และแนะนำเว็บด้าน e-Learning ที่ http://www.thaiall.com/e-learning
      3. ศึกษาบริการศูนย์สอบ online จากเครื่องบริการของโยนก http://course.yonok.ac.th
      4. ศึกษาระบบ e-Learning ของ http://www.uni.net.th/html_file/Dtl/dtl_CW44.htm
      5. ศึกษาผู้ให้บริการ e-Learning ในประเทศไทย http://www.uni.net.th/html_file/E_Learning/el_main.htm
      6. ศึกษาตัวอย่างเว็บของอาจารย์เยาวลักษณ์ ที่ศึกษา e-Learning อย่างจริงจังที่ http://course.yonok.ac.th/yaowalak
      สัปดาห์ที่ 2 : ฝึกทำเว็บในเครื่อง และส่งไปเผยแพร่
      1. ฝึกพิมพ์ข้อมูลวิชา เช่น course syllabus, lecture note และ แบบฝึกหัด ด้วย word
      2. สร้างแฟ้มเช่น x1.htm และ x2.htm สำหรับเก็บ course syllabus และ lecture note ด้วย word
      3. สร้างแฟ้ม index.html สำหรับเชื่อมต่อแฟ้ม x1.htm และ x2.htm
      4. ทดสอบเปิดเว็บในเครื่อง
      5. สมัครใช้บริการ free hosting เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้นักศึกษา และชาวได้ได้เข้ามาศึกษา
      6. ส่งแฟ้มทั้ง 3 แฟ้ม ไปเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต ผ่านระบบ file manager ของผู้ให้บริการ
      สัปดาห์ที่ 3 : ฝึกนำภาพใส่เข้าไปใน webpage ของอาจารย์ หรือสร้างด้วย Paint
      1. คัดลอกภาพจากอินเทอร์เน็ต หรือ Scan ภาพของตนเองเก็บเป็นแฟ้ม .gif หรือ .jpg
      2. เพิ่มภาพเข้าไปในแฟ้ม x1.htm หรือ x2.htm หรือ index.html
      3. ส่งไปเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
      สัปดาห์ที่ 4 : ฝึกแต่งเว็บเพจให้สมบูรณ์
      1. ฝึกปรับตัวอักษร
      2. สร้างตาราง การกำหนดสี และการสร้างจุดเชื่อมโยงภายในหน้าเดียวกัน
      3. แนวคิดการสร้าง header และ footer
      สัปดาห์ที่ 5 : ฝึกสร้างภาพ หรือแต่งภาพด้วย photoshop
      สัปดาห์ที่ 6 : ฝึกปรับแต่งเว็บเพจด้วย html อย่างง่าย เช่น frame, iframe, counter, banner เป็นต้น
      สัปดาห์ที่ 7 : ฝึกสร้างภาพ หรือแต่งภาพด้วย swish แทน Macromedia flash
      สัปดาห์ที่ 8 : ให้นำประสบการณ์ต่าง ๆ มาใช้ เพื่อนำเสนอ course syllabus, lecture note หรือ exercise
      สัปดาห์ที่ 9 : จัดทำ Quiz online ในวิชาของตนเอง โดยศึกษาวิธีการจาก http://www.thaiall.com/quiz
      สัปดาห์ที่ 10 : ศึกษาการจด domain name ในแต่ละแบบ
      สัปดาห์ที่ 11 : ศึกษาการเผยแพร่เว็บเพจของวิชาให้คนไทยทั้งประเทศได้เข้าไปใช้บริการ
      สัปดาห์ที่ 12 : จัดระบบประเมินผลเว็บไซต์ของอาจารย์ที่สร้างขึ้น ทั้งจากอาจารย์ด้วยกัน และนักศึกษาที่ใช้บริการ
78. ThaiCyberU.go.th
ตัวอย่างหัวข้อจากการเข้าเรียนใน http://www.thaicyberu.go.th
สอนโดย ราตรี วิศิษฏ์สุรวงศ์ wi_ratree@yahoo.com โทรศัพท์ 02-3545678 ต่อ 2000
tcu-it02511 :: การสร้างเว็บเทคโนโลยีโดยใช้โปรแกรม Word
- ทักทาย...ก่อนเรียน
- แนะนำการเรียน (โปรแกรมจะเช็คเวลาเข้าเรียน)    
- เตรียมตัว...ก่อนเรียน     
- วางแผนการเรียน     
- ผู้พัฒนาบทเรียน     
- แนะนำตัว
- ประมวลผลรายวิชา     
- งานที่มอบหมาย     
- คำถามที่มักจะพบบ่อย     
- รายชื่อผู้ผ่านการอบรม
- สื่อการเรียน              
แบบทดสอบทบทวน Word
บทนำ
รู้จักกับเว็บเพจ
การเปิดโปรแกรม Microsoft Word 2003
สร้างเว็บเพจใหม่
บันทึกเว็บเพจ
ดูตัวอย่างเว็บเพจในบราวเซอร์
การกำหนดพื้นหลังของเพจ
ข้อกำหนดในการจัดเก็บเป็นเว็บเพจ
การใส่ข้อมูลในเว็บเพจ
แปลงไฟล์ Word ให้เป็นเว็บเพจ
สาธิตการสร้างเพจแรก
สาธิตการใส่เนื้อหาลงในหน้าโฮมเพจ
การสร้างไฮเปอร์ลิงค์
การใช้เฟรม
แนะนำลิงค์ที่น่าสนใจของ Microsoft Word
ซอฟต์แวร์สำหรับบทเรียน
    81. สรุปกิจกรรมในงาน การสัมมนาทางวิชาการ ICT เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
    การสัมมนาทางวิชาการ ICT เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
    22-24 มกราคม 2547
    จัดโดย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(08-1668-7277)
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โรงเรียนลำปางพาณิชยการ และเทคโนโลยี
      หน่วยงาน : วิทยาลัยโยนก (อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์)
      กิจกรรม : การสร้าง และการพัฒนา Website ให้ยั่งยืน (คลีนิคการเรียนรู้)
      
      รายละเอียดกิจกรรม :
      1. การจด domain name
      2. การจัดทำเครื่องบริการ (Server)
      3. การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ
      4. เทคนิคการสืบค้นข้อมูล มาประกอบการสอน หรือใช้อ้างอิง
      5. การพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อบริการระบบฐานข้อมูล
      6. การทำให้เว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก
      7. การอบรมบุคลากรให้ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
      
      วิธีการดำเนินงาน :
      1. วางแผนด้าน เงิน คน อุปกรณ์ และการจัดการ
      2. หาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สอบถามผู้ให้บริการ และเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
      3. จัดเตรียมทีมงานให้มีความพร้อมด้วยการฝึกอบรม ให้สามารถทำงานได้
      4. ติดตั้ง และเปิดบริการ e-mail server และ web server
      5. พัฒนาเว็บไซต์ และระบบฐานข้อมูล เพื่อนำไปเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
      6. ประเมินการใช้ประโยชน์อินเทอร์เน็ตจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้
      7. จัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย
      
      งบประมาณ และแหล่งที่มาของงบประมาณ :
      1.ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น
      1.1 ซื้อ server 50,000 * 3 เครื่อง = 150,000 บาท
      1.2 ซื้อโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้ = 100,000 บาท
      1.3 ค่าเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรก = 100,000 บาท
      1.4 จัดอบรมบุคลากรด้าน IT = 30,000 บาท
         รวม 380,000 บาท
      2.ค่าใช้จ่ายรายเดือน
      2.1 จ้างบุคลากรเพิ่ม 8,000 * 2 ท่าน = 16,000 บาท
      2.2 ค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายเดือน = 40,000 บาท
      2.3 ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ และโปรแกรมโดยรวม = 2,000 บาท
      2.4 ค่าใช้จ่ายวิทยากร อบรมผู้ใช้ และผู้เกี่ยวข้อง = 2,000 บาท
         รวม 60,000 บาท
         งบประมาณไม่รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อคอมพิวเตอร์เพิ่ม หรือการติดตั้งเครือข่ายภายใน
      
      ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ :
      1. รัฐบาลมีการส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรมในระดับหนึ่ง
      2. สังคมระดับครัวเรือน มีความตื่นตัว และให้การยอมรับ
      3. จุดเด่นของประโยชน์ที่ได้จากเครือข่าย เห็นได้อย่างชัดเจน
      
      ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค และต้องการแก้ไข :
      1. ผู้บริหารส่วนใหญ่ ยังไม่เข้าใจ ไม่สนใจ ไม่สนับสนุนอย่างจริงจัง
      2. ขาดงบประมาณ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ ขาดอุปกรณ์
      3. IT เพื่อการศึกษา มิใช่ธุรกิจ ทำให้จำนวนผู้ที่ทุ่มเทด้านนี้มีไม่มากเท่าที่ควร
      4. นักเรียนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จาก IT เพื่อความบันเทิง มากกว่าการศึกษา
      5. แหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาในอินเทอร์เน็ตยังมีไม่มากพอ
      
      แนวทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดการขยายผลทั้งในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา :
      1. จัดอบรมสัมมนานอกกรุงเทพฯ ให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัว
      2. จัดอบรมผู้บริหาร ให้เกิดความเข้าใจ และให้การยอมรับเข้าไปในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด
      3. จัดอบรมนักพัฒนาในสถาบันการศึกษา ให้มีความชำนาญ มากที่สุด
      4. ส่งเสริมให้ทุกสถาบันเข้าใจความแตกต่างของเว็บไซต์สถาบัน เว็บไซต์อาจารย์ และเว็บไซต์วิชา
      5. รวมกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษาให้ได้มากที่สุด
      

งานสัมมนาวิชาการ National e-Learning Day 2009 : A Roadmap to Success in Becoming (Wolrd Class) Cyber Universities "หนทางสู่ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์" วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2552 จัดโดย สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ITSC) โดยมี Prof.Dr.Zoraini Wati Abas, Director, Institute of Quality, Research and Innovation (IQRI), Open University Malaysia, Kuala Lumpur, Malaysia. เป็น Key Note บรรยายผ่านโปรแกรม Skype ชั่วโมงครึ่ง
กิจกรรมสำคัญคือ การเสวนาวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศถึง 5 ท่าน ได้แก่ 1)ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการและประธานผู้บริหาร วิทยาลัยการศึกษาทางไกล อินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 2)ผศ.สุพรรณี สมบุณธรรม ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3)รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่าย RSU Cyber University มหาวิทยาลัยรังสิต 4)ผศ.ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 5)ผศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมี 6)รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
จากการร่วมประชุมข้างต้น ผมนำไปเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ จังหวัดลำปาง
ไอทีในชีวิตประจำวัน # 209 หนทางการเป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์ (5 ตุลาคม - 11 ตุลาคม 2552)
งานประชุมวิชาการ "หนทางสู่ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยไซเบอร์" ณ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2552 มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนาหลายท่าน อาทิ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล จากมหาวิทยาลัยรังสิต ได้นำเสนอประสบการณ์การเปิดหลักสูตรออนไลน์ที่เห็นพ้องต้องกันกับ ผศ.สุพรรณี สมบุญธรรม ผอ.โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (thaicyberu.go.th) ว่า การเปิดหลักสูตรออนไลน์ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพ และแนวโน้มของหลักสูตรที่มีค่าลงทะเบียนต่ำมักมีอัตราการพ้นสภาพของนักศึกษาสูง แล้วหลักสูตรประเภท "เรียนง่าย จ่ายครบ จบแน่" มักไม่ยั่งยืน
การบรรยายผ่านโปรแกรม Skype โดย Prof.Dr.Zoraini Wati Abas จากมหาวิทยาลัยเปิดมาเลเซีย (OUM = Open University Malaysia) ท่านนำเสนอเครื่องมือสนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ด้วยเทคนิคที่เรียกว่าการเรียนรู้ผสม (Blended Learning) ซึ่งรวมการเรียนแบบพบปะหรือเข้ากลุ่ม (Face-to-Face) การเรียนผ่านสื่อออนไลน์ (Online Learning) และการเรียนแบบจัดการด้วยตนเอง (Self-Manage Learning) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้เสริมการเรียนมีทั้งการส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เรียน การจัดทำบทเรียนที่เปิดเรียนได้จากโทรศัพท์เคลื่อนที่ การใช้สื่อผสม และสถานีวิทยุออนไลน์ โครงการของท่านเริ่มต้นเดือนมกราคม 2552 พบว่าอัตราการพ้นสภาพสูงถึง 25% ต่อภาคเรียน จากการคาดการณ์พบว่าจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาของหลักสูตรน่าจะประมาณ 20% เท่านั้น ส่วนในประเทศไทยมีหลายหลักสูตรที่เปิดสอนหลังจากกระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.2548 อนุญาตให้สถาบันการศึกษาในไทยสามารถเปิดสอนแบบอีเลิร์นนิ่งได้ ซึ่งวิทยากรทุกท่านกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าคุณภาพเทียบเท่าหรืออาจสูงกว่าการเรียนการสอนตามหลักสูตรปกติ
มีการคาดการณ์ว่าในอนาคต มูลค่าของการเรียนการสอนออนไลน์จะเทียบเท่ากับภาคปกติ และจะมีมูลค่านำธุรกิจประเภทอื่นทั้งอีคอมเมิร์ส และอีเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ มีสิ่งสนับสนุนไปในทางเช่นนั้นทั้งจากการมีเครื่องมือสนับสนุนในอินเทอร์เน็ตมากมายอาทิ เครือข่ายสังคม ชีวิตที่สอง (เช่น SecondLife.com) ระบบรับส่งข้อความ และการยอมรับผู้สำเร็จการศึกษาผ่านระบบอีเลินนิ่งที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

    98. แนะนำเว็บ (Web Guides)
  1. ฐานข้อมูลวิทยานิพนท์ไทย
  2. http://classroom.psu.ac.th
  3. http://cmuonline.chiangmai.ac.th
  4. http://www.aboutthaiit.com
  5. http://www.aemlearning.com
  6. http://www.ajarnonline.com
  7. http://www.aluminiumlearning.com
  8. http://www.chulaonline.com
  9. http://www.cpc.ku.ac.th/emagazine/emag.htm
  10. http://www.dec.ait.ac.th
  11. http://www.eotoday.com/e-learning/
  12. http://www.iknow.co.th
  13. http://www.krunoi.com
  14. http://www.ku.ac.th/ED/course/
  15. http://www.learn.com
  16. http://www.learn.in.th
  17. http://www.learn2.com
  18. http://www.nectec.or.th/courseware/
  19. http://www.np.co.th
  20. http://www.onlinetraining.in.th
  21. http://www.pec9.com
  22. http://www.ru.ac.th/e-learning
  23. http://www.ram.edu
  24. http://www.spu.ac.th/subject_homepage/
  25. http://www.thai2learn.com
  26. http://www.thaiall.com/e-learning
  27. http://www.thaiall.com/quiz
  28. http://www.thaied.com
  29. http://www.thaiwbi.com
  30. http://www.training.in.th
  31. http://www.zeemee.net/klochan/e_learn.htm
  32. http://www24.brinkster.com/bunjong/menu.html
  33. http://th.i-tutor.net
  34. ! http://www.internet-university.com/homepage.html
  35. ! http://www.testbyonline.com (virus founded)

99. ศัพท์ที่ควรทราบ
บางองค์การพัฒนาระบบ e-Learning ได้อย่างสมบูรณ์ จึงมีระบบแยกออกเป็น 2 ส่วน ที่แตกต่างกันโดยชัดเจน หากมองไปที่สถาบันระดับอุดมศึกษาของไทย มีหลายแห่งที่พัฒนา และให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าต่างคนต่างพัฒนา ไม่เหมือนกัน ไม่มีมาตรฐานที่จะใช้ร่วมกันได้ (ขนาดชื่อยังเรียกกันคนละชื่อเลยครับ และเรื่องเงินไม่เข้าใครออกใคร การรวมกันจึงยากมาก .. แต่ถ้าจะรวมก็ทำได้อยู่แล้วด้วย XML ถ้าทุกคนเปิดใจ เพื่อเด็กไทยของเรา)
  1. LMS = Learning management system
    :: บริการที่มีให้กับผู้เรียนในการติดต่อเข้ามาในระบบ เช่นเข้ามาอ่าน บันทึกเวลา ส่งแบบฝึกหัด ตรวจคะแนนของตนเอง เป็นต้น สรุปว่าเป็นระบบบริการนักเรียน ให้เรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. CMS = Course management system
    :: ปัจจุบันมีโปรแกรมมากมายที่ช่วยพัฒนาเว็บเพจ แต่การพัฒนาเว็บเพจ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ e-Learning การจะทำให้บทเรียนที่สร้างขึ้น เปิดให้นักเรียนเข้ามาเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีเครื่องมือ ที่ใช้สร้าง และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. MOODLE = Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment
    :: ชื่อของโปรแกรม ช่วยผู้สอนสร้างหลักสูตร และเปิดสอนผ่านเว็บไซต์ เป็นทั้งระบบ LMS และ CMS ซึ่งเป็น Open source นักพัฒนาสามารถหาข้อมูล หรือ download ได้จาก moodle.org หรือทดสอบเรียนก่อนที่ http://class.yonok.ac.th
  4. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning)
  5. การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)
  6. การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction)
ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ burin@yonok.ac.th
ผู้เรียบเรียง

แนะนำเว็บใหม่ : ผลการจัดอันดับ
รักลำปาง : thcity.com : korattown.com : topsiam.com : มหาวิทยาลัยโยนก
ศูนย์สอบ : รวมบทความ : ไอทีในชีวิตประจำวัน : ดาวน์โหลด : yourname@thaiall.com
ติดต่อ ทีมงาน ชาวลำปาง มีฝันเพื่อการศึกษา Tel.08-1992-7223