การรักษาพยาบาลโรค thairheumatology88
โรคไฟโบรซัยติส
เป็นโรคหนึ่งในกลุ่มโรคข้อและรูมาติสซั่มที่มีลักษณะเด่นคือ ผู้ที่เป็นจะมีอาการปวดตามเนื้อตัวเป็นจุด ๆ ทั่วร่างกาย โรคนี้ไม่ทำให้พิการ ไม่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคนี้อาจหายเองได้แต่ใช้เวลานาน ในบางรายอาการปวดอาจเป็นเดือนหรือเป็นปี มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในโรคนี้
อาการปวดในโรคนี้มีสาเหตุมาจาก 2 ประการคือ 1. ตัวกล้ามเนื้อเอง และ 2. บริเวณที่เอ็นไปเกาะกับกระดูกโดยตรง จุดเหล่านี้มีการกดเจ็บ ในบางครั้งเมื่อกดอาจมีอาการปวดร้าวไปที่บริเวณอื่น ๆ ได้ ในบางรายอาจมีการคลำได้เป็นปุ่มใต้ผิวหนังบริเวณที่กดเจ็บ ใครบ้างที่เป็นโรคนี้ ?
โรคนี้สามารถเป็นได้กับทุกคน แต่พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 35-60 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

สาเหตุของโรคนี้คืออะไร ?
สาเหตุจากโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการนอน แต่โรคนี้สามารถพบได้ร่วมกับกลุ่มอาการโรคข้ออักเสบอื่น ๆ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคภูมิแพ้ มะเร็ง และการติดเชื้อ เป็นต้น นอกจากนี้พบว่าโรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์
อาการของโรคนี้มีอะไรบ้าง ?
อาการเด่นของโรคนี้คืออาการปวด อาการปวดจะปวดตามจุดต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ในบางครั้งผู้ป่วยจะมีปัญหาในการนอน เช่น นอนหลับยาก เวลาตื่นมาตอนเช้าจะมีอาการปวดมาก แต่พอเริ่มทำงานอาการปวดจะค่อย ๆ ดีขึ้น ในบางรายอาจมีอาการทางระบบขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย
แพทย์จะวินิจฉัยภาวะนี้อย่างไร ?
การวินิจฉัยที่สำคัญที่สุดคือการซักประวัติและการตรวจร่างกาย ผู้ป่วยที่สามารถให้ประวัติที่ละเอียดมากเท่าใดก็จะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและการรักษามากขึ้นเท่านั้น การตรวจร่างกายจะพบจุดที่กดเจ็บที่มีตำแหน่งเฉพาะ การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะปกติหมดและไม่ช่วยในการวินิจฉัย
การรักษา
1. การรักษาทางยา จากการศึกษาพบว่ายาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ไม่ได้ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะให้ในขนาดที่สูงก็ตาม ยาที่พบว่าได้ผลได้แก่ยาในกลุ่มที่ช่วยปรับการหลับ เช่น ยารักษาการซึมเศร้า เป็นต้น
2. การรักษาด้วยกายภาพบำบัด มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นการช่วยการผ่อนคลายการเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวคล่อง และเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ
3. การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและการทำงาน เช่น งานที่ต้องก้มหรือเงยคอมากและนาน จะทำให้กล้ามเนื้อคออ่อนล้าและปวดได้ การนั่งทำงานนาน ๆ อาจกระตุ้นเรื่องการปวดหลังได้ ควรหาโอกาสพักหรือเปลี่ยนอริยาบทระหว่างทำงาน
4. การควบคุมอารมณ์ อารมณ์เครียดและโกรธจะมีผลต่อโรคนี้ เนื่องจากจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและกระตุ้นให้มีอาการปวดได้ ผู้ป่วยควรหัดควบคุมอารมณ์ตนเอง เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปด้วย ถึงแม้ว่าโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การประพฤติตนอย่างถูกต้องจะสามารถลดความเจ็บปวดและทำให้ผู้ป่วยมีความ
ข้อมูลจาก : http://www.thairheumatology.org/people01.php?id=88
ความหมายของสุขภาพ
สุขภาพ เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการไม่เป็นโรค สุขภาพเป็นความสมบูรณ์ของคนใน 4 มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และวิญญาณ (ปัญญา) หากสมบูรณ์อย่างสมดุลแล้ว ก็จะเข้าสู่ที่เรียกว่าสุขภาวะ ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก
สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมทั้งการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและทางใจ สุขภาพที่ดีมีส่วนทำให้ชีวิตของเรามีความสุข
+ สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย

http://goo.gl/72BPC