การรักษาพยาบาลโรค thairheumatology82
โรคเก๊าท์เทียม
เป็นโรคข้ออักเสบจากผลึกเกลือชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า calcium pyrophosphate dihydrate สามารถก่อให้เกิดการอักเสบเลียนแบบโรคเก๊าท์ได้ จึงเรียกว่าโรคเก๊าท์เทียม โรคเก๊าท์เทียมพบได้ในผู้ใดบ้าง ?
โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป พบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย นอกจากนี้สามารถพบได้ในผู้ที่มีความผิดปกติทางระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซั่มบางอย่าง
โรคนี้มีอาการและอาการแสดงอย่างไรบ้าง ?
ผู้ป่วยโรคนี้อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการและอาการแสดงต่าง ๆ กันออกไป เช่น
1. บางรายมาด้วยอาการข้ออักเสบเฉียบพลันแบบเป็น ๆ หาย ๆ เลียนแบบโรคเก๊าท์
2. บางรายอาจมาด้วยอาการปวดข้อเรื้อรังแบบโรคข้อเข่าเสื่อม หรืออาจพบร่วมกับโรคข้อเข่าเสื่อมได้
3. บางรายอาจมาด้วยอาการของข้ออักเสบเรื้อรังเลียนแบบโรครูมาตอยด์ได้
4. บางรายอาจไม่มีอาการแต่สามารถตรวจพบได้ทางภาพรังสี
6. อาการปวดคอที่เป็นอาการปวดร้าวมาจากอวัยวะอื่น ๆ โรคบางชนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอาจมีอาการปวดร้าวมาที่บริเวณลำคอได้
4. การวินิจฉัยโรคเก๊าท์เทียม
การวินิจฉัยโรคนี้จำเป็นต้องอาศัยการตรวจน้ำไขข้อซึ่งจะพบผลึกเกลือ calcium pyro-phosphate dihydrate ซึ่งแยกได้จากผลึกยูเรตในโรคเก๊าท์ และต้องอาศัยการตรวจทางภาพรังสีที่จะตรวจพบลักษณะหินปูนจับที่แนวกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้
5. การรักษาโรคเก๊าท์เทียม

ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถไปละลายหินปูนออกจากกระดูกอ่อนได้ ดังนั้นการรักษาโรคนี้ส่วนใหญ่จึงเน้นไปที่การรักษาอาการอักเสบของข้อ การป้องกันการเป็นซ้ำ และการตรวจหาโรคร่วมที่อาจพบร่วมกับโรคเก๊าท์เทียม พร้อมให้การรักษาควบคู่กันไป
1. การรักษาทางยา ในรายที่มีข้ออักเสบเฉียบพลัน แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบ เช่น ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ หรืออาจใช้ยาโคลชิซิน เหมือนกับการรักษาในโรคเก๊าท์
2. ในรายที่มีน้ำไขข้อมาก การดูดเอาน้ำไขข้อออกจะสามารถช่วยลดการอักเสบของข้อได้
3. ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อยารับประทาน อาจจำเป็นต้องใช้ยาฉีดเข้าข้อ ซึ่งการรักษาแบบนี้ไม่ควรจะกระทำบ่อย
4. การทำกายภาพบำบัด เป็นส่วนสำคัญเหมือนกับการดูแลข้ออักเสบทั่วไป
ข้อมูลจาก : http://www.thairheumatology.org/people01.php?id=82
ความหมายของสุขภาพ
สุขภาพ เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการไม่เป็นโรค สุขภาพเป็นความสมบูรณ์ของคนใน 4 มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และวิญญาณ (ปัญญา) หากสมบูรณ์อย่างสมดุลแล้ว ก็จะเข้าสู่ที่เรียกว่าสุขภาวะ ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก
สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมทั้งการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและทางใจ สุขภาพที่ดีมีส่วนทำให้ชีวิตของเรามีความสุข
+ สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย

http://goo.gl/72BPC