การรักษาพยาบาลโรค Glaucoma
ต้อหิน (Glaucoma)
ต้อหิน (Glaucoma) พบได้บ่อยในกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือในครอบครัวที่มี ประวัติเคยเป็นโรคนี้ สาเหตุเกิดจากความดันในลูกตาสูงกว่าปกติ จนเป็นผลทำให้ประสาทเสื่อม และสูญเสียลานสายตาที่มีลักษณะเฉพาะ
:: อาการ
จะขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหิน ถ้าผู้ป่วยต้อหินเรื้อรัง หรือชนิดมุมเปิด (primary open glaucoma) ในระยะแรก จะไม่รู้สึกมีอาการผิดปกติแต่อย่างไร บางคนอาจมี อาการมึนศรีษะ เล็กน้อย มีอาการตามัวทีละน้อย ต้องเปลี่ยนแว่นตาอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่รู้สึกดีขึ้น ต่อมาลานสายตาจะแคบลงกว่าเดิม จนในระยะสุดท้ายจะมีอาการปวดศรีษะ ปวดตาร่วมกับอาการตามัวอย่างมาก มักเป็นทั้งสองข้าง
ผู้ป่วยต้อหินเฉียบพลันชนิดมุมเปิด (primary angle closure glaucoma) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง บริเวณกระบอกตา และหน้าผากอย่างเฉียบพลัน ร่วมกับอาการตาพร่ามัว เหมือนมีหมอกมาบัง มองเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ มักเป็นข้างเดียว และมีอาการคลื่นใส้อาเจียนร่วมด้วย
:: สิ่งที่ตรวจพบ
ต้อหินชนิดเรื้อรัง จะพบว่า ความดันในลูกตาจะสูงเกินกว่า 21 มม.ปรอทมีลานสายตาผิดปกติ และ/หรือ มีการเปลี่นแปลงที่ขั้วประสาทตา (optic nerve head)ในลักษณะที่เรียกว่า glaucomatous cuooing (cup/disc มากกว่า 0.5)
ต้อหินชนิดเฉียบพลันจะพบว่าเยื่อบุตาขาวรอบ ๆ กระจกตาดำมีสีแดงเรื่อย ๆ (ciliary injection) มากกว่าบริเวณอื่น กระจกตาดำจะบวมทำให้มีลักษณะขุ่นมัว รูม่านตาขยายปานกลาง ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง ใช้นิ้วกดลงบนเปลือกตาบนขณะทีให้ผู้ป่วยมองต่ำ จะแข็งมากกว่าข้างที่ไม่ปวด
:: การรักษา
  1. รีบส่งต่อจักษุแพทย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยต้อหินชนิดเฉียบพลัน ถ้าวินิจฉัยโรคหรือทำการรักษาช้า อาจจะทำให้ตาบอดได้
ความหมายของสุขภาพ
สุขภาพ เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการไม่เป็นโรค สุขภาพเป็นความสมบูรณ์ของคนใน 4 มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และวิญญาณ (ปัญญา) หากสมบูรณ์อย่างสมดุลแล้ว ก็จะเข้าสู่ที่เรียกว่าสุขภาวะ ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก
สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมทั้งการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและทางใจ สุขภาพที่ดีมีส่วนทำให้ชีวิตของเรามีความสุข
+ สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย

http://goo.gl/72BPC