การรักษาพยาบาล โรคภัยไข้เจ็บ
ส่าไข้
หัด
หัดเยอรมัน
ไข้ดำแดง
โรคสุกใส
ไข้หวัดใหญ่
คออักเสบ
หลอดลมอักเสบ
ปอดอักเสบ
วัณโรคปอด
เยื้อหุมปอดอักเสบ
คอตีบ
หืด
ไอกรน
หลอดลมฝอยอักเสบ
ใส้ติ่งอักเสบ
เยื้อบุช่องท้องอักเสบ
ถุงน้ำดีอักเสบ
อาหารเป็นพิษ
กระเพาะอักเสบ
บิดซิลเกลลา
ไข้ไทฟอยด์
ตับอักเสบจากไวรัส
ฝีในตับ
มะเร็งตับ
ไข้เลือดออก
มาลาเรีย
เล็ปโตสไปโรซิส
โลหิตเป็นพิษ
กรวยไตอักเสบ
หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
มดลูกอักเสบ
การอักเสบในอุ้งเชิงกราน
แท้งบุตร
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง
ผิวหนังอักเสบ
ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
หัวใจขาดเลือด
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
โรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบ
โรคข้อเสื่อม
โรคข้อรูมาตอยด์
โรคข้อรูมาตอยด์เด็ก
โรคข้อหลังอักเสบ
โรคข้ออักเสบไรเตอร์
โรคเก๊าท์เทียม
โรคไฟโบรซัยติส
โรคกล้ามเนื้ออักเสบ
โรคกระดูกพรุน
โรคผิวหนังแข็ง
อาการปวดมือและข้อมือ
อาการปวดคอ
อาการปวดไหล่
อาการปวดหลัง
อาการปวดเข่า
โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก
โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
ไอทีพี
ปวดศรีษะจากความเครียด
ไมเกรน
ความดันโลหิตสูง
เนื้องอกในสมอง
ฝีในสมอง
เยื่อบุสมองอักเสบ
เส้นโลหิตโป่งพองในสมอง
หลอดโลหิตแดงบริเวณขมับอักเสบ
ต้อหิน
การบาดเจ็บที่ศรีษะ
สมองอักเสบ
ไซนัสอักเสบ
ข้อเสื่อม
ข้ออักเสบรูมาติก
โรคเกาต์
ข้ออักเสบรูมาตอยด์
ข้ออักเสบชนิดติดเชื้อ
โรคผื่นแดง
ข้อเคล็ดข้อเคลื่อน
ปลาดิบในทะเล มีพยาธิ อย่างแน่นอน ภาพจาก popsugar.com + บทความใน ม.มหิดล โดย ดร.ภก.จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล และ ภก.สุเมธ จงรุจิโรจน์ ภาควิชาจุลชีววิทยา ระบุว่า มีความเชื่อผิด ๆ ว่า ไม่พบพยาธิในปลาน้ำทะเลอย่างแน่นอน จะพบพยาธิเฉพาะปลาน้ำจืดเท่านั้น จึงรับประทานปลาดิบจากทะเลได้อย่างสบายใจ ในความเป็นจริงปลาทะเลก็มีพยาธิได้ ดังข่าวเมื่อสิงหาคม 2554 ว่าพบพยาธิตัวกลมชนิดหนึ่งในปลาดิบที่ขายอยู่ตามร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไป เจ้าพยาธิที่ว่านี้มีชื่อ อะนิซาคิส (Anisakis simplex) ทำให้เกิดโรคเอนิซาคิเอซิส (Anisakiasis) ตรวจพบได้ในปลาหลายชนิด เช่น ปลาดาบเงิน ปลาตาหวาน ปลาสีกุน ปลาทูแขก ปลากุเลากล้วย ปลาลัง ปลาคอด ปลาแซลมอน ปลาเฮอริ่ง เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว พยาธิอาจจะชอนไชไปตามทางเดินอาหาร อยู่ในลำไส้ หรือในช่องท้อง
+ ระหว่างปี พ.ศ.2508 - 2530 มีรายงานว่าพบผู้ป่วยในประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 4000 ราย ซึ่งพบการเกิดก้อนทูมในกระเพาะอาหารมากที่สุด ถ้าตัดก้อนทูมจะพบพยาธิอยู่ภายในก้อนทูม การรักษาทำได้โดยการผ่าตัด แล้วปี พ.ศ.2538 มีรายงานพบผู้ป่วยในญี่ปุ่นประมาณ 2000 ราย ในสหรัฐอเมริกามีรายงานการพบผู้ป่วยประมาณ 500 รายต่อปี ในยุโรปมีประมาณ 500 ราย สำหรับประเทศไทยก็มีรายงานการพบผู้ป่วยครั้งแรกจากพยาธิชนิดนี้ในชาวประมงทางภาคใต้ และยังมีรายงานว่าพบผู้ที่เกิดอาการแพ้ต่อพยาธิตัวนี้ทำให้เกิดผื่นลมพิษ ดังนั้นการรับประทานปลาดิบ อาหารอันเลื่องชื่อของแดนอาทิตย์อุทัย จึงต้องสังเกตเนื้อปลาว่ามีตัวอ่อนของพยาธิปะปนอยู่หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย
+ http://health.kapook.com/view99882.html
+ http://www.manager.co.th
+ http://women.thaiza.com/
กินอาหารทะเล มีสารพิษ ส่งผลถึงตับ ไต ใส้ พุง ได้รับพิษ ภาพหอยจาก nytimes.com อ่านข่าว thairath 25 มี.ค.57 พบว่า กรมอนามัย แนะนำกินอาหารหน้าร้อนปลอดภัย ให้เลี่ยงประเภทหอย ซึ่งเป็นแหล่งสะสมขี้ปลาวาฬ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้ปากชา แน่นหน้าอก ห่วงอันตรายจากแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหารทะเล
โดย ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อุณหภูมิที่สูงในช่วงหน้าร้อน ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหารทะเลเจริญเติบโตได้ง่าย อีกทั้งยังพบมีโลหะหนักหลายชนิด ทั้งตะกั่ว สังกะสี แคดเมียม และทองแดง ในอาหารทะเล ประเภทปูม้า หอยนางรม และปลาหมึก โดยสารพิษเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และยังมีพิษอื่น ๆ ที่อาจพบได้ในอาหารทะเล อาทิ ขี้ปลาวาฬ ที่เกิดขึ้นจากแพลงตอนจำพวกไดโนแฟลกเจลเลต (Dinoflagellate) สามารถพบได้ในน้ำทะเลทั่วๆ ไป สังเกตุได้จากน้ำมีสีน้ำตาลแดง เมื่อมีอากาศร้อนจัดสัตว์ชนิดนี้ จะแบ่งเซลล์และเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลอย่างรวดเร็ว โดยขี้ปลาวาฬจะเข้าสู่สัตว์ทะเลผ่านทางห่วงโซ่อาหาร พบมากในหอย ซึ่งจะสร้างสารพิษพวกไบโอท็อกซิน (Biotaxin) ที่ทนความร้อน ไม่สามารถทำลายได้ในกระบวนการปรุงอาหาร เมื่อกินเข้าไปจะทำให้มีอาการชาบริเวณปากและทำให้แน่นหน้าอก เคลื่อนไหวลำบาก บางรายมีอาการอาเจียนด้วย
จากการตรวจวิเคราะห์ พบขี้ปลาวาฬ และไบโอท็อกซินในปริมาณที่สูงมาก ส่วนใหญ่พบในหอยสองฝา เช่น หอยกะพง หอยนางรม ซึ่งกินแพลงตอนทุกชนิด โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน เป็นช่วงที่มีแพลงตอนชนิดนี้มากในน้ำทะเล โอกาสที่หอยนางรมเป็นพิษก็เกิดได้มากเช่นเดียวกัน ก่อนกินจึงควรนำไปแช่น้ำปูนเพื่อลดความเป็นพิษ หรืองดกินในช่วงนี้ก็จะเป็นการดี นอกจากนี้ในอาหารทะเลยังพบแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคท้องร่วงมากที่สุด คือ เชื้ออหิวาต์เทียม หรือวิบริโอพารา ฮีโมไลติคัส (vibrioparahaemolyticus) เชื้อชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในน้ำทะเลและอาหารทะเล เช่น ปลา ปูม้า หอย กุ้ง กั้ง ปูทะเล และปลาหมึก เป็นต้น และยังพบในอาหารประเภทหอยแครงลวก ปลาดิบ ยำหอยนางรม ปูดอง หอยดอง ซึ่งพบเชื้อได้ทั้งปีแต่จะพบมากช่วงหน้าร้อน ในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ซึ่งอาการที่ปรากฏชัด หลังจากกินเข้าไป 12-24 ชั่วโมง คือ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง อาจมีอาการปวดศีรษะและหนาวสั่นร่วมด้วย
ระแวง อาการของโรคสมองเสื่อม "ลืมกินยา หงุดหงิดง่าย ตัดสินใจไม่ถูก ลืมสิ่งที่เคยทำประจำ วางของผิดที่ สับสนเรื่องเวลา หยุดสนทนากลางคัน เดินเรื่อยเปื่อย"
เหตุเกิดวันนี้ (1 เม.ย.58) เป็นครั้งแรกที่ผมขังเพื่อนร่วมงานไว้ในห้องสำเร็จ ทุกครั้งจะรู้ตัวหลังก้าวห่างประตูไปไม่กี่ก้าว แล้วกลับไปไขคืน เนื่องจากในห้องทำงานอยู่กันเพียง 2 คน ครั้งใดจะออกห้องก็ต้องล็อกทุกครั้ง วันนี้ล็อกห้องทำงาน ทั้งที่เพื่อนอยู่ในห้อง เพราะใจจดจ่อกับเรื่องอื่น จึงปล่อยให้ร่างกายถูกควบคุมโดยสมองส่วนใน แล้วสมองส่วนนอกคิดอีกเรื่อง ทำให้รู้สึกว่าความขี้หลงขี้ลืม เป็นอาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมคงอยู่อีกไม่ไกลเลย แล้วนึกถึงการก่ออาชญากรรมของผู้คนในข่าว เชื่อว่าเหตุการณ์มากมายที่มีผู้กระทำผิด ถูกคุมด้วยสมองส่วนใน/สมองของสัตว์เลื้อยคลาน หรือสมองเสื่อม ตามทฤษฎีสมองสามส่วน
ต.ย.สมองเสื่อมชั่วคราว : ลืมข้อสอบที่ท่องมา ขับเลยป้ำน้ำมัน ซื้อของไม่ครบ ส่งงานช้า
+ http://www.thaiall.com/hci/
+ http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/

http://goo.gl/72BPC