%EF%BF%BD%EF%BF%BD%D0%AA%EF%BF%BD%EF%BF%BD%20Wunca%20(Workshop%20on%20Uninet%20Network%20and%20Computer%20Application)%20%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%E9%A7%B7%EF%BF%BD%EF%BF%BD%209
WUNCA :: Workshop on Uninet Network and Computer Application
http://www.wunca.uni.net.th/9/





หัวข้อนี้ ส่วนใหญ่เขียนจากประสบการณ์ฟัง จึงอาจมีข้อผิดพลาด หากต้องการข้อมูลที่เชื่อถือได้ 100% ขอให้เปิดเว็บต่าง ๆ ที่ท่านเชื่อถือ สิ่งใด ๆ ที่ถูกต้องขอให้เป็นความดีขอผู้บรรยาย ผู้จัดงาน และเจ้าของข้อมูลทั้งหมด สิ่งที่เป็นข้อผิดพลาด ขอให้เป็นความผิดของผม และถ้าท่านพบสิ่งใดผิด โปรด e-mail บอกผม เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ถูกต้องต่อไป
    สารบัญ
  1. การเดินทาง
  2. Internet 2 หรือ IPV6
  3. Course ware หรือ e-Learning
    >> http://www.thaiall.com/e-learning
    >> http://www.thaiall.com/quiz
  4. ร่วมเป็นวิทยากร ในฐานะสมาชิกใหม่เรื่อง campus network
  5. วาระการประชุม


1. การเดินทาง

    ผมเดินทางตี 5 เช้าวันที่ 11 ธันวาคม 45 จากลำปางไปเชียงราย ใช้เวลาตั้ง 4 ชั่วโมง เพราะค่อย ๆ ขับแบบง่วงไปขับไป ก็ได้คุณสุวิทย์ที่เดินทางไปด้วย นั่งคุยเป็นเพื่อน วันที่กลับ คือเย็นวันที่ 13 ผมกลับคนเดียวตั้งแต่ 6 โมงถึงบ้านก็ 4 ทุ่ม ขับรถใจเย็นมาก เพราะทางยังสร้างไม่เสร็จ ทางจากลำปางไปพะเยายังไม่เสร็จ เป็นทางที่สร้างมาไม่น้อยกว่า 5 ปี เพราะจำได้ว่าปี 41 กำลังสร้าง แต่ปีนี้ 45 ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะเสร็จเพราะไม่เห็นเครื่องจักรทำงานเลย .. คงอีกนานที่จะพาลูก ๆ ไปเที่ยวพะเยา ได้อย่างสบายใจ เพราะทางนี่หละครับ

2. Internet 2 หรือ IPV6

    เป็นอีกครั้งที่ได้ฟังเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเข้ามาทุกที IPV6 หรือ Internet protocol version 6 หรือ Internet 2 เป็นเครือข่ายใหม่ ที่รอบรับปัญหา IPV4 กำลังจะเต็มในอนาคต จากเดิมที่เราใช้เลข 4 ชุดซึ่งใช้ 4 Byte หรือ 32 bit มากำหนดเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ใน IPV6 จะใช้เลขถึง 128 bit ในการติดต่อในประเทศไทยมีหลาย ๆ สถาบันของรัฐ ที่เริ่มศึกษา และทดลองใช้เครือข่าย internet 2 นี่แล้ว

    What is IPv6?
    IPv6 is short for "Internet Protocol Version 6". IPv6 is the "next generation" protocol designed by the IETF to replace the current version Internet Protocol, IP Version 4 ("IPv4").
    Most of today's internet uses IPv4, which is now nearly twenty years old. IPv4 has been remarkably resilient in spite of its age, but it is beginning to have problems. Most importantly, there is a growing shortage of IPv4 addresses, which are needed by all new machines added to the Internet.
    IPv6 fixes a number of problems in IPv4, such as the limited number of available IPv4 addresses. It also adds many improvements to IPv4 in areas such as routing and network autoconfiguration. IPv6 is expected to gradually replace IPv4, with the two coexisting for a number of years during a transition period.
      เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเรื่อง IPV6
      http://www.coe.psu.ac.th/ipv6
      http://www.ipv6.org
      http://www.internet2.edu
      http://www.freenet6.net
      http://playground.sun.com/pub/ipng/html
      http://www.6bone.net
      http://www.6ren.net
      http://ipng.ip6.fc.ul.pt
      http://www.stardust.com/ipv6/index.htm
      http://www.ipv6.ru
      http://www.eurescom.de/public/projects/P700-series/P702/html/brochure.htm
      http://www.ipv6forum.com
      http://hs247.com
      

3. Course ware หรือ e-Learning

    เรื่องของ e-Learning นี่ มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ทุกสถาบันต่างพัฒนากันไปคนละทิศคนละทาง แต่มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ ผมคิดเหมือนเขา การทำ e-Learning แบ่งเป็น 2 แนวที่ชัดเจน และทำให้ผมไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ในที่ประชุมกลุ่มย่อย
    1. การพัฒนา e-Learning โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ผู้จัดทำ นักศึกษา และสถาบันเป็นหลัก
    2. การพัฒนา e-Learning โดยเปิดให้คนทั้งโลกได้เข้าไปศึกษา โดยไม่มีการตรวจสอบสิทธิ์การเข้าใช้
    สำหรับสิ่งที่ผมต้องการเสนอในที่ประชุม แต่ไม่กล้าเสนอคือ .. ให้อาจารย์พัฒนาเนื้อหา (Content management system) ในสถาบัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่ทั้งประเทศใช้ร่วมกันในรูปแบบของ XML ส่วน LMS(Learning management system) ซึ่งเป็นหน้ากาก ต่างคนต่างพัฒนาได้ เพราะหลักการของ XML คือการเปิดให้เรียกใช้ข้อมูลจากที่ใด ๆ ได้โดยอิสระ .. ปัญหานี้คือการทำงานเพื่อส่วนรวม โดยให้ทุกคนคัดลอกข้อมูลไปใช้ได้ .. แต่หลายคนไม่พร้อมที่จะทำงาน โดยมีผลตอบแทนไม่คุ้มค่าเหนื่อย และผมก็ต้องตกใจที่รัฐบาลมีเงินสนับสนุนการสร้าง course ware ประมาณ 5 แสนต่อวิชา และปีต่อมาลดเหลือประมาณ 2 แสนห้าต่อวิชา .. ผมเองเห็นว่ามีประโยชน์มาก เพียงแต่มีคำถามตามมาเต็มไปหมด ท่านอาจเข้าไปดูวิชาต่าง ๆ ได้ที่http://www.uni.net.th/html_file/Dtl/dtl_CW44.htm..นี่เป็นเพียงความคิดเห็นเท่านั้น
    สำหรับชื่อของโครงการที่แต่ละสถาบันใช้เรียกก็ไม่เหมือนกันเช่น course ware, e-learning, vclass, online learning, wbi, cai เป็นต้น
      เว็บไซต์ที่ให้บริการเรื่อง e-Learning

4. ร่วมเป็นวิทยากร ในฐานะสมาชิกใหม่เรื่อง campus network

    ในฐานะที่วิทยาลัยโยนกเป็นสถาบันเอกชนอีกแห่งหนึ่ง ที่เข้าร่วมโครงการ Uninet จึงได้รับเชิญให้เล่าถึงสถานะของเครือข่าย ว่า campus network ของเราเป็นอย่างไรบ้าง ผมขึ้นไปรายเกือบเป็นคนสุดท้าย เพราะมีจุฬาฯ เกษตรฯ ขอนแก่น ขึ้นไปบรรยายก็เกือบหมดเวลาแล้ว เพราะสถาบันดังกล่าวมีเครือข่ายที่สมบูรณ์มาก ๆ เช่น เกษตรฯ มี wireless access point มากถึง 50 ตัว ทำให้นักศึกษา หรืออาจารย์สามารถใช้ notebook นั่งที่สนามกีฬา และตรวจ e-mail หรือทำงานส่งอาจารย์ได้ หรือ จุฬาที่มี backbone หลักใหญ่ถึง 100 Mbps เป็นต้น
    แต่ของวิทยาลัยโยนก เป็นเพียงระบบเล็ก ๆ ผมก็รายงานไปตรง ๆ เรามีเครือข่ายที่สมบูรณ์ เพียงอาคารเดียว เชื่อมต่อเข้า Uninet ที่ 2 Mbps แต่ขาออกต่างประเทศเราเช่า 128 Kbps เสียค่าใช้จ่ายโดยรวมประมาณ 6 หมื่นกว่าบาท ส่วนอาคารต่าง ๆ เราเดิน fiber optic มาตั้งแต่กลางปี 2544 ขาดงบประมาณชื้ออุปกรณ์อีก 5 แสนเพื่อเชื่อมอาคารต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เราจึงใช้ modem เชื่อมจากอาคารต่าง ๆ เข้ามาที่อาคารใหญ่ของเรา .. สำหรับ server เรามีเกือบทุกตัว ยกเว้น proxy ที่เคยใช้แต่เลิกไปเพราะไม่จำเป็น ส่วน firewall เราก็ยังไม่ได้ติดตั้ง เพราะไม่มีบุคลากรที่มีเวลาพอที่จะดูแล .. แต่หลังจากการประชุมครั้งที่ ทำให้ผมมีกำลังใจมากขึ้น และคุยกับคุณสุวิทย์ว่าจะให้เขาใช้ windows xp สำหรับทำ proxy และ firewall เพราะเราได้เครื่องใหม่มา สำหรับ server อื่น ๆ ก็ยังใช้เครื่องเก่าต่อไป .. ผมใช้เวลานำเสนอเพียง 3 - 5 นาที เพราะได้เลยว่าลาปิดประชุมมาหลายนาทีแล้ว

WUNCA 9th UniNet Winter Meeting 2002 "Meeting in the Mist"

...................................................................................................................................................................................................................................
ระยะเวลาดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2545
วันเวลารายการวิทยากรสถาบัน
11
ธ.ค.
45
09.15-09.30พิธีเปิดนายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เปิด อธิการ กล่าวรายงานมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
09.30-10.45บรรยายพิเศษ Internet2Heather Boyle & Ana PrestonInternet2
10.45-11.00Break
11.00-11.30UniNet Updateดร.ธนากร อ้วนอ่อนUniNet
11.30-12.00รายงานการดำเนินงานคณะทำงานด้านต่าง ๆ (Working Group)ประธาน Working Group ทุกกลุ่ม
12.00-13.00Lunch
Track I - Multimedia Courseware Showcase
13.00-13.45การพัฒนา Courseware ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13.45-14.30การพัฒนา Courseware ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีผศ.วรรณวไล อธิวาสน์พงศ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
14.30-15.00Break
15.00-15.45การพัฒนา Courseware ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
15.45-16.30การพัฒนา Courseware ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อ.นิษฐิดา นวลศรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Track II - Network & Application
13.00-13.45Video Multicast Over IP Networkรศ.สุรศักดิ์ สงวนพงศ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
13.45-14.30e-Creativityอ.ธงชัย โรจน์กังสดาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14.30-15.00Break
15.00-15.45Voice, Video and Data Convergence in Campus Networkนายอุกฤษณ์ วงศ์ศราวิทย์บริษัท เดอะ คอมมูนิเคชั่น โซลูชั่น จำกัด
15.45-16.30IPv6 Implementation in PSUรศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
17.00-18.30Working Group Meeting
IPV6 working group
Policy working group
Webcache working group
e-Learning working group
Security working group
Network Monitoring..
GIS working group
ประธาน Working Group ทุกกลุ่ม
รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์
นายอรรณพ วิริยะวิทย์
อ.อัครินทร์ คุณกิตติ
ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์
อ.นิษฐิดา นวลศรี
รศ.สุรศักดิ์ สงวนพงศ์
..
Track III CIO and IT Executive meeting
13.00-16.00CIO and IT Executive meeting
12
ธ.ค.
45
09.00-09.50การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านระบบ e-Learning ผศ.ฐาปนีย์ ธรรมเมธามหาวิทยาลัยศิลปากร
09.50-10.40VClass Applicationดร. เอกวุฒิ สุจเรสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
14.40-11.00Break
11.00-12.00Grid Applicationผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาสมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
12.00-13.00Lunch
Track I - Application
13.00-13.45ศูนย์ความเป็นเลิศ ทบวงมหาวิทยาลัยรศ.ดร. ชัยยุทธ ขันทปราบ สำนักงานโครงการเงินกู้
13.45-14.30ThaiLIS - Union Catalog and Digital Collection Implementationนายจีระพล คุ่มเคี่ยมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
14.30-15.00Break
15.00-15.45การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมประเมินพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยนางสาวภาณี ถิรังกูรมหาวิทยาลัยขอนแก่น
15.45-16.30Complete e-Learning Solutionนายอนันต์ วรธิติพงศ์บริษัท เทเลแซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด
Track II - Network
13.00-13.45Introduction to Session Initiation Protocol (SIP)นายอุดม ลิ้มมีโชคชัยบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
13.45-14.30
14.30-15.00Break
15.00-15.45UniNet Routing Policy and Managementนายทวี ศรีบุศย์ดีUniNet
15.45-16.30UniNet Network Security and Policyนายมนัสศิริ จันสุทธิรางกูรUniNet
13
ธ.ค.
45
09.00-09.20Open Paper เรื่องนายแสงเพ็ชร พระฉายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
09.20-11.00รายงานสถานะเครือข่ายภายในสถาบัน (Campus Network)ผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้แทนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้แทนมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้แทนมหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แทนสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ผู้แทนวิทยาลัยโยนก
11.10-11.15Break
11.15-11.45สรุปการประชุมรศ.ดร.วันชัย ริ้วไพบูลย์UniNet
11.45-12.00พิธีปิดรศ.ดร.วันชัย ริ้วไพบูลย์UniNet
Lunch ณ...
13.00-17.00ทัศนศึกษา พระตำหนักดอยตุง
ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมเยือน .. แล้วเข้ามาใหม่นะครับ .. ยินดีต้อนรับเสมอ