%EF%BF%BD%EF%BF%BD%CD%A8%D3%A1%D1%B4%EF%BF%BD%CD%A7%20Data%20Transfer%20%EF%BF%BD%EF%BF%BD%CD%BB%D1%AD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%CB%AD%EF%BF%BD%CD%A7%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%D0%BA%EF%BF%BD
สารบัญ
ชวนคิดด้วยเรื่อง ตายอย่างสงบ (พระท่านชวนคิด)
ที่มาของเรื่อง Data Transfer
ปัญหา และวิธีแก้
ท่านกระทบอย่างไรกับ Data Transfer
เหตุผลที่ผมไม่ย้าย thaiall.com
Short Note
- 2549-07-27
- 2546-08-26
- 2545-01-16
เปรียบเทียบ Web Hosting
บทนำ
วันนี้หลาย ๆ ท่านอาจยังไม่พบปัญหา Data Transfer หรือ Bandwidth แต่ถ้าท่าน จ่ายค่าเช่าไม่แพงนัก และทำเว็บไซต์อย่างตั้งใจ .. ไม่ได้สักแต่ว่าทำ หรือรับจ้างทำเว็บ ท่านอาจพบปัญหานี้ในไม่ช้า เว็บไซต์ของผมเจอปัญหานี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะตั้งใจทำเว็บไซต์มาตั้งแต่ปี 2542 และจะเล่าให้ฟังต่อไป .. (น่าอ่านจริง ๆ รับรอง)
ตัวอย่างปัญหา Data Transfer
ถ้าท่านมีเพียง 1 เว็บเพจ แล้วได้ Bandwidth มา 3 GB และเว็บเพจของท่านรวม .html และ .jpg รวมแล้ว 1 แสนไบท์ สรุปได้ว่า เดือนหนึ่งจะมีคนเข้าเว็บเพจของท่านได้เพียง สามหมื่นครั้ง หรือ 30,000 page view (1 แสนไบท์ * 30,000 ครั้ง = 3 GB) หรือ 1,000 ครั้งต่อวัน
จากตัวอย่างข้างต้น ถ้าเว็บของท่านมี 10 เว็บเพจ ๆ ละ 1 แสนไบท์ และผู้เยือนเว็บไซต์ของท่าน เปิดดูทั้ง 10 เว็บเพจทุกคน ใน 1 วัน จึงมีผู้ใช้เข้าดูได้เพียง 100 คนต่อวัน และ คนที่ 101 ก็จะเข้าเว็บไซต์ของท่านไม่ได้ .. ถ้าเข้าได้ก็หมายความว่าท่านต้องจ่ายค่าปรับ .. เหมือนผม
:: แต่ไม่ต้องห่วงนะครับ .. ทุกปัญหาแก้ได้ด้วยเงิน ::
ชวนคิดด้วยเรื่อง ตายอย่างสงบ (พระท่านชวนคิด)
เคยอ่านเรื่อง ตายอย่างสงบ เรื่องที่ฝึกได้ เตรียมได้ จาก นิตยสาร Image Volume 17 No.7 July 2004
โดย ผู้เขียน : บิลกีส แหล่งข้อมูลจาก เครือข่ายพุทธิกา (budnet.org)
การอบรม 'เผชิญความตายอย่างสงบ' ที่จัดขึ้นโดยเครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย และเสมสิกขาลัย เป็นความพยายามอันหนึ่งที่จะนำเรื่องความตายที่ถูกละเลย มาสู่วงสนทนา และการใคร่ครวญ
พระไพศาลเล่าอย่างอารมณ์ดีในการเกริ่น นำการอบรมครั้งที่สอง ที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า “หลายคนบอกให้เราเปลี่ยนชื่อการอบรม เพราะฟังดูน่ากลัว หดหู่ แต่เราบอกเราจะเอาชื่อนี้ เพราะความตายถูกทำให้เป็นเรื่องอุจาด อัปมงคลมามกแล้ว เราเลยไม่พูดไม่จา ไม่สอน กลายเป็นเรื่องหลบๆ ซ่อนๆ ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าเรารู้จักความตายดีพอ จะพบว่ามันไม่ได้มีด้านลบด่านเดียว ถ้าเราสามารถเป็นเพื่อนกับความตายได้ ชีวิตเราจะมีความสุขมาก และความตายของแต่ละคนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ แต่ละคนตายไม่เหมือนกัน ความตายจึงไม่มีคำตอบสำเร็จรูป” .. อ่านต่อ
ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นิตยสาร Image วางแผงฉบับสุดท้าย ในเดือนพฤษภาคม 2559
1. ที่มาของเรื่อง Data Transfer ที่มาของเรื่อง คือ ได้รับ Mail จาก hypermart.net แจ้งว่า ต่อไปเขาจะ Limit เรื่อง Data Transfer เมื่อ 2544
ท้าวความ : ผมใช้บริการ Web hosting กับ Hypermart.net มาเกือบ 2 ปี โดยใช้ชื่อ thaiall.com นับแต่สิงหาคม 2542 โดยเสียค่าบริการ $99 ต่อปี หรือประมาณ 4000 บาทต่อปีนั่นเอง ในสมัยที่เงินในระบบ Internet ยังสะพัด ผมมีรายได้คุ้มกับค่าใช้จ่าย เช่นจาก xdrive.com หรือ click2net.com เป็นต้น
ต้นเดือนมีนาคม 2544 ผมได้รับ mail ฉบับหนึ่งจาก hypermart.net แจ้งว่าต่อไปเขาจำกัด Data Transfer ซึ่งมี Quota ให้เพียง 1 GB/Month ถ้าเกินนี้ เขาจะคิดเงินเพิ่ม 100 Mb/1 Dollar/Month ซึ่งเดิมผมไม่เคยเสียเงินค่าส่วนเพิ่มนี้ หรือเคยมีเงื่อนไขนี้มาก่อน เป็นเงื่อนไข ที่ทาง Hypermart.net แจ้งให้ทราบใหม่
ท่านเชื่อไหมว่าเว็บผม มียอด Page view ประมาณ 3,000 ต่อวัน หรือ 100,000 ต่อเดือน เมื่อเดือนมีนาคม 2544 และมียอดของ Data Transfer พุ่งไปที่ 6 GB โดยเฉลี่ยนแล้ว จะมีการ Upload ข้อมูลขึ้นไป วันละประมาณ 200 Mb หมายความว่าเว็บหน้าหนึ่งผมมีข้อมูลประมาณ 60,000 Byte ในปลายเดือนมีนาคม 2544 ผมต้องตัดสินใจ Upgrade บริการจากที่เสียเงินปีละ $99 เป็นปีละ $299 และได้พื้นที่ทำเว็บเพิ่มจาก 50 Mb เพิ่มเป็น 150 Mb และได้ Quota ของ Data Transfer เพิ่มจาก 1 GB/Month เป็น 4 GB/Month สำหรับเว็บของผมนั้นใช้เนื้อที่เต็มทีแค่ 20 Mb ถึง 30 Mb เท่านั้น และก็ยังนึกไม่ออกว่าจะเอาเนื้อที่มาทำอะไร เพราะข้อจำกัดของ Data Transfer ควบคุมอยู่
Data Transfer คือการวัดจำนวนข้อมูลที่ถูก Download เช่น htm หรือ jpg หรือ gif เป็นต้น สรุปได้ว่าข้อมูลในเว็บ จะถูก Download จาก server ที่ให้บริการทุกครั้ง (ยกเว้นว่าท่านผ่าน Proxy) ขนาดของ thaiall.com เฉพาะหน้าแรก ต้อง Download ไปแสนกว่า Byte จึงจะหยุด Download ถ้าเครื่องท่าน Download ได้เร็ว 8 Kbps(1 KiloByte ต่อวินาที) จะใช้เวลา 100 วินาที หรือนาทีครึ่ง สำหรับข้อมูล 1 แสนไบต์ (บางเว็บเฉพาะหน้าแรก รวมทุกอย่าง 5 แสนก็ยังมีเลยครับ)
Data Transfer : This is the amount of Data Transfered to visitors as they view your web page. HostSave allows each web site a generous amount of data traffic. Most web sites use much less. For example, as you visited this page 36.72 kilobytes was transfered (the size of the page including graphics) over the net to your browser. To reach the 4000 MB allowance is equivalent of 106,044 visitors downloading this page!! [http://hostsave.com/hosting_detail.html#datatransfer]
ตัวอย่างเว็บเพจที่มีผู้เข้าใช้บริการ มากเกิน Bandwidth ที่กำหนด (บันทึก พฤษภาคม 48)
Bandwidth Limit Exceeded
The server is temporarily unable to service your
request due to the site owner reaching his/her
bandwidth limit. Please try again later.

Apache/1.3.33 Server at www.has-it.net Port 80
2. ปัญหา และวิธีแก้ เพราะถ้าผมเฉย ผมจะต้องเสียเงินอีกมากมาย เป็นค่าปรับ จึงต้องมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
เดือนมีนาคม นักศึกษาปิดภาคเรียน จำนวนคนเข้าน้อยลง แต่ยอดของเว็บก็ยังเกิน Quota ที่เขาให้ไปตั้ง 2 GB ทั้งที่ผมเสียเงินเพิ่มอีกปีประมาณ 8,000 บาท กลายเป็นว่าต่อไปผมต้องจ่ายค่า Web hosting เว็บเดียวนี้ ปีละ 12,000 บาท การใช้ Data Transfer ก็ยังเกิน Quota อยู่ดี ถ้าทำเฉย อาจต้องเสียค่าปรับ 2 GB สำหรับส่วนเกินนี้อีก เดือนละ $20 คิดอย่างไรก็ไม่ดี เพราะผมมีรายได้จากเว็บเดือนหนึ่ง ยังไม่พอค่าเช่าเลย จะหาที่ไหนไปจ่ายค่าปรับได้
จากเหตุผลด้านบนที่ไม่สามารถยอมเสียค่าปรับ ผมจึงต้องลดขนาดของเว็บลง ให้เหลือน้อยลง เพื่อผู้ใช้จะได้ลดขนาดการ Download ข้อมูลไป แต่ก็ยังพยายามได้ไม่ดีพอ เพราะปลายเดือนพฤษภาคม 2544 ผมได้รับ Mail แจ้งว่า ผมใช้ Data Transfer เกินไปเกือบ 300Mb เขาจึงคิดค่าปรับ $3 และเขาก็ปรับผมจริง ๆ ด้วย เข้าเดือนมิถุนายน 2544 นักศึกษา นักเรียน เปิดเรียน จำนวนการเข้าเว็บสูงขึ้นมาก ผมไม่สามารถปล่อยให้ Data Transfer เกิน 4 GB ได้อีก จึงได้ทำการลดขนาดเว็บ เกือบทุกทาง เท่าที่จะทำได้ .. ปัจจุบัน ยังไต่ระดับ 4 GB แบบต้องลุ่นกันทุกเดือนเลยครับ แม้วิธีแก้ปัญหาหนึ่งจะเป็นการย้าย Host แต่ก็ยังไม่คิด เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง ที่ผมจะเล่าต่อไป
    ขอเรียนว่า เป็นวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (แม้มีทางอื่นให้เลือกผมก็ยังไม่ได้เลือก)
  1. ย้าย หน้าแรกของ thaiall.com ไปอยู่ thai.net (ต้องขอบคุณ thai.net จริง ๆ ที่เอื้อเฟื้อ)
  2. ย้าย ภาพเกือบทั้งหมด ไปอยู่ thai.net แต่ตัวเว็บยังอยู่ที่ thaiall.com เพราะยังใช้ CGI คุม header กับ footer
  3. ย้าย โปรแกรมประมวลผลบางตัวออกไป เช่นเกมมหาเศรษฐี ที่เขียนด้วย Perl ออกไป แต่ไม่สำเร็จ

  4. เพราะ Server ที่ย้ายไปช้าจนรับไม่ได้ บางแห่งลบ Account ผมออก ทั้งที่ใช้ไปไม่ถึงสัปดาห์ก็มี (คาดว่าโปรแกรมผมทำงานใน server เขาหนักไป)
  5. ทำระบบเลือกหน้าแรก เพราะเว็บหน้าแรกเดิมเป็น Dynamic web เมื่อย้ายไป thai.net จะเป็น Static web จึงจัดทำหน้าเว็บให้เลือกได้ ว่าต่อไปจะเปิดแบบใด (Static, Dynamic หรือ Content version)
3. ท่านกระทบอย่างไรกับ Data Transfer
    3.1 ถ้าท่านเป็นคนทำเว็บ
    3.1.1 ถ้าท่านเช่า host เขาอยู่
    ถ้าคิดว่าเว็บของท่านจะมีคนเข้าวันละ 1000 คน ขอเตือนเลยว่า ให้เลือกที่เขาไม่จำกัด Data Transfer ท่านจะได้ไม่ต้องมา upgrade ในภายหลังเหมือนผม แต่ในปัจจุบันก็มี Web hosting แบบนี้น้อย เพราะลองมาคิดดูว่าใครเขาจะรับ Web ที่มีคนเข้ามาก ๆ เข้าไปได้ เพราะเมื่อรับเข้าไปแล้ว จะไปแย่ง Bandwidth ของคนอื่น เว็บโดยรวมก็จะช้าลง ถ้าเป็นผมเอง ก็พอใจเว็บที่มีคนเข้าไม่ถึง 100 คนต่อวัน เว็บไหนเกิน 100 ก็จะเริ่มงองแงครับ ไม่งั้น Bandwidth ที่เช่วไว้ก็จะไม่พอ
    ปัญหา Bandwidth ในองค์กร ผมเองอยู่ในองค์กร จึงทราบว่าความเร็วใน Internet นั้นมีข้อจำกัดที่ Bandwidth และบรรดา Web hosting ต่าง ๆ ก็ล้วนมีข้อจำกัดเรื่อง Bandwidth ทั้งนั้น น้อยรายเหลือเกิน ที่จะบอกว่า Data Transfer Unlimited เพราะถ้าเว็บท่านมีขนาด Data Transfer เป็น 100 เท่าของเว็บอื่น ๆ แต่เสียเงินเท่ากัน และยังเป็นต้นเหตุให้เว็บอื่น ๆ ช้าไปด้วย ก็ต้องเนรเทศเว็บที่มี Data Transfer มากออกไป
    การเก็บเงินค่า Data Transfer ที่เกิน จึงเป็นอะไรที่สมเหตุสมผล แต่ Web hosting บางแห่งบอกว่า Unlimited ก็ต้องเตือนว่า ระวังไว้นะครับ เนื่องจาก บางแห่งไม่จำกัด รับอย่างเดียว ลูกค้าก็เพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือ Not response เมื่อเปิดเว็บ เนื่องจากบริษัท ไม่ได้ขยาย Bandwidth ทำให้เกิดคอขวด แบบนี้คนเข้าเว็บท่านก็จะไม่ happy เพราะเปิดเว็บไม่ได้ จากเหตุที่ไม่ควรเกิดขึ้น
    3.1.2 เกี่ยวกับ free hosting
    Free hosting: ถ้าท่านใช้บริการแบบไม่จ่ายตัง คงไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะกว่า 80% นั้นเข้าจะใส่ Banner ในเว็บของท่าน หรือแม้แต่ชื่อเว็บของท่านก็เป็นของเขา เช่น www.f2s.com อย่างที่ผมใช้บริการ เวลาเปิดเว็บก็ต้องเปิดว่า http://www.perlphpasp.f2s.com เป็นต้น ถ้าไม่มี Banner โผ่มา ก็จะมีชื่อของเขาในชื่อเว็บของเราอยู่แล้ว
    แต่ Free hosting บางแห่งไม่ Free แบบสบายใจนะครับ เพราะเมื่อพฤษภาคม 2544 ผมสมัครกับ hypermart.net เขาขอเลขบัตรเครดิตด้วย และเขาก็แจ้งว่า ถ้าเกิดมีการใช้อะไรของเขาเกิน เขาจะหักเงินจากบัตรเครดิต ให้เนื้อที่ 50Mb ตรงนี้คงไม่เกิน แต่ที่น่ากลัวคือ Data Transfer เพราะให้แค่ 500Mb เท่านั้นเอง เกิดเว็บท่านมีคนเข้าวันละ 1000 คน คงทะลุไปไหนต่อไหนแล้วครับ .. ระวังให้ดี
    ท่านใดใช้ Hypermart.net อยู่โปรดตรวจเว็บของท่าน หรือประกาศต่าง ๆ ให้ดี เพราะผมเชื่อแน่ว่า มีมาตรการกับเว็บใหม่มากมายเรื่องเงิน สักวันอาจมีมาตรการกับเว็บเก่าก็ได้ แต่ที่แน่ ๆ คือ Banner ของ hypermart.net จะขึ้นมาครั้งละ 2 หน้าต่าง เรียกว่า มากกว่าใครเพื่อน แต่อาจรองมาจากเว็บโป้ครับ เพราะเว็บโป้จะมี Banner โผ่กันมาแบบปืนกล คือปิดไม่ทันก็ตายกันไปข้างหนึ่งล่ะกัน
    3.1.3 การเขียนเว็บ (ความเห็นส่วนตัว)
    เรื่องนี้อย่าง Serious เพราะเป็นความเห็นของผมคนเดียว ถ้าเข้าเว็บผมจะไม่เห็นแฟ้มขนาดใหญ่ ๆ เนื่องจากผมพยายามลดขนาดเว็บลงแล้ว ก็อยากจะบอกว่า ถ้าท่านทำเว็บ อย่าใช้แฟ้มขนาดใหญ่ ๆ เลย สงสารผู้ใช้ทั้งโลก ที่ต้องรับภาระ Data Transfer ด้วย บางเว็บผมเห็น ภาพหมุนไปหมุนมา ขนาดตั้ง 3 แสน เขียนว่ายินดีต้อนรับ อะไรทำนองนี้ ก็ต้องบอกว่าเสียเวลา Download จริง ๆ และนี่เสียเงินค่า Data Transfer บ้างหรือเปล่า
    วันนี้ท่านอาจไม่เสียเงินค่า Data Transfer แต่ถ้าวันหนึ่ง Web hosting ของท่าน เกิดพบว่า Bandwidth เต็ม จะต้องขยาย Bandwidth และต้องการให้เว็บที่มีการ Download มาก ๆ มาช่วยแบ่งเบาภาระ ท่านที่ใช้แฟ้มขนาดเล็ก ๆ เลือกเฉพาะที่สำคัญ นำเสนอในเว็บ ก็จะรอดตัวไงครับ .. ป้องกันการเกิดปัญหาวันนี้ ดีกว่ารอให้มีปัญหาแล้วค่อยแก้ ผมคิดว่าอย่างนั้นนะครับ

    3.2 ถ้าท่านเป็นผู้ใช้
    หลาย ๆ คนบ่นเสมอว่า เปิดเว็บแล้วเจอ Banner ผมว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคำว่า ไม่มีอะไร ได้มาโดยไม่เสียอะไรไป นั่นเอง ยกเว้นว่าท่านเปิดข้อมูลของหน่วยงานราชการ ที่เขาถูกเจ้านายสั่งให้ทำเว็บ แบบนี้คงไม่มีลูกน้องคนไหน ไปเอา Banner ขายของไปใส่แน่ และนี่ก็คือสิ่งที่ผมคาดหวังครับ ว่าหน่วยงานของรัฐ จะทำเว็บดี แบบครอบจักรวาล ให้ทุกเพศทุกวัยเข้าไป นั่นหละครับ ถึงจะไม่มี Banner (ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้นะครับ ที่เว็บของรัฐจะทำเว็บสุดยอดอย่าง sanook.com หรือ hunsa.com แต่อาจยังไม่ถึงเวลาเท่านั้นเอง .. เพราะคนเก่ง ๆ ของรัฐเยอะเหลือเกิน)
    คนในองค์กร อย่างผมชอบใช้เว็บตอนเช้า เพราะเร็วถูกใจ แต่สายเข้าหน่อย เริ่มอืดแล้ว ก็ปัญหา Data Transfer นี่หละครับ ถ้ามีคนเปิดเว็บ Gallery สัก 20 คน ความเร็วใน Data Transfer ที่ได้จะตกฮวบ ต่างกันกับนักศึกษาเล่น Pirch 20 คนมาก เพราะจะ Data Transfer วิ่งน้อยเหลือเกิน การนำ Proxy server จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง ในการลด Data Transfer นอกองค์กร
    E-mail ของ Hotmail.com และ Yahoo.com เป็นอะไรที่บริโภค Data Transfer โดยรวมทั้งประเทศ แบบน่ากลัวเหลือเกิน แต่ลองมาคิดดูสิครับ ถ้าทุกองค์กรให้บริการ E-Mail โดยมี Server ในองค์กร หรือ Web ในองค์กร และ Ftp ในองค์กร จะลดปริมาณของ Data Transfer ที่ไม่จำเป็นลงขนาดไหน ผมได้พยายามทำ http://www.isinthai.com เพื่อเป็นกรณีศึกษาในเรื่องนี้ หวังว่าสักวันจะใช้งานได้ แต่ก็คงต้องศึกษา และทดลองระบบ Free hosting ตัวนี้ไปอีกนานทีเดียว
4. เหตุผลที่ผมไม่ย้าย thaiall.com
    ฝาก thaiall.com ไว้กับ hypermart.net
  1. คิดแบบเด็ก ๆ ว่าผมโตมากับ hypermart.net ต้องซื่อสัตย์กันหน่อย และเขาก็ยังน่าเชื่อถือ ในราคาที่เขาว่าสมเหตุสมผล
  2. ถ้าผู้ดูแล hypermart.net เสียชีวิตไป บริษัทของเขาก็ยังอยู่ได้ .. แต่ host ส่วนใหญ่ในประเทศ ไม่มีคุณสมบัตินี้
  3. การย้าย code ที่ไป Server ต่างรุ่น จะต้อง config ใหม่ (ขนาด hypermart.net upgrade แต่ละที ผมยังปวดหัวเลย)
  4. มีข่าวว่า ผู้ให้บริการ ทำข้อมูลหาย ปรับรุ่นของโอเอส แบบไม่เกรงใจลูกค้า หรือปิดบริการไปเลย ผมเคยเจอมากับตัวแล้ว
  5. ระยะแรกมีลูกค้าไม่มากก็ให้อะไรมากมาย แต่ในอนาคตก็ต้องเพิ่มราคาแบบหักคอลูกค้า เฉย ๆ งั้นหละ
  6. ผมก็มี Host ของตนเองในที่ทำงาน แต่ก็ไม่ยอมย้ายเข้าไป เพราะไม่น่าเชื่อถือเท่ากับที่จ่ายตังเขา (แพงด้วย)
Short note
    2549-07-27
      วันนี้เข้าไปตรวจ Bandwidth ของ thaiall.com พบว่าข้อจำกัด 10 GB กำลังจะเต็มอีกแล้ว (ซึ่งไม่น่าเกิดขึ้น เพราะกังวลมาตลอด)
      แม้จะมี thaiabc.com กับ thainame.net ที่รับได้ถึง 250 GB แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ก็อยู่ที่ thaiall.com
      ระบบเว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) ยังไม่เต็มที่ .. ต้องนำมารื้อใหม่
      การแก้ปัญหาฉุกเฉินวันนี้ก่อนล้น 10 GB เพราะแต่ละวันเกิน 333 MB แล้ว
      เพื่อให้ 4 วันที่เหลือยังบริการต่อไปได้ ซึ่งเหลือโควตาอีกเพียง 250 MB
      จึงต้องเปลี่ยนชื่อ 20 Directory ยอดนิยมจากทั้งหมดที่มี 153 Directory

    2546-08-26
      Additional Bandwidth Pricing of hypermart.net
      $5.00 for 1 extra gigabyte per month.
      $15.00 for 5 extra gigabytes per month.
      $25.00 for 10 extra gigabytes per month.

    2545-01-16
      จดหมายจากผู้ให้บริการ hosting ของผม คือ hypermart.net
      เป็นฉบับที่อธิบายได้ชัดเจนที่สุดหลังจาก mail คุยกันเกือบ 10 ฉบับ จึงได้รับคำตอบ ที่ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นจากการที่ Script ในเว็บไซต์ผมทำงานได้บ้าง ไม่ได้บ้าง หลังจากใช้บริการมาหลายปี ลองอ่านแล้วตีความดูนะครับ ปัญหาของผมคือ โปรแกรมทั้งหมดใน thaiall.com ทำงานได้เพียง 20 - 40% และแสดงคำว่า process over limit ทำให้ผมต้องย้าย code ออกไปไว้ยัง thcity.com และ perlphpasp.com (ปัจจุบันปัญหาแบบนี้หมดไป เพราะเขาแก้ไขข้อจำกัดนี้แล้ว)
      We have not changed our policy for processor threads. Actually, we have in the past increased the amount of threads that you are allowed to accommodate your needs. Currently your account had been increased to 5 times the default level of processor threads for your hosting package.
      We have reviewed your processes and found that there usually are several hanging or "dead" threads. On 12/31/02 we found 60 such processor threads and we stopped them so that your account was not over the limit.
      What this means to you is that at any given time you are using up your allowed server resources with processes that do nothing. To resolve this issue we suggest that you have a web developer debug your scripts so that they are more efficient and do not produce these hanging processes.
      Thank you for contacting our customer service group. Please let us know if there is anything we can do to help you in the future.
ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมเยือน .. แล้วเข้ามาใหม่นะครับ .. ยินดีต้อนรับเสมอ